Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขวด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขวด, 39 found, display 1-39
  1. ขวด : น. ภาชนะกลวงใน โดยมากทําด้วยแก้ว รูปสูง มักมีคอหรือปากแคบ สําหรับบรรจุของเหลวเป็นต้น, ลักษณนามว่า ใบ.
  2. ขวดตีนช้าง : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ขวดโหล.
  3. ปุฏะ : (แบบ) น. ห่อ; หม้อ, ขวด, โอ่ง, ไห; กระจาด. (ป.).
  4. ระเบิดขวด : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อ ถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด.
  5. คอขวด : น. ส่วนของถนน สะพาน หรือลำน้ำตอนที่แคบเข้า.
  6. แปรงล้างขวด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง เป็นฝอยเหมือนแปรง.
  7. กรณฑ์ ๑ : [กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่น้ำ เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุ ในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).
  8. กรอก ๑ : [กฺรอก] ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้ โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู; ลงข้อความหรือจํานวนเลข เช่น กรอกบัญชี. ว. แห้งจนคลอน, ใช้แก่หมากและฝักมะขาม ว่า หมากกรอก มะขามกรอก.
  9. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  10. ก๊อก ๒ : น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก.
  11. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  12. กะหลาป๋า ๑ : น. ชื่อเมืองในเกาะชวาสมัยโบราณ ต่อมาเรียก ปัตตาเวีย, ปัจจุบันชื่อ จาการ์ตา; เรียกหมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปว่า หมวกกะหลาป๋า; เรียกขวดแก้วสำหรับใช้ใส่น้ำอบ ทรงกระบอกแปดเหลี่ยม มีสีต่าง ๆ มีจุกแก้ว เถาหนึ่งมี ๓ ใบ ว่า ขวดกะหลาป๋า.
  13. กั๊ก : น. เรียกทางสี่แยกว่า สี่กั๊ก; ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าเทหนึ่ง, ส่วน ๑ ใน ๔ ของเหล้าขวดใหญ่ขนาด ๗๕๐ ซีซี., ส่วน ๑ ใน ๔ ของน้ำแข็งซองหนึ่ง แบ่งออกได้เป็น ๔ มือ; เสื้อชนิดหนึ่ง ตัวสั้นเสมอเอว ไม่มีแขน ไม่มีปก ผ่าอกตลอด ติดกระดุมหรือไม่ติด ก็ได้ มักใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต เรียกว่า เสื้อกั๊ก; วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงกั๊ก ๒ ประตูใด โปออกประตูใดประตูหนึ่งใน ๒ ประตูนั้น เจ้ามือจ่าย ๑ ต่อ ถ้าโปออกประตูอื่นนอกจาก ๒ ประตู ที่แทงไว้ เจ้ามือกิน. (ถิ่น-พายัพ) ก. พูดติดอ่าง.
  14. กัลเม็ด : [กันละ-] น. กลเม็ด, วิธีที่แยบคาย, สิ่งที่แยบคาย; แหวนที่มีก้านหัวเป็นเกลียวถอดออกจากเรือนได้ เรียกว่า แหวนกัลเม็ด, ขวดที่มีจุกเป็นเกลียวเรียกว่า ขวดกัลเม็ด.
  15. ขวดโหล : [-โหฺล] น. ขวดปากกว้างมีฝา, โหล ก็เรียก.
  16. ขวัด : [ขฺวัด] ก. ขวิด, กวัด, ขัด, เช่น แรดควายขวางขวัดอยู่. (ลอ).
  17. ขวิด ๑ : [ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทําร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.
  18. ขวิด ๒ : [ขฺวิด] น. มะขวิด.
  19. เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
  20. จุ ๑ : ก. มีขนาด ปริมาณ หรือจํานวนบรรจุ เช่น ขวดใบนี้จุน้ำได้ ๑ ลิตร ลิฟต์นี้จุคนได้ ๑๐ คน. ว. มาก เช่น กินจุ.
  21. จุก ๒ : น. สิ่งที่ใช้อุดปากขวด. ก. อาการที่บังเกิดแน่นอยู่ในอกหรือในท้อง เช่น กินมากจนจุก; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งอุดปากขวดเป็นต้น เช่น เอาไม้ก๊อกจุก ปากขวด, ค้างคาอยู่ที่ช่อง เช่น นั่งจุกประตู ลิ้นจุกปาก, ปิด ใช้ใน ความเช่น หางจุกตูด.
  22. แจกัน : น. ภาชนะสําหรับปักดอกไม้ตั้งเครื่องบูชาหรือประดับสถานที่ มักมีรูปคล้ายขวดปากบาน.
  23. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  24. เชงเลง : น. เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ทําด้วยซีกไม้ไผ่มัดด้วยหวาย รูปคล้ายขวด.
  25. โซดา : น. นํ้าที่เจือด้วยโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, นํ้าที่มี แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวด เรียกว่า นํ้าโซดา. (อ. soda).
  26. ต้อ ๒ : ว. อ้วนสั้น, อ้วนเตี้ย, เช่น ขวดต้อ พลูต้อ.
  27. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  28. ถ้ำชา : น. ภาชนะที่โดยมากทําด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สําหรับใส่ใบชา รูปร่างคล้ายขวดมีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกู ใส่ไว้ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).
  29. บรรจุ : [บัน-] ก. ประจุ, ใส่ลงในขวด หีบ หรือถุง เป็นต้น, ใส่ลงไว้ในภาชนะ หรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด เช่น บรรจุอังคาร บรรจุอัฐิ บรรจุศพ; โดยปริยายหมายความว่า ให้เข้าประจําที่, ให้เข้าประจําตําแหน่ง ครั้งแรก, เช่น บรรจุให้เป็นข้าราชการ, ใส่ลงไว้ตามอัตรา เช่น บรรจุ เข้าไว้ในรายการ.
  30. ปาล์ม : น. ชื่อเรียกไม้ต้นหรือไม้พุ่มในวงศ์ Palmae ชนิดที่นําเข้ามาจาก ต่างประเทศ เช่น ปาล์มขวด [Roystonea regia (Kunth) Cook] ปลูกเป็นไม้ประดับ, ปาล์มนํ้ามัน (Elaeis guineensis Jacq.) ปลูกใช้ผลและเมล็ดทํานํ้ามัน.
  31. เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
  32. แป้ว : ว. เบี้ยว, แฟบ, (มักใช้แก่ของที่มีลักษณะกลม ๆ) เช่น ขวดแป้ว ผลไม้แป้ว; อาการที่ใจฝ่อหรือหดหู่ลง ในคำว่า ใจแป้ว.
  33. รัดรูป : ว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทําให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูปซึ่งทําให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.
  34. เราะ ๒ : ก. เคาะหรือต่อยริมออกทีละน้อยเพื่อให้ได้รูปตามต้องการ เช่น เอาไม้ เราะตาตุ่ม เวลาเดินลงส้น เราะกระเบื้อง เราะปากขวด, กะเทาะให้แตก ออกจากกัน เช่น เราะถั่วทอง, เคาะให้หลุด เช่น เราะสนิม; เดินระผ่าน เสาหรือหลักที่ปักไว้เป็นแถวเพื่อหาทางเข้าออกเป็นต้น เช่น เราะรั้ว เราะกำแพง.
  35. โลมา ๒ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับ Odontoceti มีหลายชนิด หลายวงศ์ ลำตัวใหญ่ บางชนิดปลายปากยื่นแหลม บางชนิดหัว กลมมน หางแบนเพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำ มักมีครีบหลัง ๑ ครีบ หายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเล เช่น โลมาขาวเทา (Sotalia plumbea) ในวงศ์ Stenidae โลมาหัวขวด (Delphinus delphis) ในวงศ์ Delphinidae โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Neophocaena phocaenoides) ในวงศ์ Phocaenidae, ปลาโลมา ก็เรียก.
  36. สลาก ๑ : [สะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่ง ทําเป็นเครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทาย เป็นต้น เช่น สลากภัต; ป้ายบอกชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า สลากยา, ฉลาก ก็ว่า. (ป.; ส. ศลาก).
  37. หัวนม : น. อวัยวะส่วนที่อยู่ตอนยอดของนมมนุษย์หรือสัตว์; ของที่ทําด้วย ยางเป็นต้น มีรูปคล้ายหัวนม สําหรับสวมขวดบรรจุนํ้านมหรือนํ้าเป็นต้น เพื่อให้เด็กดูด; นํ้านมที่มีครีมมากจนข้น.
  38. โหล ๒ : [โหฺล] น. ขวดปากกว้าง มีฝา, ขวดโหล ก็เรียก.
  39. อัดลม : ก. อัดแก๊สเข้าไป. ว. เรียกเครื่องดื่มประเภทหนึ่งซึ่งมีแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวดเป็นต้นว่า นํ้าอัดลม.
  40. [1-39]

(0.0131 sec)