Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กุมารแพทย์, แพทย์, กุมาร , then กมาร, กุมาร, กุมารแพทย์, กุมารา, แพทย, แพทย์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กุมารแพทย์, 174 found, display 1-50
  1. กุมาร : [-มาน] น. เด็กชาย. (ป., ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง); ชื่อกัณฑ์ที่ ๘ แห่งมหาเวสสันดรชาดก.
  2. แพทย, แพทย์ : [แพดทะยะ, แพด] น. หมอรักษาโรค. (ส. ไวทฺย).
  3. กุมภัณฑยักษ์ : น. ลมกุมารอย่างหนึ่งมีอาการคล้ายบาดทะยัก ผู้ที่เป็นลมนี้ตาจะช้อนสูง หน้าเขียว มือกํา เท้างอ หลังแอ่น กัดฟัน. (แพทย์).
  4. กุมาร : (กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).
  5. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  6. มกุฎราชกุมาร : [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.
  7. แพทยา : ดู แพทย, แพทย์.
  8. กงวาน : น. กงที่มีรูสําหรับน้ำเดินที่ท้องเรือ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  9. กรรซ้นน : [กันซั้น] (โบ) ก. ทัน, กระชั้น, เช่น พราหมณ์จะมากรรซ้นน. (ม. คําหลวง กุมาร).
  10. กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
  11. กระกรี๊ด : (กลอน) ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  12. กระช่าง : (โบ) ว. กระจ่าง เช่น เวหาเห็นกระช่าง. (ม. คําหลวง กุมาร), กระซ่าง ก็ว่า.
  13. กระเดื่อง ๒ : ว. สูงขึ้น, โด่งดัง, ใช้ประกอบลักษณะของคุณงามความดี เช่น ชื่อเสียงกระเดื่อง; แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด. (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง.
  14. กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
  15. กระป่ำ ๑ : ว. เป็นปุ่มป่ำ เช่น บนเขากระป่ำ. (ม. คําหลวง กุมาร), มักใช้เข้าคู่กับคํา กระปุ่ม เป็น กระปุ่มกระป่ำ.
  16. กระพัก : น. โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ตะพัก ก็ว่า.
  17. กระเพิง : น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  18. กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  19. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  20. กระอิด : (กลอน) ว. อิดโรย เช่น อกกระอิดกว่าชื่นแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  21. กระเอิบ : (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คําหลวง กุมาร).
  22. กราบ ๓ : [กฺราบ] (โบ) ก. นอน เช่น เถ้าก็กราบกรนอึงอยู่นั้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
  23. กราย ๒ : [กฺราย] น. โรคซางจรชนิดหนึ่ง มีอาการตัวร้อน ลงราก กระหายน้ำ. (แพทย์).
  24. กฤดีกา, กฤตยฎีกา : [กฺริ-, กฺริดตะยะ-] แผลงมาจาก กติกา เช่น อันว่าความกฤดีกา แต่สองราแรกทรงพรต. (ม. คําหลวง กุมาร), ชําระกฤตยฎีกา. (ไวพจน์พิจารณ์).
  25. กว่า : [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทาง ที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.
  26. กะกึก : (กลอน) ว. กึก ๆ เช่น ดังกะกึกกุกกักชักสายพาดขึ้นกับไก. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  27. กะติงกะแตง : ก. กุลีกุจอ เช่น พระชาลีก็ลีลาแล่นไปก่อน กะติงกะแตงต้อนรับ. (ม. กาพย์ กุมาร), กะตึงกะแตง ก็ใช้.
  28. กัด ๓ : (โบ) น. พิกัด. ก. กะ เช่น ซ้นนกัดค่าพระราชกุมาร. (ม. คําหลวง กุมาร).
  29. กัมลาศ : [กํามะลาด] (แบบ) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส. กมลาสน).
  30. กัศมล : [กัดสะมน] (แบบ) ว. น่าเกลียด, ไม่งาม, อุจาด, เช่น บพิตรพราหมณ์นี้กาจกัศมลร้ายพ้นคนในโลกย์นี้. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส.).
  31. กาลสมุตถาน : [กาละสะหฺมุด-] น. กองโรคที่เกิดขึ้นเพราะ ธาตุไม่เป็นไปตามเวลาปรกติ. (แพทย์).
  32. กาฬปักษี : [กาละ-] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง เป็นเมื่อมารดาออกไฟแล้ว ได้ ๕ เดือน ยังอยู่ในเขตเรือนไฟ มีอาการร้องไห้แล้วหอบ หรือร้องไห้เมื่อหลับสะดุ้งผวาตื่นตกใจ. (แพทย์).
  33. กำเนียจ : [กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กํานยจกยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
  34. กุนที : [กุนนะที] น. แม่น้ำน้อย ๆ, แม่น้ำเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร). (ป. กุนฺนที; ส. กุนที, กุ = น้อย + นที = แม่น้ำ).
  35. เก่น : ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  36. เกรียง ๒ : [เกฺรียง] ว. ใหญ่, ยิ่ง, มาก, เช่น มีศัพท์สําเนียงเกรียงระงม. (ม. คําหลวง กุมาร).
  37. เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  38. แก้วมรกต : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น และในปาก มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทําให้หน้าเขียว บางทีก็เหลือง หรือดํา ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกํา เท้างอ. (แพทย์).
  39. แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
  40. โกษ ๒ : [โกด] (โบ; กลอน) น. โลก เช่น อันว่าโกลาหลแต่ผืนแผ่น ดลเท้าแท่นพรหมโกษ. (ม. คําหลวง กุมาร). (ส. โกฺษณิ).
  41. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  42. ขะแข่น, ขะแข้น : (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คําหลวง กุมาร), (ม. คําหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คําหลวง กุมาร).
  43. โขยด : [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขา โขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  44. ครรหิต : [คันหิด] (แบบ) ว. ถูกจับไว้, ถูกยึดไว้, ซึ่งถือไว้, เช่น ก็บ่มิครรหิตให้แล้. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป. คหิต; ส. คฺฤหิต).
  45. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  46. ค้า ๒, ค้าค้า : (โบ) ก. ออกแสดง เช่น บค้าอาตม์ออกรงค์. (ตะเลงพ่าย), มีมือถือดาบ กล้าอวดค้าค้าคําราม. (ม. คําหลวง กุมาร).
  47. เคา : (โบ) น. โค เช่น ดั่งว่าพฤติโคเคาเฒ่าชราจร. (ม. ร่ายยาว ชูชก), มีหนวด เพียงหลังเคา. (ม. คําหลวง กุมาร).
  48. เคื้อ ๒ : (ถิ่น; กลอน; โบ) น. เครือ, เชื้อสาย, เช่น เคื้อคู ว่า เชื้อสายของครู. (ม. คําหลวง กุมาร).
  49. จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
  50. ฉาน ๓ : ก. แตก, กระจาย, ซ่าน, เช่น แตกฉานซ่านเซ็น. ว. มีแสงกล้า, มีแสงพุ่ง ออกไป, สว่าง, กระจ่างแจ้ง, จ้า, เช่น แสงฉาน ปัญญาแตกฉาน; ฉาด เช่น ขวิดควิ้วอยู่ฉาน ๆ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-174

(0.1339 sec)