กลาง : [กฺลาง] น. ส่วนที่ไม่ค่อนไปข้างใดข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายความว่า ในที่หรือเวลาระหว่าง เช่น กลางฝน; ที่รวม, ที่รวมกิจการงานที่มีสาขาย่อยออกไป, เช่น สํานักงานกลาง ไปรษณีย์กลาง.
แจ้ง : ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, ชัด, เช่น แจ้งใจ.
กีฬา :
น. กิจกรรมหรือการเล่นเพื่อความสนุกเพลิดเพลิน เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย หรือเพื่อผ่อนคลาย ความเคร่งเครียดทางจิต. (ป.). (ดู กรีฑา).
กลางแจ้ง : น. นอกร่มไม้ชายคา.
เปตอง : น. ชื่อกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง มักเล่นในสนามที่เป็นดินแข็ง มี ผู้เล่นฝ่ายละไม่เกิน ๓ คน โยนลูกโลหะกลมซึ่งข้างในกลวง จํานวน ๑๒ ลูก ให้เข้าใกล้ลูกเป้าซึ่งเป็นลูกทรงกลมทําด้วย ไม้เนื้อแข็งให้มากที่สุด ฝ่ายที่ทําคะแนนถึงเกม คือ ๑๓ คะแนนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ. (ฝ. p?tanque).
แปรอักษร : ก. ทำให้มีตัวอักษรหรือภาพปรากฏขึ้น โดยใช้คน จำนวนมากที่อยู่บนอัฒจันทร์ ยกกระดาษ ผ้า หรือวัสดุอื่น ๆ ขึ้นมาพร้อม ๆ กัน ให้เห็นเป็นตัวหนังสือหรือภาพ (มักใช้ ประกอบในการเชียร์กีฬา การแสดงกลางแจ้งหรือกิจกรรม สำคัญ ๆ).
กลางแปลง : ว. ที่แสดงหรือเล่นเป็นต้นในที่แจ้ง เช่น โขนกลางแปลง หนังกลางแปลง คล้องช้างกลางแปลง.
กลางหาว : น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
ครึ่ง ๆ กลาง ๆ : ว. ไม่ตลอด, ไม่เต็มที่.
กลางค่ำ :
(โบ; กลอน) น. เวลากลางคืน, ใช้เข้าคู่กับคํา กลางคืน เป็น กลางค่ากลางคืน. (ดู ค่า).
กลางช้าง : น. ตําแหน่งพนักงานประจํากลางหลังช้าง.
กลางดิน : น. นอกที่มุงที่บัง เช่น นอนกลางดินกินกลางทราย.
กลางดึก : น. เวลากลางคืนตอนดึก ประมาณตั้งแต่เที่ยงคืนไป.
กลางเดือน : น. วันเพ็ญ เช่น กลางเดือน ๖.
กลางทาสี : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่มีทุกข์ยาก ชายช่วยไถ่มาเลี้ยงเป็นเมีย ว่า เมียกลางทาสี. (สามดวง).
กลางนอก : (กฎ; โบ) น. เรียกหญิงที่ชายสู่ขอมาเลี้ยงเป็นอนุภริยาว่า เมียกลางนอก. (สามดวง).
กลางเมือง : น. ประชาชน ในคําว่า ฉ้อกลางเมือง หมายถึง ฉ้อโกงประชาชน; การรบกันเองในเมือง เรียกว่า ศึกกลางเมือง; (กฎ; โบ) เรียกหญิงที่บิดามารดายินยอมยกให้เป็นภริยาชายว่า เมียกลางเมือง. (สามดวง).
กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
กลางเก่ากลางใหม่ : ว. ไม่เก่าไม่ใหม่.
กลางคน : ว. มีอายุพ้นวัยหนุ่มสาว แต่ยังไม่แก่.
กลางคัน : ว. ในระหว่างเหตุการณ์, ในระหว่างที่ยังไม่เสร็จ.
กลางคืน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง, (กฎ) เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกกับพระอาทิตย์ขึ้น.
กลางใจมือ : น. อุ้งมือ.
กลางบ้าน : ว. ใช้เรียกยาเกร็ดที่ชาวบ้านเชื่อถือกันเองว่า ยากลางบ้าน.
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
บิลเลียด : น. ชื่อกีฬาในร่มอย่างหนึ่ง เล่นบนโต๊ะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปูสักหลาด มีหลุมกรุตาข่าย ๖ หลุมที่มุมทั้ง ๔ และตรงกลางด้านยาว ผู้เล่นใช้ ไม้ยาวซึ่งเรียกว่า คิว แทงลูกกลมให้ได้แต้มตามกติกา. (อ. billiards).
หน้าดำ : น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงาน กลางแจ้งเป็นต้น.
ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
กล่าว : [กฺล่าว] ก. บอก, แจ้ง, พูด, เช่น กล่าวคําเท็จ; แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); ขับร้อง เช่น จะกล่าวกลอนแก้ไข. (อิเหนา); สู่ขอ เช่น ถึงจรกามากล่าวนางไว้. (อิเหนา); แต่งงาน เช่น ฝรั่งกล่าวแหม่ม. (ประเพณีของชาวคริสเตียน), คํานี้ใช้เป็นปรกติในภาษาเขียน แต่ใช้เป็นภาษาพูดก็มีในบางลักษณะ เช่น กล่าวสุนทรพจน์.
ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
แจบ : (ถิ่น-อีสาน) ก. สนิท; แจ้ง, ชัด.
ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
ปานกลาง : ว. ขนาดกลาง, ไม่มากไม่น้อย, พอสมควร, อยู่ระหว่าง ที่สุด ๒ ฝ่าย เช่นระหว่างสูงกับต่ำ ใหญ่กับเล็ก มากกับน้อย ฉลาดกับโง่.
รู้แจ้ง : ก. เข้าใจตลอด, รู้ตามเหตุผลอย่างชัดเจน, รู้แจ้งแทงตลอด ก็ว่า.
เรียน ๑ : ก. เข้ารับความรู้จากผู้สอน, รับการฝึกฝนอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจหรือความชำนาญ, เช่น เรียนหนังสือ เรียนวิชาความรู้, ฝึกให้เกิด ความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น เขาเรียนแก้พัดลมด้วย ตนเอง; บอก, แจ้ง, (มักใช้แก่ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือเสมอกัน) เช่น จึงเรียนมาเพื่อทราบ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา เรียนผู้อำนวยการว่ามี คนขอพบ; คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือ ราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดา เขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ.
วิ : คํานําหน้าศัพท์ แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ต่าง, เช่น วิสุทธิ วิเทศ. (ป., ส.).
ศาลากลาง : น. อาคารที่ใช้เป็นที่ทำการของจังหวัด เช่น ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา.
ศาลากลางย่าน : น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยม สร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.
สนามกีฬา : น. สถานที่สำหรับฝึกซ้อมหรือแข่งขันกีฬา.
สว่าง : [สะหฺว่าง] ว. ระยะเวลาฟ้าสาง, ระยะเวลาเมื่อรุ่งอรุณ, เช่น สว่างแล้ว, กระจ่าง, มีแสงมาก, เช่น แสงไฟสว่าง แสงจันทร์สว่าง; แจ้ง, รู้แจ้ง, เช่น ปัญญาสว่าง; หายจากความหลงผิด เช่น หูตาสว่าง; โล่ง, ปลอดโปร่ง, เช่น สว่างอก สว่างใจ; หายง่วง ในคําว่า ตาสว่าง.
หนังกลางวัน ๑ : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพคล้าย หนังใหญ่ แต่ระบายสีต่าง ๆ เชิดหน้าจอ แสดงในเวลากลางวัน ใช้ปี่พาทย์ และเกราะบรรเลงประกอบ ผู้เชิดกับผู้พากย์เป็นคนละคน.
กบเต้นกลางสระบัว : น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หมายชิดมิตรเชือนไม่เหมือนหมาย.
กลิ้งกลางดง : [กฺลิ้งกฺลาง-] น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceae ตามง่ามใบมีหัวกลมขรุขระ.
กองกลาง : น. สิ่งที่กันไว้เป็นส่วนรวม หรือเป็นสาธารณะ.
กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
กินที่ลับไขที่แจ้ง : (สํา) ก. เปิดเผยเรื่องที่ทํากันในที่ลับ.
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.