Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึง , then ขง, ขึง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึง, 41 found, display 1-41
  1. ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
  2. ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
  3. หน้าขึงตาขึง : น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก.
  4. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  5. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  6. กรานกฐิน : [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึง ที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้า ให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทํา พินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่ากรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).
  7. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  8. กาง ๑ : ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.
  9. ข้าวเกรียบปากหม้อ : น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น. ข้าวเกรียบอ่อน น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสม กับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
  10. จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
  11. จะกรัจจะกราจ : (กลอน) ว. เสียงขบฟันกรอด ๆ, ทําอาการเกรี้ยวกราด, เช่น ขบฟันขึงเขียว จะกรัจจะกราจคึกคาม. (สุธนู), เขียนเป็น จะกรัดจะกราด ก็มี.
  12. ชะนุง : น. ไม้คู่สําหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวี เพื่อแยกเส้นด้าย.
  13. ดาด ๑ : ก. เอาวัตถุเช่นผ้าเป็นต้นขึงหรือปิดบังให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา, ถ้าปูตอนล่างเช่นพื้นเรือนเป็นต้น เรียกว่า ลาด เช่น ลาดเสื่อ ลาดพรม. ว. ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด.
  14. ตะโพน : น. กลองสองหน้า รูปหัวสอบท้ายสอบกลางป่อง ขึงด้วยหนังทั้ง ๒ หน้า มีขารอง ตีด้วย ฝ่ามือ.
  15. โทน ๑ : น. ชื่อกลองประเภทหนึ่งสําหรับตีขัดจังหวะ ขึงหนังด้านเดียว คล้ายกลองยาว แต่เล็กและสั้นกว่า มี ๒ ชนิด คือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. ว. มีจําเพาะหนึ่งเท่านั้น, ใช้แก่สิ่งที่ตามปรกติควรจะมีมากกว่าหนึ่ง แต่มีเพียงหนึ่งเท่านั้น เรียกว่า โทน เช่น ลูกโทน มะพร้าวโทน.
  16. นาก ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลําตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมี แผ่นพังผืดขึงอยู่คล้ายตีนเป็ดหางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศ ไทย มี ๔ ชนิด ที่มีจํานวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata) และนากเล็กเล็บสั้น (Aonyx cinerea).
  17. ใบ : น. ส่วนของพืชที่ติดอยู่กับกิ่งหรือลำต้น โดยมากมีลักษณะเป็น แผ่นแบน ๆ รูปร่างต่าง ๆ กัน มีก้านใบหรือไม่มีก็ได้ มักมีสีเขียว; สิ่งที่ทําด้วยผืนผ้าเป็นต้น สําหรับขึงที่เสากระโดงเพื่อรับลม; แผ่นเอกสารหรือหนังสือสําคัญต่าง ๆ เช่น ใบขับขี่ ใบทะเบียน; เรียกของที่เป็นแผ่น ๆ เช่น ใบหนังสือ ใบมีด ใบหู ทองใบ; ลักษณนามสําหรับใช้เรียกผลไม้ ภาชนะ เครื่องใช้บางอย่าง หรือแผ่นเอกสาร เช่น มะม่วง ๒ ใบ ถ้วย ๓ ใบ ตู้ ๔ ใบ ใบขับขี่ ๕ ใบ.
  18. ปิงปอง : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ผู้เล่นใช้ไม้แบนตีลูกกลม ๆ ซึ่งทําด้วย เซลลูลอยด์ข้ามตาข่ายที่ขึงอยู่บนโต๊ะสี่เหลี่ยมโต้กันไปมา ทํานองเทนนิส, เรียกลูกกลม ๆ ซึ่งทําด้วยเซลลูลอยด์ที่ใช้ เล่นปิงปองว่า ลูกปิงปอง. (อ. pingpong).
  19. เปิงมาง : น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง มีหนังขึง ๒ หน้า ตรงกลางป่องเล็กน้อย ยาวประมาณ ๕๔ เซนติเมตร ใช้บรรเลงร่วมกับตะโพนในวง ปี่พาทย์ก็ได้ ใช้ตีนำกลองชนะในกระบวนเสด็จพยุหยาตรา หรือ ตีประโคมประจำพระบรมศพเป็นต้น, คนตีเปิงมางนำกลองชนะ เรียกว่า จ่ากลอง คู่กับคนเป่าปี่ซึ่งเรียกว่า จ่าปี่.
  20. พาน ๕ : ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
  21. เพลา ๒ : [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
  22. ไม้สะดึง : น. กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าในการเย็บปักถักร้อย.
  23. ราว ๑ : น. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสําหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึง สำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้าหรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน,ไม้หรือโลหะเป็นต้น สำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.
  24. รำมะนา : น. กลองขึงหนังหน้าเดียว รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงลําตัด มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้กับวงมโหรี.
  25. เรือใบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่งที่แล่นด้วยกำลังลมโดยมีเสากระโดงสำหรับ ขึงผ้าใบเพื่อรับลม ถ้าใช้เดินทะเลเพื่อรับส่งผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า จะเป็นเรือขนาดใหญ่ ถ้าใช้เพื่อการกีฬาจะเป็นเรือขนาดเล็กซึ่งมีอยู่หลาย ประเภท เช่น ประเภทโอเค ประเภทซูเปอร์มด ประเภทเอนเตอร์ไพรซ์.
  26. แร็กเกต : น. ไม้สําหรับตีเทนนิส แบดมินตัน หรือ สควอช มีปลายข้างหนึ่งเป็น รูปวงรีหรือวงกลม ซึ่งขึงเอ็นหรือไนลอนเป็นตาข่าย มีด้าม. (อ. racket).
  27. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  28. ลอบ ๑ : น. ชื่อเครื่องสานสําหรับดักปลาดักกุ้ง มีหลายชนิด เช่น ลอบนอน ลอบตั้ง ลอบประทุน; (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ตาข่ายที่ขึงดักจับนก.
  29. เลียว ๒ : น. ไม้ที่ขึงใบเรือทั้งล่างและบน เรียกว่า เลียวล่าง เลียวบน, สายเชือก ที่ผูกปลายเลียวสําหรับรั้งใบเรือให้กินลม เรียกว่า สายเลียว, เขียนว่า เรียว ก็มี.
  30. เลื่อยชักไม้ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ มีขนาดใหญ่ ใบเลื่อยมี ลักษณะเป็นปื้นหรือแถบยาวติดกับปลายขาคันเลื่อยทั้งคู่ มีไม้ยาว ที่เรียกว่า อกเลื่อย ยันอยู่ตรงกลาง ปลายขาคันเลื่อยด้านตรงข้าม มีเชือกคล้องรั้งและบิดเพื่อขึงใบเลื่อยให้ตึง ใช้คนชักเลื่อยคู่กัน ๒ คน.
  31. สะดึง : น. กรอบไม้สําหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร, กรอบไม้หรือไม้แบบ สําหรับขึงผ้าในเวลาปักดิ้นหรือไหมเป็นต้น, ขอบไม้สําหรับขึงเปล มี ๔ ด้าน.
  32. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  33. หน้าทับ : น. เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง จำพวกตะโพนหรือกลองแขก ซึ่งมีบัญญัติเป็นแบบแผนสำหรับตีประจำทำนองเพลงต่าง ๆ ใช้บอก สัดส่วนและประโยคของเพลงนั้น ๆ เช่น หน้าทับปรบไก่.
  34. อู้ ๑ : ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สาย ชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนัง แพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือ งา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.
  35. แอว : (ถิ่นพายัพ) น. ชื่อกลองยาวขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ทําด้วยลําท่อนไม้ ขุดไส้ในออกให้กลวงแล้วขึงด้วยหนังสัตว์ทางด้านปากกลองเพียง ด้านเดียว จากด้านปากกลองมีลักษณะสอบเข้าคล้ายเอว ตอนปลาย บานผายออกคล้ายดอกลำโพง. (พายัพ แอว ว่า เอว).
  36. ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
  37. เข่ง : น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
  38. แข่ง : ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า.
  39. โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
  40. โข่ง ๒ : (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
  41. ชิง ๑ : ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.
  42. [1-41]

(0.0744 sec)