ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
กินขวา, กินซ้าย : ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนล้ำไปทางขวา หรือซ้ายมากเกินควร.
แขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เปรียบเสมือนแขนข้างขวา.
แขนซ้ายแขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา.
ทักขิณา : น. ทักษิณา, ทานเพื่อผลอันเจริญ; ขวา, ทิศใต้. (ป.; ส. ทกฺษิณา).
กรมท่าขวา : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่ เกี่ยวกับชนชาวแขก.
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา : (สํา) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล.
ถนัดขวา : ว. ที่ทําได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา.
ฝ่ายขวา : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
สดำ : [สะ] ว. ขวา. (ข. สฺฎำ).
สะพานหัน : น. สะพานที่สร้างให้บางส่วนหันเบนออกไปทางซ้ายหรือ ขวา เพื่อปิดทางให้เรือแล่นผ่าน.
กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
ขวานฟ้า : น. ขวานที่ทําด้วยหินในยุคหิน เชื่อกันว่าตกลงมาจากฟ้า เมื่อเวลาฟ้าผ่า.
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
ครุฑพ่าห์ : [คฺรุดพ่า] น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธง เทำด้วยผ้าปักไหมทองป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ใน คันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวม ต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระ ครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่, ใช้เข้าคู่กับ ธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และ ธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย.
คอปาด : น. เรียกเสื้อที่มีคอตัดปาดตรงจากไหล่ซ้ายถึงไหล่ขวาว่า เสื้อคอปาด.
งอมืองอตีน : ก. เกียจคร้าน, ไม่สนใจขวนขวายทําการงาน, ไม่คิดสู้.
แง้ม : ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลอง บางกอกน้อยแง้มขวา.
จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
จิบ ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้ายและ ทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้างอย่างเดียว กับกะบัง แต่ระหว่างกลางเอาอวนลงกางกั้นให้ปลาเข้าถุงอวน จับเมื่อ เวลานํ้าไหลอ่อน ๆ.
เฉวียงบ่า : ว. เรียกการห่มผ้าปิดทางบ่าซ้ายเปิดบ่าขวาว่า ห่มเฉวียงบ่า.
ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
ดรรชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จํานวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจํานวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐาน เพื่อแสดงการยกกําลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดรรชนี ของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ; ดัชนี ก็ใช้. (อ. index number). ดรรชนีหักเห (แสง) น. ดรรชนีหักเหระหว่างตัวกลางคู่หนึ่งที่แสงผ่าน คือ อัตราส่วนระหว่างไซน์ของมุมตกกระทบของแสงในตัวกลางหนึ่ง ต่อไซน์ของมุมหักเหของแสงในอีกตัวกลางหนึ่ง, ดัชนีหักเห ก็ใช้. (อ. refractive index).
ดอง ๒ : น. วิธีห่มผ้าของภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดบ่าซ้าย เปิดบ่าขวา เรียกว่า ห่มดอง.
ดัชนี ๒ : [ดัดชะนี] (คณิต) น. จำนวนที่เขียนไว้บนมุมขวาของอีกจำนวนหนึ่งซึ่ง เรียกว่า ฐานเพื่อแสดงการยกกำลังของฐานนั้น เช่น ๓๒ ๒ เป็นดัชนีของ ๓; ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่า ครองชีพ; ดรรชนี ก็ใช้. (อ. index number).
ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
ตกขอบ : ว. ที่สุดข้างใดข้างหนึ่ง เช่น ขวาตกขอบ, เต็มที่ เช่น ฮาตกขอบ.
ตบแผละ : [-แผฺละ] น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและ มือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
ถวายเนตร : น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตร ทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสํารวม.
ทักขิญ : [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
ทักขิณ : (แบบ) ว. ทักษิณ, ใต้; ข้างขวา. (ป.; ส. ทกฺษิณ).
ทักขิณาวัฏ : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
ทักษิณ : น. ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ. ว. ใต้; ข้างขวา เช่น ฝ่ายทักษิณ. (ส.; ป. ทกฺขิณ).
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
ทักษิณาวรรต : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีเหลืองรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพครุฑที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพครุฑจับนาค จำนวน ๔ กาบ มีหางนกยูงผูกเป็นแพนเสียบที่กาบ, ใช้เชิญนำกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย หรือ ธงชัยราชกระบี่ยุทธ โดยธงชัย พระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา และธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยหรือธงชัย ราชกระบี่ยุทธอยู่ทางด้านซ้าย.
ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มี ภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอด เรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลัก เป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มี อีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตราและ อัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยโดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.
ธุรำ : น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา เรียกว่า สายธุรํา, ธุหรํ่ายัชโญปวีต หรือ สายมงคล ก็เรียก.
นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
บิดขวา : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันเข้าทางขวาว่า ห่มบิดขวา.
ปฐมเทศนา : [ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถม เทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูป นั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมาย สําคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทํานิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทํา ท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.
ประทักษิณ : น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้น อยู่ทางขวาของผู้เวียน. (ส.).
ป่าย ๑ : ก. เหวี่ยงพาดไป เช่น เหวี่ยงซ้ายป่ายขวา.
ปีก : น. อวัยวะสําหรับบินของนกหรือแมลงเป็นต้น, อวัยวะเช่นนั้น ของสัตว์บางชนิด แต่ใช้บินไม่ได้, ส่วนของสิ่งต่าง ๆ ที่มีลักษณะ เช่นนั้น เช่น ปีกตะไล ปีกเครื่องบิน; โดยปริยายหมายถึงต้นแขน ทั้ง ๒ ข้างในบางลักษณะ เช่น เข้าปีก ตีปีก พยุงปีก หิ้วปีก; ข้าง เช่น ปีกซ้าย ปีกขวา.
ฝ่ายเป็นกลาง : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา.
มหาราชลีลา : น. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.