ก่าย : ก. พาด, พาดไขว้กัน, เช่น เอาฟืนก่ายกัน, พาดเกยอยู่หรือค้างอยู่ เช่น เอามือก่ายหน้าผาก นอนเอาขาก่ายกัน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา เกย เป็น ก่ายเกย หรือ เกยก่าย.
ก่ายกอง : ว. มักใช้เข้าคู่กับคํา มากมาย เป็น มากมายก่ายกอง หมายความว่า มากเกิน, ล้นหลาม.
เป็นกอง, เป็นก่ายเป็นกอง : ว. มาก, มากมาย, เช่น โตขึ้นเป็นกอง ซื้อมาเป็นก่ายเป็นกอง.
มากมาย, มากมายก่ายกอง : ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมาย ก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.
หัวก่ายท้ายเกย : ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่าย ท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.
พาด : ก. ก่าย เช่น ขาพาดหมอนข้าง, ทอด เช่น พาดบันได พาดสะพาน, พิง เช่น เอาบันไดพาดไว้ที่กำแพง, วางทาบลง, วางทาบห้อยลง, เช่น ผ้าขาวม้าพาดบ่า พาดผ้าไว้ที่ราวพาดผ้าสังฆาฏิ.
กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
ไขว่ : [ไขฺว่] ก. ไขว้ เช่น ไขว่ชะลอม, ก่ายกัน. ว. อาการที่เคลื่อนไหวไปมา อย่างสับสน เช่น เดินไขว่ โบกมือไขว่. น. เรียกแผ่นกระดาษที่รองรับ แผ่นทองคำเปลวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ จำนวน ๒๐ แผ่นว่า ๑ ไขว่.
ไขว้ : [ไขฺว้] ก. ขัด เช่น ไขว้เฉลว, สับกัน เช่น ส่งของไขว้ คือ เอาของคนหนึ่ง ไปส่งคืนให้อีกคนหนึ่ง, ก่ายสับกัน เช่น ไขว้ขา; กิริยาที่เตะตะกร้อด้วย บิดเท้าไปอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า เตะไขว้.
ถมถืด, ถมเถ, ถมไป : ว. มากมายก่ายกอง.
พะเนินเทินทึก : (ปาก) ว. มากมายก่ายกอง, พะเนิน ก็ว่า.
รั้วไก่ : น. แผงราชวัติที่เป็นตาสี่เหลี่ยมสําหรับกันโรงพิธี, รั้วก่าย ก็ว่า.
สะเปะสะปะ : ว. ไม่ตรงเป้า เช่น ชกต่อยสะเปะสะปะ, ไม่ตรงทาง เช่น คนเมาเดิน สะเปะสะปะ, ไม่เป็นระเบียบ เช่น นอนแขนขาก่ายกันสะเปะสะปะ, อาการที่พูดเลอะเทอะเรื่อยเจื้อยไม่มีประเด็น เช่น พูดสะเปะสะปะ.
กายบริหาร : [กายบอริหาน] น. การบริหารร่างกาย, การออกกำลังกาย.
กายทุจริต : [กายะทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ ๑ การลักทรัพย์ ๑ การประพฤติผิดในกาม ๑.
กรัชกาย : [กะรัดชะ-, กะหฺรัดชะ-, กฺรัดชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย เช่น เจ้างามยามประจงจัดกรัชกาย. (กลบทบัวบานกลีบขยาย). [ป. ก (น้ำ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในน้ำ (น้ำ หมายถึง น้ำกาม น้ำอสุจิ, ธุลีในน้ำ คือ ตัวสเปิร์มที่อยู่ ในน้ำอสุจิ), ก (สรีระ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีในสรีระ, กายอันบังเกิดด้วยดีด้วยธุลีเป็นไปในสรีระ (บาฬีลิปิกรม), ก (กุจฺฉิต = น่ารังเกียจ) + รช (ธุลี) + กาย = กายที่เกิดจากธุลีที่ น่ารังเกียจ, กร (การกระทำ) + ช (เกิด) + กาย = กายที่เกิดด้วยสันถวะ (ความเชยชิด) อันมารดาบิดากระทำแล้ว].
ตรีกาย : น. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกาย มหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).
นิรมาณกาย : [ระมานนะกาย] น. กายที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีอันเปลี่ยนแปลงไปเหมือนสิ่งที่ประกอบด้วยขันธ์ ๕ อื่น ๆ, ตามคติมหายานเชื่อว่าเป็นรูปปรากฏของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของพระพุทธเจ้า คือ ธรรมกาย.
เปลือยกาย : ว. กายเปล่า, ไม่นุ่งผ้า.
พรหมกาย : น. พระกาย (คือ รูปกาย นามกาย) ประเสริฐ, พระนาม ของพระพุทธเจ้า.
มโภคกาย : [สําโพกคะ] น. พระกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมี รุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป และจะปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ แม้ จนบัดนี้. (ส.).
ลับกาย, ลับตัว : ว. เพิ่งออกไปหยก ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินลับกายไป เขาลับตัวไปเมื่อกี้นี้เอง.
อุตรนิกาย : [อุดตะระ] น. ชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ นิกายฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มหายาน. (ป., ส. อุตฺตรนิกาย).
อุ่นกายสบายใจ : ว. มีความรู้สึกสุขสบายทั้งกายและใจ.
เพาะกาย : ก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียก น้ำหนักเป็นต้น.
แมงกาย :
(ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางคืน. (ดู ผีเสื้อ๑).
อังคุตรนิกาย : [คุดตะระ] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดง หลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะ ตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
กายกรรม : น. การทําทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
กายทวาร : น. ทางกาย. (ป., ส. กาย + ทฺวาร).
กายาพยพ : [กายาพะยบ] น. ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า. (ป., ส. กาย + อวยว).
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ :
ดู กาย, กาย-.
กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
ฉทวาร : [ฉะทะวาน] น. ทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ.
นามธรรม : [นามมะทํา] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
รูปธรรม : [รูบปะทํา] น. สิ่งที่รู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยกาย, คู่กับ นามธรรม คือ สิ่งที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น; สิ่งที่สามารถแสดงออกมาให้ปรากฏ เป็นจริงเป็นจังมิใช่เป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น, สิ่งที่สามารถปฏิบัติได้, เช่น ต้องทําโครงการพัฒนาชนบทให้เป็นรูปธรรมด้วยการจัดให้มีนํ้ากิน นํ้าใช้เป็นต้น. (ป.).
สติปัฏฐาน : น. ชื่อธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม. (ป.).
สรรพางค์ : [สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).
อายตนะ : [ยะตะนะ] น. เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตาเป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, ในพระพุทธศาสนาหมายถึง จักษุ โสต ฆาน ชิวหา กาย ใจ เรียกว่า อายตนะภายใน เป็นเครื่องติดต่อกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์. (ป., ส.).
อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
อินทรียสังวร : น. ความสํารวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
กรชกาย :
[กะระชะ-] (แบบ) น. ร่างกาย. (ดู กรัชกาย).
กรองกรอย : ว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์; ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), ตองตอย ก็ใช้; (กลอน; ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย. (สังข์ทอง).
กระ ๓ : น. จุดดำ ๆ หรือจุดน้ำตาลขึ้นประปรายที่ผิวกายคน สัตว์ หรือสิ่งอื่น ๆ, ประ ก็ว่า.
กระจอก ๒ : (โบ) น. เล็บ เช่น กระจอกสอกายใหญ่หน้าเล็กลาน หล็อนแฮ. (ตําราช้างคําโคลง). (ข. กฺรจก ว่า เล็บ).
กระดักกระเดี้ย : ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
กล้าม : [กฺล้าม] น. เนื้อมะพร้าวห้าว; มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ.
กะเร่อกะร่า : อาการที่แต่งกายรุ่มร่ามเกินพอดี เช่น เขาแต่งตัวกะเร่อกะร่าผิดกาลเทศะ, ซุ่มซ่าม เช่น เขาเดินกะเร่อกะร่าออกไปกลางถนนเลยถูกรถชน, เซ่อซ่า เช่น เขากะเร่อกะร่าเข้าไปอยู่กับพวกเล่นการพนัน เลยถูกจับไปด้วย, เก้งก้าง เช่น เขาเป็นคนท่าทางกะเร่อกะร่า อย่างนั้นเอง, กะเล่อกะล่า เร่อร่า หรือ เล่อล่า ก็ว่า.
กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).