ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
ขาม ๒ : (กลอน) น. มะขาม.
เกรงขาม : ก. คร้าม, เกรง.
ข่าม : (ถิ่น-พายัพ) ก. อยู่ยงคงกระพัน.
พญาขามป้อม, พญามะขามป้อม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Cephalotaxus griffithii Hook.f. ในวงศ์ Cephalotaxaceae. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Podocarpus imbricatus Blume ในวงศ์ Podocarpaceae.
ขัน ๒ : ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
เขียนเสือให้วัวกลัว : (สํา) ก. ทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เสียขวัญหรือเกรงขาม.
ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
ชรอ่ำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ดุ : ก. ว่ากล่าวหรือทักท้วงด้วยความโกรธหรือไม่พอใจเพราะมีความผิดหรือ ไม่อยู่ในโอวาทเป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า มีอันตรายมาก, มีคนเสีย ชีวิตมาก, เช่น นํ้าปีนี้ดุ ที่ตรงนี้ดุ. ว. มีลักษณะทําให้ดูน่ากลัวหรือน่า เกรงขาม เช่น หน้าดุ ตาดุ; ร้าย, ร้ายกาจ, เหี้ยมโหด, เช่น หมาดุ เสือดุ.
ทะมึน, ทะมื่น : ว. มีลักษณะดํามืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, ตระมื่น ก็ว่า.
ล้วงคอ, ล้วงคองูเห่า : (ปาก) ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอา ทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม.
สง่า : [สะหฺง่า] ว. มีลักษณะผึ่งผายเป็นที่น่ายำเกรงหรือน่านิยมยกย่อง เช่น ผู้นำจะต้องมีบุคลิกลักษณะสง่า, เป็นที่น่าเกรงขาม เช่น เสือโคร่งมี ท่าทางสง่า.
หมาก ๒ : น. ผลไม้ เช่น หมากขาม แต่เสียงมักกร่อนเป็น มะ เช่น มะขาม.
เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
เอาเชิง : ก. สงวนท่าทีหรือชั้นเชิงของตนไว้เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง เกรงขาม.