ขมวด : [ขะหฺมวด] ก. บิดม้วนแล้วขอดให้เป็นปม, โดยปริยายหมายความว่า ย่นย่อข้อความทิ้งท้ายไว้ให้คิด. น. ลักษณนามเรียกของที่ขมวด อย่างนั้น เช่น หัวหอม ๔ ขมวด.
จุก ๑ : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, ผมจุก หรือ หัวจุก ก็เรียก, ราชาศัพท์ว่า พระเมาลี หรือ พระโมลี; กลุ่ม, ขมวด, หมวด, (ใช้แก่หัวหอมหัวกระเทียม เรียกว่า จุกหอม จุกกระเทียม); ลักษณนามเรียกสิ่งที่มัดรวมกันเป็นจุก เช่น ผูกผม ๒ จุก จุกหอม ๓ จุก.
หน้านิ่วคิ้วขมวด : ว. อาการที่ทำหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือ เจ็บปวดเป็นต้น.
หางกระหมวด, หางขมวด : [-กฺระหฺมวด, -ขะหฺมวด] ว. ที่มีหางกระหมวด ปลาย ได้แก่หาง ฬ ฮ.
ผูก : ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทําให้มั่นหรือ ติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อ หรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วย เรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า; คุ้มครอง (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น เอาม้าผูกโคน เอาเรือผูกม้า; ขมวด เช่น ผูกคิ้วนิ่วหน้าไม่พาที. (นิ. นรินทร์); จอง เช่นผูกเวร; ตรงข้าม กับ แก้. น. ลักษณนามเรียกหนังสือใบลานที่ร้อยหูไว้มัดหนึ่ง ๆ ว่า คัมภีร์เทศนาผูกหนึ่ง.
กระหมวด ๑ : ก. ขอดให้เป็นปม, มุ่น, บิดม้วนให้เป็นปม. (แผลงมาจาก ขมวด).
มุ่น : ก. ขมวด (ใช้แก่มวยผม) เช่น มุ่นมวยผม มุ่นพระเมาลี; กังวลอยู่; (กลอน) เกลี้ยงเกลา, อ่อนนุ่ม. น. เรียกเงินแท่งชนิดหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเงินเนื้อดีว่า เงินมุ่น.
กระบองเพชร ๑ : น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระ สําหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, ตะบองเพชร ก็เรียก.
กระหมุดกระหมิด : ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัด กระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขอด ๑ : ก. ขมวดเป็นปม เช่น ขอดเชือก ขอดผ้า ขอดชายพก. ว. ที่ขมวด เป็นปมหรือม้วนเข้ามา เช่น หมาหางขอด.
ขึงอูด : ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
เขี้ยวตะขาบ : น. เหล็กที่ทําเป็นหมุดแหลมโค้งอย่างเขี้ยวของตะขาบ สําหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้แน่นสนิท, ตะปลิง ตัวปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก; ชายผ้าสังฆาฏิของพระพุทธรูปในสมัยเชียงแสนและสุโขทัย มีลักษณะปลายผ้าย้อยต่ำแหลมลงมา ๒ ด้าน ปลายขมวดเข้าหากัน คล้ายเขี้ยวของตะขาบ มีช่องตอนกลางยกสูง.
ตะบองเพชร ๑ : น. ใบตาลที่ขมวดปลายลงอักขระ สำหรับใช้ในพิธีตรุษและโกนจุก, กระบองเพชร ก็เรียก.
นิ่ว ๒ : ก. ทําหน้าย่นขมวดคิ้วแสดงความโกรธหรือเจ็บปวดเป็นต้น. ว. มีสีหน้า เช่นนั้น ในคําว่า หน้านิ่ว.
มวย ๒ : น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย.
เม็ดพระศก : น. ปุ่มนูนของขมวดผมบนเศียรพระพุทธรูป.
ลวดหนาม : น. ลวดที่ขมวดเป็นปมเป็นระยะ ๆ แต่ละปมมีปลาย แหลมคม ใช้ทํารั้วหรือเครื่องกีดขวางเป็นต้น.
สงโกจ : [โกด] (แบบ) ก. หดเข้า, สั้นเข้า; สยิ้ว, หน้านิ่วคิ้วขมวด. (ป. สงฺโกจ; ส. สํโกจ).
สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
หนวดพราหมณ์ ๔ : [หฺนวดพฺราม] น. ปลายสายของซอสามสายที่พาดผ่านหย่องลงมาสอดเข้า ที่รูหน้าของทวนล่างไปออกทางด้านหลัง แล้วขมวดเข้าด้วยกัน ทิ้งชายซึ่ง เรียกว่าหนวดพราหมณ์ไว้.
หมวด : [หฺมวด] น. กลุ่มที่ประกอบด้วยหลายหมู่ เช่น หมวดหนังสือวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหมู่หนังสือเคมี หมู่หนังสือฟิสิกส์ เป็นต้น; กำลังพลของ ทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวนไม่เกิน ๔ หมู่ มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับ หมวด หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมวด, ถ้าเป็นทหารบกหรือตำรวจจะต้อง มียศเป็นร้อยตรี ร้อยโท หรือร้อยตำรวจตรี ร้อยตำรวจโท, ถ้าเป็นทหารเรือ หรือทหารอากาศจะต้องมียศเป็นเรือตรี เรือโท; เรียกสิ่งที่ขมวดไว้เป็น จุกเดียวกัน.
หัวจุก : น. ผมเด็ก ๆ ที่ขมวดเอาไว้ตรงขม่อม, จุก หรือ ผมจุก ก็เรียก.
หางขอด : น. หางที่มีปลายขมวดงอหงิก (ใช้แก่หมาและแมว).