ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
ก้าง ๓ : (กลอน) ก. กั้ง, กั้น, ขวาง, เช่น สองท้าวยินสองสายใจ จักก้างกลใด บดีบันโดยดังถวิล. (สรรพสิทธิ์).
ก้าง ๑ : น. ส่วนแข็งที่ประกอบเป็นโครงร่างของปลา โดยปรกติหมายเอาชิ้นที่แหลมเล็ก ๆ.
ก้างปลา : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Phyllanthus และ Securinega วงศ์ Euphorbiaceae ใบยาวรี ปลายใบทู่ ออกดอกเป็นกลุ่มอยู่ ตามง่ามใบแถวปลายกิ่ง ชนิดผลสีขาว เรียก ก้างปลาขาว (S. virosa Baill.) ชนิดผลสีคล้ำ เรียก ก้างปลาแดง (S. leucopyrus Muell. Arg.) และชนิด P. reticulatus Poir. ชนิดหลังนี้เรียกกันว่า ก้างปลาเครือ ใช้ทํายาได้.
ก้างขวางคอ : น. ผู้ขัดขวางมิให้ทําการได้สะดวก, ผู้ขัดขวางให้ผู้อื่นเสียประโยชน์.
ขี้ก้าง ๑ : ดูใน ขี้.
ขี้ก้าง ๑ : น. ขี้ดีบุกที่ถลุงแล้วเอาไปถลุงอีก. ว. ผอมจนเห็นซี่โครง เป็นซี่ ๆ, ผอมเนื้อน้อย.
หมาหวงก้าง : (สํา) น. คนที่หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นใน สิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.
หวงก้าง : ก. หวงของที่ตนไม่มีสิทธิ์, กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนได้ใช้ประโยชน์ แล้วหรือใช้ประโยชน์ไม่ได้.
กาง ๑ : ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.
ระงับ ๒, ระงับพิษ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Breynia glauca Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae คล้าย ต้นก้างปลา ใช้ทํายาได้.
สับนก : ว. เรียกแกงเผ็ดชนิดหนึ่ง ใช้ปลาตัวเล็ก ๆ สับละเอียดทั้งเนื้อ และก้างว่า แกงสับนก.
กาง ๒ :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคาง. (ดู คาง๒).
กางเกี่ยง : ดู กางเกียง.
กางขี้มอด : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Acrocarpus fraxinifolius Wight et Arn.ในวงศ์ Leguminosae มีฝักแบน ๆ, ขางแดง หรือ แดงน้ำ ก็เรียก.
กั้นกาง : ก. กางแขนออกขวางทางไว้, โดยปริยายหมายถึง ทําอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการขัดขวางเพื่อไม่ให้ไปดังประสงค์.
แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
ท้องกาง : ว. เรียกท้องที่กางออกมากกว่าปรกติเพราะกินเกินขนาด.
เซี่ยวกาง : น. รูปทวารบาล คือ ผู้รักษาประตู มักทําไว้ ๒ ข้างประตู.
นกกางปีก : น. กลอักษรชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า แสนรักร้อน (ร้อนรัก) หนักอกเอ๋ยฉันใดจะได้ชมชิด (ชิดชม) เชย ไม่ลืมเลย (เลยลืม) ปลื้มอาลัย.
ขางแดง :
ดู กางขี้มอด ที่ กาง๒.
เขน ๓ : ก. คลี่ (ขนหางนก), มักใช้เข้าคู่กับคํา กาง เป็น กางเขน.
คาง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeckoides Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบกระถิน เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่ แข็ง, พายัพเรียก กาง.
คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
แดงน้ำ :
ดู กางขี้มอด ที่ กาง๒.
กรรภิรมย์ : [กัน-] น. ฉัตร ๕ ชั้นสํารับหนึ่ง ทําด้วยผ้าขาวลงยันต์เส้นทอง ใช้ถุงปัศตูแดงสวม มี ๓ องค์ด้วยกัน คือ พระเสมาธิปัต พระฉัตรชัย พระเกาวพ่ายหรือพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูง ใช้กางเชิญนํา พระราชยานเวลาเสด็จพระราชดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้เข้าพิธีคชกรรมเชิญนําช้างเผือกขึ้นจากแพเข้าสู่โรงสมโภช หรือใช้ผูกเสาพระแท่นมณฑลในพระราชพิธีใหญ่, เขียนเป็น กรรม์ภิรมย์ กันภิรมย์ หรือ กันพิรุณ ก็มี.
กระเบน : น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลําตัวแบนลงมาก ครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้าย เกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้าง ออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัว เป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจาก ส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับ โพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอน ใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทง จะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด; เรียกชายผ้านุ่งที่ม้วนแล้วสอดไปใต้หว่างขา ดึงขึ้นไปเหน็บ ขอบผ้านุ่งด้านหลังระดับบั้นเอว ว่า ชายกระเบน หรือ หางกระเบน; โคนหางช้าง เช่นผูกกระเบนสักหลาดถกล สัปทนแดงกางกั้ง. (กฐินพยุห).
กอง ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
กางเกียง : ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, รวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ. (คาวี), กังเกียง หรือ กําเกียง ก็ว่า.
เกรียก ๒ : [เกฺรียก] น. ระยะยาวชั่วนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กางออก เช่น ยาวแค่เกรียก.
ข้าวเม่า ๒ : น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาด เล็ก ลําตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กาง ทําให้ทิ่มตําเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis ในวงศ์ Ephippidae Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย.
ขาหยั่ง : [-หฺยั่ง] น. ไม้ ๓ อันผูกปลายรวมกันและกางออกไป สําหรับตั้ง หรือห้อยของต่าง ๆ.
ขึงพืด : ก. จับให้นอนเหยียดยาวกางแขนกางขา.
แขกไม่ได้รับเชิญ : (สำ) น. คนหรือสัตว์ที่ไม่พึงปรารถนาซึ่งเข้ามาทำ ให้เกิดความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญ มักหมายถึง ขโมยหรือสัตว์ บางชนิด เช่น ก่อนนอนอย่าลืมปิดประตูตูหน้าต่าง มิฉะนั้นแขกไม่ได้ รับเชิญจะขนของไปหมด กางเต็นท์นอนในป่าระวังแขกไม่ได้รับเชิญ จะเข้ามา.
ง่า ๑ : ก. เงื้อ, อ้า, กางออก. น. ค่าคบไม้.
จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
ใช้ใบ : ก. กางใบแล่นเรือ.
โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
ดิ่งพสุธา : น. เรียกการกระโดดร่มจากที่สูงโดยให้ตัวลอยอยู่ในอากาศก่อน เมื่อใกล้พื้นดินประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร จึงกระตุกสายร่มให้กางออก ว่า กระโดดร่มแบบดิ่งพสุธา.
ถ่าง : ก. แยกปลายออกให้ห่างจากกัน เช่น ถ่างขา, กางออก.
แทงวิสัย : น. การเล่นอย่างหนึ่ง แต่งตัวคล้ายเซี่ยวกางถือหอกแทงกัน; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า).
บ่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Cynocephalus variegatus ในวงศ์ Cynocephalidae รูปร่างคล้ายกระรอก แต่มีหนังเป็นพังผืด ๒ ข้าง ของลําตัวตั้งแต่คอไปถึงปลายนิ้วตีนและปลายหางสําหรับใช้กาง ออกคล้ายปีก ถลาร่อนจากที่สูงมายังที่ตํ่าได้ค่อนข้างไกล ขนนุ่ม สีนํ้าตาลคลํ้าหรือนํ้าตาลจาง ๆ เป็นหย่อม ๆ เล็บโค้งแหลมใช้ปีน ป่ายต้นไม้ หากินในเวลากลางคืน กลางวันมักหลบอยู่ตามโพรงไม้ หรือเกาะห้อยอยู่ตามพุ่มทึบ, พุงจง หรือ พะจง ก็เรียก
แบ : ก. แผ่ให้แบนออก เช่น แบมือ, กางแผ่ออก เช่น แบหนังสือไว้. ว. อาการที่เปิดแผ่หรือวางทิ้งไว้อย่างไม่เอาใจใส่เป็นต้น เช่น นอนแบ เปิดแบไว้ ทิ้งแบไว้.
แบหลา : [แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคําว่า นอน
แบะ : ก. แบออก เช่น แบะหนังสือ, ทําให้อ้า เช่น แบะทุเรียน. ว. อ้า, ที่เปิดกว้างออกไป, เช่น ถูกฟันหัวแบะ; มีลักษณะกางออกหรือ ถ่างออก เช่น ล้อแบะ.
ประทุน : น. หลังคาเรือ รถ หรือเกวียนที่มีรูปโค้งคุ่มตามรูปเรือ รถ หรือเกวียน, เรียกมุ้งครอบที่หุบและกางได้คล้ายร่มว่า มุ้งประทุน.