Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขัง , then ขง, ขํ, ขัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขัง, 82 found, display 1-50
  1. ขัง : ก. ให้อยู่ในที่ล้อมเช่นกรง คอก หรือเล้า เป็นต้น, ให้อยู่ในที่ซึ่งกันไว้ เช่น ขังนํ้า; (กฎ) กักขังจําเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล.
  2. ขังหน่วย : ว. เรียกนํ้าตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า นํ้าตาขังหน่วย, น้ำตาคลอหน่วย หรือ น้ำตาล่อหน่วย ก็ว่า.
  3. ขังปล้อง : ว. ลักษณะกระบอกที่ตัดให้มีข้อติดอยู่ทั้ง ๒ ข้าง โดยฝาน ข้าง ๆ ทั้ง ๒ ข้างให้เป็นขาแล้วผ่าตลอดด้านหนึ่งเพื่อทําเป็นตะขาบเป็นต้น.
  4. คุมขัง : (กฎ) ก. คุมตัว ควบคุม ขัง กักขัง หรือจำคุก.
  5. คนต้องขัง : (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง.
  6. ผู้ต้องขัง : (กฎ) น. บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจํา ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด คนต้องขัง และคนฝาก.
  7. หมายขัง : (กฎ) น. หมายอาญาที่ศาลสั่งให้ขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ระหว่าง สอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา.
  8. อินัง, อินังขังขอบ : ก. เอาใจใส่, เอาใจช่วย, ดูแล, เหลียวแล, นําพา, (มักใช้ในความ ปฏิเสธ) เช่น ไม่อินัง ไม่อินังขังขอบ หมายความว่า ไม่เอาใจใส่.
  9. ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
  10. ไม่อินังขังขอบ : ก. ไม่เอาใจใส่, ไม่ดูแล, ไม่นำพา.
  11. หมายอาญา : (กฎ) น. หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สั่งให้เจ้าหน้าที่จับ ขัง จําคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จําเลยหรือนักโทษ หรือให้ทําการค้น รวมทั้งสําเนาหมายเช่นนี้ อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคําบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับ แล้วด้วย.
  12. กรง : [กฺรง] น. สิ่งที่ทําเป็นซี่ ๆ สําหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่ กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).
  13. กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
  14. กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
  15. กรัณฑ-, กรัณฑ์ : [กะรันทะ-, กะรัน] (แบบ) น. ตลับ, หีบ, หม้อ, เช่น รัตนกรัณฑ์ = ตลับเพชร. (สังโยคพิธาน), กรัณฑรัตน. (ยวนพ่าย), กรัณฑขลังขังน้าทิพมุรธา ภิเษกท่าน. (ราชาภิเษก ร. ๗). (ดู กรณฑ์๑).
  16. กล่อน : [กฺล่อน] น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า เกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นน้ำ เรียกว่า กล่อนน้ำ, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง.
  17. กิจจะ : (กลอน) น. กิจ เช่น กอบกิจจะคุ้มขัง. (ชุมนุมตํารากลอน). (ป.).
  18. กุก : ว. เสียงของแข็ง ๆ กระทบกัน. ก. กิริยาที่หนูร้องดังเช่นนั้น เรียกว่า หนูกุก. น. เครื่องดักหนูเป็นหีบมีกระดานหก มีลูกกลิ้ง เมื่อหนูเข้าไปเหยียบกระดานหกลูกกลิ้งจะกลิ้งมาปิดช่อง แล้วหนูจะกระโดดเข้าไปยังอีกที่หนึ่ง และถูกขังอยู่ในนั้น; เสียงส่งท้ายการขันของนกเขาหลวง ซึ่งอาจมีได้ถึง ๓ กุก.
  19. กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
  20. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  21. ไขน้ำ : ก. ปล่อยนํ้าที่ขังอยู่ให้ไหล เช่น ไขนํ้าเข้านา.
  22. ครำ : [คฺรํา] น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครํา, ไขเสนียด ก็เรียก.
  23. คลอหน่วย : ว. เรียกน้ำตาที่ปริ่มอยู่ที่ขอบตาเมื่อร้องไห้ว่า น้ำตาคลอหน่วย, น้ำตาล่อหน่วย หรือ น้ำตาขังหน่วย ก็ว่า.
  24. คอก : น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา. ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
  25. คันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, ลูกคัน หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  26. ค่ายกักกัน : น. สถานที่คุมขังเชลยศึกหรือนักโทษทางการเมือง.
  27. คุก : น. ที่ขังนักโทษ, เรือนจํา.
  28. จราก : [จะหฺราก] (กลอน) ก. ตรากตรำ, ทําให้ลําบาก, เช่น คล้องติดคชคลอคชทังป่า ขับจากขัง แลเข้าจรลุงจรากจอง. (สมุทรโฆษ).
  29. จองจำ : ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น, จําจอง ก็ว่า.
  30. จำ ๒ : ก. ลงโทษด้วยวิธีเอาโซ่ตรวนล่ามไว้ เช่น จําโซ่ จําตรวน, ลงโทษด้วย วิธีขังเช่น จําคุก.
  31. จำคุก : (กฎ) น. โทษทางอาญาสถานหนึ่ง ที่ให้เอาตัวผู้ต้องโทษไปคุมขัง ไว้ในเรือนจำ.
  32. จำจอง : ก. ใส่ตรวนหรือเครื่องพันธนาการขังไว้ในคุกในตะรางเป็นต้น, จองจํา ก็ว่า.
  33. ตรุ ๑ : [ตฺรุ] น. ที่ขังคน, ตะราง, เรือนจํานักโทษ, คุก.
  34. ตะขาบ ๓ : น. เครื่องตีบอกจังหวะ; ไม้ไผ่ที่ผ่าขังปล้องแขวนไว้ตามยอดไม้สําหรับชัก ให้มีเสียงดังเพื่อไล่ค้างคาวเป็นต้น และที่พวกตลกลิเกละครเป็นต้นใช้ตี กันเล่น, จะขาบ ก็เรียก; ธงชนิดหนึ่งทําด้วยแผ่นผ้าเป็นชิ้น ๆ เย็บติดกัน ไปเป็นพืด มีไม้สอดระหว่างชิ้นทําให้มีลักษณะคล้ายตัวตะขาบ ขนาด กว้างยาวตามต้องการ มักแขวนไว้ยอดเสาหงส์ตามหน้าวัดเป็นพุทธบูชา.
  35. ตะราง : น. ที่คุมขังนักโทษ.
  36. ท้องร่อง : น. ทางนํ้าที่ขุดลงไปเป็นลํารางเพื่อขังนํ้าไว้รดต้นไม้เป็นต้น.
  37. ทัณฑสถาน : [ทันทะ-] (กฎ) น. เรือนจําพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับ ประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุม กักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.
  38. นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
  39. นักโทษเด็ดขาด : (กฎ) น. บุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามหมายจําคุกภายหลังคํา พิพากษาถึงที่สุด และหมายความรวมถึงบุคคลซึ่งถูกขังไว้ตามคําสั่งที่ ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษด้วย.
  40. น้ำครำ : น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก.
  41. น้ำตก : น. นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, เรียกนํ้าที่ทําให้ตกลงมา ในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; อาหารอย่างหนึ่งใช้เนื้อสัตว์เช่นเนื้อหมู หรือเนื้อวัว ย่างพอสุกเล็กน้อยหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วปรุงด้วย พริกป่น หอมแดงซอย ข้าวคั่ว น้ำมะนาว น้ำปลา เป็นต้น; ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสดที่ ใส่เลือดวัวสด.
  42. บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
  43. บอก ๑ : น. ปล้องไม้ไผ่มีข้อขังข้างก้นสําหรับใส่นํ้าเป็นต้น, มักใช้ว่า กระบอก.
  44. บ้องกัญชา : น. ปล้องไม้ไผ่ชนิดขังข้อสําหรับสูบกัญชา.
  45. บอน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae คือ ชนิด Colocasia esculenta (L.)Schott var. antiquorum (Schott) Hubb. et Rehder ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทําให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูก เป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [C. bicolor (Ait.) Vent.] บอนเสวก (C. argyrites Lem.). ว. อาการที่ปากหรือมืออยู่ไม่สุข เรียกว่า ปากบอน หรือ มือบอน เช่น ซนมือบุกซุกมือบอน ซนปากบุก ซุกปากบอน.
  46. บึง : น. แหล่งนํ้าขนาดใหญ่ มีนํ้าขังตลอดปี.
  47. ป่ง : น. พื้นดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรังอยู่, ป่าหรือดินที่มีป่ง เรียกว่า ป่าป่ง ดินป่ง, เรียกผีที่มีอยู่ในที่เช่นนั้นว่า ผีป่ง, เรียกลักษณะที่นั่งห้างคอยยิงสัตว์ที่มากินดินป่งว่า นั่งป่ง; (ถิ่น-พายัพ) ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ปง หรือ โป่ง ก็ว่า.
  48. ปง ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. ที่ริมฝั่งน้ำ, ที่ลุ่มน้ำขัง, ป่ง หรือ โป่ง ก็ว่า.
  49. ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
  50. ปลดปล่อย : ก. ปล่อยจากที่คุมขังหรือการผูกมัด, ให้เสรีภาพ.
  51. [1-50] | 51-82

(0.0525 sec)