ก๊ง : (ปาก) ก. ดื่ม (ใช้แก่เหล้า) เช่น ก๊งเหล้า. น. หน่วยตวงเหล้าโรง เป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. (จ.).
กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
กง ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
กง ๓ : น. ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ (เทียบมลายู กง, ตะเลง กง, ในความ เดียวกัน); ไม้สําหรับดีดฝ้ายมีรูปเหมือนคันธนู เรียกว่า ไม้กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย (เทียบอะหม ไม้กงดีดฝ้าย และ คันกระสุน ว่า กง; พายัพ ว่า โก๋ง ได้แก่ คันกระสุน), เสลี่ยงที่มีพนักโค้งเหมือนกงเรือ เรียกว่า เสลี่ยงกง.
กง ๔ : น. ปลามังกง. (ประถม ก กา ในจินดามณี).
กงข้าง, กงค้าง : น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
ก่ง : ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทำให้โค้ง, เช่น ก่งศร ก่งคอ, โก่ง ก็ว่า. ว. โค้ง เช่น คิ้วก่ง, โก่ง ก็ว่า.
กิ่ง : น. ส่วนที่แยกออกจากต้น, แขนง; ใช้เรียกส่วนย่อยที่แยก ออกไปจากส่วนใหญ่ แต่ยังขึ้นอยู่กับส่วนใหญ่ เช่น กิ่งอําเภอ กิ่งสถานีตํารวจ; ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง; ชื่อเรือชนิดหนึ่ง ในกระบวนพยุหยาตรา.
โก่ง : ก. ทำให้งอเป็นรูปโค้ง, ทําให้โค้ง, เช่น โก่งศร โก่งคอ, ก่ง ก็ว่า; บอกราคาเกินสมควร เช่น โก่งราคา. ว. โค้ง เช่น คิ้วโก่ง, ก่ง ก็ว่า.
ปะเสหรันอากง : [-หฺรันอากง] น. วังลูกหลวง. (ช.).
กึ่ง : ว. ครึ่ง.
เก่ง : ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่ง ลืมเก่ง.
แก่ง : น. พืดหินหรือโขดหินที่กีดขวางทางน้ำ มักจะมีตามต้นแม่น้ำ.
ประเสบัน, ประเสบันอากง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ช.)
ประเสบันอากง ๒ : น. วังลูกหลวง, วังหลานหลวง. (ช.).
ไม้กง : น. ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคันธนู, กง หรือ ไม้กงดีดฝ้าย ก็ว่า.
กรอง ๓ : [กฺรอง] (กลอน) น. กําไล, โดยมากใช้ประกอบกับคําอื่น ๆ เช่น กรองเชิง = กําไลเท้า กรองได = กําไลมือ กรองศอ = สร้อยคอ, สร้อยนวม เช่น กรองศอซ้อนสลับทับอังศา. (อิเหนา). [ข. กง (กอง) ว่า กำไล, วงกลม].
คำเทียบ : น. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ ป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็น คำเทียบของแม่ กง.
คำเป็น : น. คำสระยาวที่ไม่มีตัวสะกด และคำในมาตรา กง กน กม เกย เกอว.
จงโคร่ง, โจงโคร่ง : [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลําธาร หรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
กงเกวียนกำเกวียน : (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวร สนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือ ลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกัน อย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.
กงโก้ : (ปาก) ว. โก่ง ๆ โค้ง ๆ เช่น ยืนกงโก้, หลังโกงไม่น่าดู เช่น ผอมกงโก้, เกะกะไม่เรียบร้อย เช่น กงโก้ กงกก, โกงโก้ ก็ว่า.
กงวาน : น. กงที่มีรูสําหรับน้ำเดินที่ท้องเรือ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
กงสี : น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสําหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททําการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
กระดูกงู : น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลําเรือสําหรับตั้งกง.
กระทด : (โบ) ว. คด, ไม่ตรง, เช่น คอกระทดคดคอดหยัก รวดท้าย. (ตําราช้างคําโคลง), ไม้กระทดกระทําทอน ทุกที่ กงนา. (โลกนิติ).
กรางเกรียง : ว. เสียงอย่างเดียวกับกราง เช่น ก้องกงรถก้องกรางเกรียง. (พากย์; สุธน).
กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
แกล้ว : [แกฺล้ว] ว. กล้า, องอาจ, เก่ง, ว่องไว.
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
ครึ่ง : [คฺรึ่ง] ว. กึ่ง, ๑ ส่วนใน ๒ ส่วน.
ง : พยัญชนะตัวที่ ๗ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กง.
ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
ชำเนียร ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น ชําเนียรในศิลป์. (สรรพสิทธิ์).
ชีระ ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว. (ส.).
เชียร ๒ : ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว, เช่น เชียรเชียรใบบาตรนํ้า. (แช่งนํ้า). (แผลงมาจาก ชีระ).
ดำแคง : ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น. (ข. แถฺกง).
ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
ต่อ ๒ : ก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาว ออกไป เช่น; ต่อเชือก ทําให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้กระดานโดยนํามาต่อขึ้นเป็นรูป เรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิด ขึ้นตามส่วนเช่นเรือสําปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทําให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ; ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนัน โดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่าย เห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นําสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่าในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ลูกตอด ก็ว่า. สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นําไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อม เข้าด้วยกัน เช่น คําต่อ (คือ คําบุรพบทและคําสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออําเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, undefined แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้ นักเรียนเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.
ตอกหมัน : ก. ตอกลูกประสักกำกับให้กระดานเรือติดกับกงเป็นต้น.
นิ้ว : น. ส่วนสุดของมือหรือเท้า แยกออกเป็น ๕ กิ่ง คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย, ราชาศัพท์ว่า พระอังคุฐ พระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา พระกนิษฐา โดยลําดับ, ถ้าเป็นนิ้วเท้านิ้วต้น เรียกว่า นิ้วหัวแม่เท้า นอกนั้นอนุโลมเรียกตามนิ้วมือ; มาตราวัดตามวิธีประเพณี ๑ นิ้ว เท่ากับ ๔ กระเบียด, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ; มาตราวัดของอังกฤษ ๑ นิ้ว เท่ากับ ๒.๕ เซนติเมตร, และ ๑๒ นิ้ว เป็น ๑ ฟุต. นิ้วไหนร้ายก็ตัดนิ้วนั้น (สํา) น. คนใดไม่ดี ก็ตัดออกไปจากหมู่คณะ.
นุ่น : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Ceiba pentandra (L.) Gaertn. ในวงศ์ Bombacaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีเขียว มีหนามสั้น ๆ ที่โคนต้น กิ่ง ทอดขนานกับพื้น ทิ้งใบในฤดูแล้ง ดอกสีขาวนวล ผลรูปทรงกระสวย ใช้ปุยในผลอย่างเดียวกับง้าวและงิ้ว.
เนมิ : (แบบ) น. กงรถ, กงเกวียน. (ป.).