ขลัง : [ขฺลัง] ว. มีกําลังหรืออํานาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอํานาจ ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
ชรแรง : [ชฺระ] (กลอน) ว. แรง ๆ, ขลัง, เช่น เยียชรแรง. (แช่งนํ้า).
ชะงัด : ว. แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง, เช่น ยาขนานนี้แก้โรคปวดหัว ได้ชะงัดนัก.
ชำงัด : ว. ชะงัด, แม่นยํา, ขลัง, แน่, ได้จริง.
ศักดิ์สิทธิ์ : ว. ที่เชื่อถือว่ามีอำนาจอาจบันดาลให้สำเร็จได้ดัง ประสงค์, ขลัง, เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์.
ของขลัง : น. ของที่มีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้สําเร็จ ได้ดังประสงค์.
ฉมัง : [ฉะหฺมัง] ว. แม่น เช่น มือฉมัง, ขลัง เช่น เป่ามนตร์ฉมัง.
ฉมวย : [ฉะหฺมวย] (กลอน) ก. ฉวย, จับ; ได้. ว. แม่น, ขลัง.
ฉมำ : [ฉะหฺมํา] ว. แม่น, ไม่ผิด, ขลัง.
กรัณฑ-, กรัณฑ์ :
[กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
เกจิอาจารย์ : น. ``อาจารย์บางพวก'', อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
ของดี : น. ของขลัง, โดยปริยายหมายถึงของสําคัญที่ไม่อยากเปิดเผยให้ใครรู้.
ขิก : (ปาก) น. เรียกรูปจําลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ว่า ไอ้ขิก อ้ายขิก หรือ ปลัดขิก, ขุนเพ็ด ก็เรียก.
ขุดเพ็ด : น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง, ปลัดขิก ไอ้ขิก หรือ อ้ายขิก ก็เรียก, ถ้าใช้เป็นเครื่องบูชาตามศาลเจ้า เรียกว่า ดอกไม้เจ้า, ราชาศัพท์ว่า ทองพระขุน.
เข้าตัว : ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือ พูดให้ร้ายแก่ผู้อื่น แล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
ควายธนู : น. ของขลังชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปตัวควายหรือเขาควาย ใช้เวทมนตร์ทางไสยศาสตร์เสกเป่าไปทำร้ายผู้อื่นหรือกันไม่ให้ ผู้อื่นมาทำร้าย.
เช่า : โดยให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
ปลัดขิก : [ปะหฺลัด-] น. รูปจำลองอวัยวะเพศชาย มักทำด้วยไม้ ใช้เป็น เครื่องรางของขลัง, อ้ายขิก ไอ้ขิก หรือ ขุนเพ็ด ก็เรียก.
ปลุก : [ปฺลุก] ก. ทําให้ตื่นจากหลับ, ทําให้ได้สติรู้สึกตัว, กระตุ้นให้เกิด แรงกําลัง ความขลัง และความกล้าแข็ง เป็นต้น.
ปลุกพระ : ก. บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง.
ปลุกเสก : ก. เสกให้ขลัง.
พิธี : น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือตามขนบธรรมเนียม ประเพณีเพื่อความขลังหรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีมงคลสมรส พิธี ประสาทปริญญา; แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำให้ถูกพิธี; การกําหนด เช่น ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธีในเทพพู้น. (ม. คําหลวง ทศพร). (ป., ส. วิธิ).
มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
มหาอุด : น. เครื่องรางของขลังที่ช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของอยู่ยงคงกระพัน; โบสถ์หรือวิหาร ที่มีผนังทึบตันรอบด้านมีช่องทางเข้าออกเฉพาะประตูด้านหน้าแห่งเดียว เพื่อประโยชน์ในการทำพิธีที่เชื่อว่าจะทำให้ขลังยิ่งขึ้น.
มายาการ : น. ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลด้วยการใช้ พลังหรืออํานาจเหนือธรรมชาติ เช่นของขลัง พิธีกรรม หรือหลักลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ.
ยันต์ : น. ตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระหรือรูปภาพที่เขียน สัก หรือ แกะสลักลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น ถือว่าเป็นของขลัง เช่น ยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์, เรียกเสื้อหรือผ้าเป็นต้น ที่มีลวดลายเช่นนั้นว่า เสื้อยันต์ ผ้ายันต์, เรียกกิริยาที่ทำเช่นนั้นว่า ลงเลข ลงยันต์.
รักยม : น. ของขลังอย่างหนึ่ง เป็นรูปตุ๊กตาเด็กเล็ก ๒ ตัว ทําด้วยไม้รัก ดอกและไม้มะยมเชื่อว่าทําให้เกิดเมตตามหานิยม.
ลงเลขลงยันต์ : ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็น ตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
ลองของ : ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่, โดยปริยายหมายความว่า ลองดี.
ลูกกรอก : น. ลูกคนหรือลูกสัตว์มีแมวเป็นต้นที่ตายตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์หรือในท้อง มีร่างกายครบบริบูรณ์ แต่ขนาดเล็ก เชื่อกันว่า จะให้คุณแก่เจ้าของหรือบางทีก็ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง.
หัวใจ : น. อวัยวะภายในสําหรับฉีดเลือดให้หมุนเวียนเลี้ยงร่างกาย; ใจ, สิ่งที่มีหน้าที่รู้ รู้สึก นึก และคิด, เช่น เขาทำอย่างนี้เหมือนเป็นคนไม่มี หัวใจ; ส่วนสําคัญแห่งสิ่งต่าง ๆ; อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความ ต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกําหนดจําได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจ อริยสัจ ว่า ''ทุ. ส. นิ. ม.'' หัวใจนักปราชญ์ ว่า ''สุ. จิ. ปุ. ลิ.'' หัวใจเศรษฐี ว่า ''อุ. อา. ก. ส.''.
ขล้ง : [ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
ขลึง : [ขฺลึง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.
เขลง ๑ : [เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).
เขลง ๒ :
[เขฺลง] ดู หยี๒.
โขลง ๑ : [โขฺลง] น. ฝูง (ใช้เฉพาะช้าง).
โขลง ๒ : [โขฺลง] ว. มีกลิ่นเหม็นอย่างเนื้อเน่าที่ค้างหลายวัน, โขง ก็ว่า.