ขี่ : ก. นั่งเอาขาคร่อม, โดยปริยายหมายถึงนั่งไปในยานพาหนะ.
ขี่ม้าส่งเมือง : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ฝ่ายแพ้ต้องให้ฝ่ายชนะ ขี่หลังไปส่งถึงที่ฝ่ายชนะ.
ขี่ช้างจับตั๊กแตน : (สํา) ก. ลงทุนมากแต่ได้ผลนิดหน่อย.
ขี่ม้าตีคลี : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
ขี่ม้าเลียบค่าย : น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่ง.
พยชะ : [พะยดชะ] ก. ขับ, ขี่; พัด. (ส. วฺยช).
ได้ทีขี่แพะไล่ : (สํา) ก. ซํ้าเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพลํ้าลง.
กี่ ๒ : ว. คําประกอบหน้าคําอื่น หมายความว่า เท่าไร เช่น กี่วัน กี่บาท, ใช้ตามหลังคําว่า ไม่ เป็น ไม่กี่ หมายความว่า ไม่มาก ไม่หลาย เช่น ไม่กี่วัน ไม่กี่บาท. (โบ ว่า ขี หรือ ขี่).
จราจร : [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
ชำนิ ๑ : ก. ขี่ เช่น ชํานิโคคําแหงแรง; พาหนะ เช่น ควรชํานิ พระองค์. (สมุทรโฆษ).
ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
สัญญาณจราจร : (กฎ) น. สัญญาณใด ๆ ไม่ว่าจะแสดงด้วยธง ไฟ ไฟฟ้า มือ แขน เสียงนกหวีด หรือด้วยวิธีอื่นใดสำหรับให้ผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์ปฏิบัติตามสัญญาณนั้น.
กระชั้น : ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้น เข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยม ใช้เข้าคู่กับคํา กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น.
กระพังเหิร : น. ชื่อการฟันด้วยขอช้างอย่างหนึ่ง คือฟันให้หยุดอย่างชะงัก. (ตําราขี่ช้าง).
กริว ๑ :
[กฺริว] น. เต่า เช่น เขียนกริวขึ้นขี่ที่ต้นคอ. (ขุนช้างขุนแผน), จริว หรือ ตริว ก็ว่า. (ดู ตะพาบ, ตะพาบน้ำ).
กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
กำราก, กำหราก : น. ช้างตกมัน เช่น หยาบคายฉายฉัดถีบแทง กํารากร้ายแรง แลเหลือกำลังควาญหมอ. (ดุษฎีสังเวย), กลจะขี่ช้างกําหรากเหลือลาม. (ตําราขี่ช้าง).
เกไล : (โบ) น. ลักษณะนุ่งผ้าแบบหนึ่งสําหรับขี่ช้างเช่นช้างน้ำมัน. (ตําราขี่ช้าง).
เกี้ยวเกไล : น. วิธีนุ่งผ้าชนิดหนึ่งสําหรับขี่ช้าง.
โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
คชกรรม : น. กิจการในทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง เช่น การขี่ การฟันขอ, ประเภทตำราว่าด้วยทางปฏิบัติอันเกี่ยวกับช้าง.
คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
ควบม้า : ก. อาการที่คนขี่หลังม้ากระตุ้นให้ม้าวิ่งไปอย่างเร็ว.
ควาญ : [คฺวาน] น. ผู้เลี้ยงและขี่ขับช้าง, คนบังคับช้าง, ใช้กับสัตว์อื่นก็มี เช่น ควาญแรด. (สมุทรโฆษ), ควาญแกะ ควาญม้า. (ปรัดเล).
จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
จีบ ๑ : ก. พับกลับไปกลับมาหรือทําให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียก ผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนม อย่างหนึ่งทําด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือ ลูกชนักสําหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียก พลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.
ชนช้าง : ก. ขี่ช้างรบกัน.
ชนัก : [ชะ] น. เครื่องแทงสัตว์ชนิดหนึ่ง ทําด้วยเหล็กปลายเป็นรูป ลูกศร มีด้ามยาวมีเชือกชักเมื่อเวลาพุ่งไปถูกสัตว์; เครื่องผูกคอ ช้างทําด้วยเชือกเป็นปมหรือห่วงห้อยพาดลงมาเพื่อให้คนที่ ขี่คอใช้หัวแม่เท้าคีบกันตก. (รูปภาพ ชนัก)
ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
ชักยันต์ : ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
ช้างชำนิ : น. ช้างสําหรับขี่, ช้างที่นั่ง.
ช้างต่อ : น. ช้างที่หมอเฒ่าขี่ในการจับช้าง.
ด่อน ๓ : น. เครื่องมือสําหรับแทงช้างเมื่อเวลาขี่ รูปเป็นเดือยแหลม ทําด้วยเหล็ก.
ดุรงคี : น. ม้าตัวเมีย; คนขี่ม้า, ทหารม้า. (ป. ตุรงฺคี; ส. ตุรงฺคินฺ).
ได้ที : ก. เป็นต่อ, ได้โอกาส, ได้ช่อง, ได้เปรียบ, เช่น ได้ทีขี่แพะไล่.
นาคี ๒ : (กลอน) น. ช้าง เช่น ขี่ยาตรานาคี. (ตะเลงพ่าย).
บังเหียน : น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
โปโล ๑ : น. การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง โดยขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้.
พาหนะ : [หะนะ] น. เครื่องนําไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สําหรับขี่บรรทุกหรือ ลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยาน ต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).
มโนมัย : ว. สําเร็จด้วยใจ, ใช้ประกอบกับ ม้า หมายความว่า ม้าที่ใช้ ขับขี่รวดเร็วได้ดังใจ. (กลอน) น. ม้า เช่น ครั้นถึงจึงสั่งข้าไท เร่งผูก มโนมัยที่เคยขี่. (บทละครสังข์ทอง). (ป., ส.).
ม้าใช้ : น. คนขี่ม้าสําหรับรับใช้, คนเร็วสําหรับส่งข่าวสาร, คนรับใช้ติดต่อ.
ม้าเร็ว : น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
วาง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยา ต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจําที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.
วิ่งควาย : ก. ให้ควายวิ่งแข่งกันโดยมีคนขี่บนหลัง.
หมอน้ำมัน : น. ผู้ชํานาญในการขี่ช้างตกมัน.
อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).