Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กุศล , then กุศล, กุสล .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กุศล, 45 found, display 1-45
  1. กุศล : [-สน] น. สิ่งที่ดีที่ชอบ, บุญ. ว. ฉลาด. (ส.; ป. กุสล).
  2. กุศลกรรมบถ : [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
  3. กุสล : [-สน] (โบ) น. กุศล. (ป.; ส. กุศล).
  4. นิพัทธกุศล : [นิพัดทะ] น. กุศลที่ทําเป็นนิจ.
  5. กุศโลบาย : [กุสะ-, กุดสะ-] น. อุบายอันแยบคาย. (ส. กุศล + อุปาย).
  6. กกัลปพฤกษ์ : น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
  7. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  8. กรรมบถ : [กำมะบด] น. ทางแห่งกรรม มี ๒ อย่างตามลักษณะ คือ กุศลกรรมบถและอกุศลกรรมบถ.(ส. กรฺม + ปถ = ทาง; ป. กมฺมปถ).
  9. กาลานุกาล : (โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใด กาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).
  10. เก็บงำ : ก. รักษาไว้ให้มิดชิด, รักษาไว้ให้ดี. เก็บดอกไม้ร่วมต้น (สำ) ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  11. ขนทรายเข้าวัด : ก. ทําบุญกุศลโดยวิธีนําหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
  12. ข้าวแจก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
  13. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  14. คุณบท : [คุนนะ-] น. กลบทโบราณชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า ``เดชกุศลผล ตนข้าแปล แก้คัมภีร์ ที่ชาดก, ยกจากอรรถ จัดปัญญาส ชาติโพธิสัตว์ คัดประจง''. (ศิริวิบุลกิตติ).
  15. คู่บุญ : น. ผู้ที่เคยสร้างบุญกุศลร่วมกันมาในชาติก่อน.
  16. คู่บุญบารมี : น. ผู้ที่เคยร่วมสร้างบุญกุศลกันมาในชาติก่อนและมา สนับสนุนเกื้อกูลกันในปัจจุบัน เช่น พระนางมัทรีเป็นคู่บุญบารมี ของพระเวสสันดร.
  17. ชนกกรรม : [ชะนะกะกํา] น. กรรมอันนําให้เกิดหรือกรรมอัน เป็นต้นเค้าทั้งข้างดีหรือข้างชั่ว เช่น กรรมอันทําให้เกิดเป็นคน ชั้นสูง เป็นชนกกรรมฝ่ายกุศล. (อรรถศาสน์).
  18. ดลใจ : ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทํา เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.
  19. เด็ดดอกไม้ร่วมต้น : (สํา) ก. เคยทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
  20. โดยเสด็จ : (ราชา) ก. ตามไปด้วย; ร่วม เช่น โดยเสด็จพระราชกุศล.
  21. ทักขิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น. (ป.).
  22. ทักษิณานุประทาน : น. การทําบุญอุทิศส่วนกุศลเพิ่มให้แก่ผู้ตาย. (ส.).
  23. ทักษิโณทก : น. นํ้าที่หลั่งในเวลาทําทานเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ตาย, นํ้าที่หลั่งลงเป็นการแสดงว่ามอบให้เป็นสิทธิ์ขาด, นํ้ากรวด คือ นํ้าที่ใช้แทนสิ่งของที่ให้ซึ่งใหญ่โตหรือไม่มีรูปที่จะหยิบยกให้ได้ เช่นวัด ศาลา บุญกุศล เป็นต้น, เมื่อเป็นชื่อของพระเต้า เรียกย่อว่า พระเต้าษิโณทก. (ส.).
  24. ทำบุญ : ก. ประกอบกรรมดี มีการเลี้ยงพระ ตักบาตร ถวายจตุปัจจัย แก่พระสงฆ์ เป็นต้น, ทําบุญทํากุศล ก็ว่า. ทำบุญเอาหน้า (สํา) ก. ทําบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทําด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย.
  25. ธรรมการย์ : น. กิจอันเป็นธรรม, การกุศล, หน้าที่อันสมควร.
  26. ประกาศ : ก. ป่าวร้อง, แจ้งให้ทราบ, เช่น ประกาศงานบุญงานกุศล. น. ข้อความที่แจ้งให้ทราบทั่วกัน เช่น ประกาศของวัด ประกาศของ บริษัท; (กฎ) ข้อความที่ทางราชการแจ้งให้ประชาชนทราบหรือ วางแนวทางให้ปฏิบัติ เช่น ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศ กระทรวง ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี. (ส. ปฺรกาศ; ป. ปกาส).
  27. ประธาน ๓ : น. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาป เกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนา ประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).
  28. ผลานิสงส์ : [ผะ] น. ความไหลออกแห่งผล (ความดี), ผลแห่ง บุญกุศล. (ป.).
  29. พลี ๑ : [พะลี] น. การบวงสรวง, เครื่องบวงสรวง, ส่วย, การบูชา, (ตาม แบบมี ๕ คือ ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ, อติถิพลี ต้อนรับแขก, เปตพลี ทําบุญอุทิศให้ผู้ตาย, ราชพลี ถวายเป็นหลวง มีเสียภาษี อากรเป็นต้น, เทวตาพลี ทําบุญอุทิศให้เทวดา, และแบ่งเป็น ๒ อย่าง คือ ธรรมพลี อุทิศกุศลให้ และ อามิสพลี ให้สิ่งของ). (ป., ส. พลิ ว่า เครื่องบวงสรวง).
  30. มรรคนายก : [มักคะนายก] น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและ ป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).
  31. มัคนายก : น. ''ผู้นําทาง'' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจงทางบุญ ทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ป. มคฺค + นายก).
  32. มัย ๒ : ว. สําเร็จด้วย, แล้วด้วย, ประกอบด้วย, (ใช้ประกอบท้ายสมาส เช่น มโนมัย ว่า สำเร็จด้วยใจ, กุศลมัย ว่า แล้วด้วยกุศล, ตฤณมัย ว่า ประกอบด้วยหญ้า). (ป., ส. มย).
  33. มาร, มาร- : [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
  34. มูลนิธิ : [มูนละ-, มูน-] (กฎ) น. ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับ วัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะการศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหา ผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์แล้ว. (ป. มูล + นิธิ).
  35. โรงทาน : น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล.
  36. วาสนา : [วาดสะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้ มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).
  37. วิบาก : น. ผล, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทําไว้แต่อดีต, เช่น กุศลวิบาก กรรมวิบาก. ว. ลำบาก เช่น ทางวิบาก วิ่งวิบาก. (ป., ส. วิปาก).
  38. ศาลาฉทาน : [ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไป เป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.
  39. สละ ๔ : [สะหฺละ] ก. บริจาค เช่น สละทรัพย์ช่วยการกุศล, เสียสละ ก็ใช้; ผละออก เช่น กัปตันสละเรือ, ละทิ้ง เช่น สละบ้านเรือนออกบวช, ละวาง, ปล่อยวาง, (สิ่งที่ยังต้องการจะรักษาไว้กับตนอยู่เพื่อเห็นแก่ ความสุขความสงบเรียบร้อย หรือเพื่อพลีบูชาเป็นต้น), เช่น สละกิเลส.
  40. ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
  41. ส่วนร่วม : น. ส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีส่วนร่วม ในการบำเพ็ญกุศล มีส่วนร่วมในการทุจริต มีส่วนร่วมในการลงทุน บริษัท.
  42. หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
  43. อนุโมทนาบัตร : น. บัตรที่แสดงความพลอยยินดีหรืออนุโมทนาต่อ บุญกุศลที่บุคคลนั้น ๆ ได้ทําแล้ว.
  44. อัพยากฤต : [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศล หรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
  45. อานิสงส์ : น. ผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ; ประโยชน์ เช่น อานิสงส์กฐิน. (ป. อานิสํส; ส. อานฺฤศํส, อานุศํส).
  46. [1-45]

(0.0708 sec)