กุดา : (แบบ) ใช้เป็นสร้อยคําของ กุฎี เช่น สู่กุฎีกุดาสวรรค์. (ม. คําหลวง มัทรี).
กุด : ก. ตัด ในคําว่า กุดหัว ว่า ตัดหัว. ว. ด้วนสั้นหรือเหี้ยนเข้าไป เช่น ยอดกุด นิ้วกุด หางกุด. (ถิ่น-อีสาน) น. บึง, ลําน้ำที่ปลายด้วน.
กุฎ, กุฎา : [กุด, กุดา] (กลอน) น. ยอด เช่น มัชฌิมากุฎาประมาณ. (สมุทรโฆษ). (ป., ส. กูฏ).
ลุ่น, ลุ่น ๆ : ว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.
ช่องกุด : น. ประตูแบบมียอดที่เจาะกําแพงเมืองหรือกําแพงวัง ชั้นนอกเป็นทางเข้าออก.
กุฏิ ๒ : [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).
อังกุศ : [กุด] น. ขอเหล็กอย่างขอสับช้าง. (ส.; ป. องฺกุส).
อังสกุฏ : [กุด] น. จะงอยบ่า.
ก้นกุฏิ : [-กุดติ] (ปาก) ว. ที่สนิทเป็นที่ไว้วางใจได้.
กุฏิ ๑ : [กุด, กุดติ, กุติ] น. เรือนหรือตึกสําหรับพระภิกษุสามเณรอยู่. (ป., ส.).
กุศราช : [กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กำเดา : น. เลือดที่ออกทางจมูก เรียกว่า เลือดกําเดา. (ข. เกฺดา ว่า ร้อน); แพทย์แผนโบราณเรียกไข้ชนิดหนึ่งที่เกิดจากหวัดว่า ไข้กําเดา.
กุกุธภัณฑ์ : [กุกุดทะ-] (โบ) น. กกุธภัณฑ์.
กุฏฐัง : น. โรคเรื้อนซึ่งทําให้อวัยวะเช่นมือและเท้ากุดเหี้ยนไป. (ป.).
กุศโลบาย : [กุสะ-, กุดสะ-] น. อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).
ขี้ทูด : น. ชื่อโรคเรื้อนชนิดทําให้มือกุดเท้ากุด.
เขดา : [ขะเดา] น. กําเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).
ด้วน : ก. กุด, ขาด, สั้นเข้า. ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ตอนปลายขาดหายไป เช่น แขนด้วน ขาด้วน ตาลยอดด้วน, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลองด้วน แม่นํ้าด้วน.
มกุฎ : [มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).
มกุฎราชกุมาร : [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.
เรื้อน : น. โรคผิวหนังซึ่งติดต่อได้ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่น บางทีเรียกว่า ขี้เรื้อน มีหลายชนิด บางชนิดทำให้นิ้วมือนิ้วตีนกุด เรียกว่า เรื้อนกุฏฐัง ขี้เรื้อน กุฏฐัง หรือ ขี้ทูด, บางชนิดมีลักษณะเป็นผื่นคัน ทําให้ผิวหนังหนา หยาบ และอาจแตกมีนํ้าเหลืองไหลหรือตกสะเก็ดในระยะหลัง มักเป็นตาม บริเวณข้อเท้า หัวเข่า หรือที่มือเอื้อมไปเกาถึง เรียกว่า เรื้อนกวาง หรือ ขี้เรื้อนกวาง, บางชนิดทําให้เป็นแผลมีสีขาว เรียกว่า เรื้อนนํ้าเต้า หรือ ขี้เรื้อนน้ำเต้า.
ลกุจ : [ละกุด] น. มะหาด. (ส.).
ลิกุจ : [กุด] น. มะหาด. (ป.).