Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้นชื่อ, ชื่อ, ขึ้น , then ขน, ขนชอ, ขึ้น, ขึ้นชื่อ, ชอ, ชื่อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ขึ้นชื่อ, 5492 found, display 1-50
  1. ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
  2. ชื่อ : น. คําที่ตั้งขึ้นสําหรับเรียกคน สัตว์ สถานที่ และสิ่งของ โดยทั่ว ๆ ไปหรือโดยเฉพาะเจาะจง.
  3. ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
  4. ได้ชื่อ : ก. ขึ้นชื่อ, มีชื่อเสียง.
  5. บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
  6. ขึ้น : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  7. ขึ้น : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
  8. ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
  9. โกน ๒ : ก. ขูดผมหรือขนด้วยคมมีด. น. ชื่อวันที่พระสงฆ์ในเมืองไทยปลงผม ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่า หรือ แรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็เป็น แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน, คู่กับ วันพระ; (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระวันหนึ่งได้แก่วันขึ้น ๗ ค่า ขึ้น ๑๔ ค่า แรม ๗ ค่า และแรม ๑๔ ค่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ ค่า เรียกว่า วันโกน.
  10. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  11. เทพชุมนุม : [เทบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง. (จารึกวัดโพธิ์); ชื่อ ภาพเขียนรูปเทวดานั่งประนมมือเรียงกันเป็นแถวตั้งแต่ ๕ ตน ขึ้นไปตามฝาผนังในพระอุโบสถหรือหอพระ จะมีหน้าเดียว หรือ ๔ หน้าอย่างหน้าพรหมก็ได้.
  12. ลีลา : น. ท่าทาง, ท่าทางอันงาม, การเยื้องกราย, เช่น พุทธลีลา; ชื่อ พระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาท ขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้นอยู่ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้าย ยกเสมอพระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน ที่สร้างเป็นท่ายกพระหัตถ์ขวาก็มี; ท่วงทำนอง เช่น ลีลาการพูด ลีลาการเขียน; การเลือกสรรฉันท์หรือแบบประพันธ์ให้เหมาะ แก่ข้อความของเรื่อง เช่น ลีลาการประพันธ์. (ป., ส. ลีลา).
  13. อถรรพเวท, อาถรรพเวท : [อะถับพะเวด, อะถันพะเวด, อาถับพะเวด, อาถันพะเวด] น. ชื่อ คัมภีร์ที่ ๔ ของพระเวท ส่วนใหญ่ประพันธ์ขึ้นภายหลัง แต่มีบาง บทที่เก่ามากซึ่งนำมาจากฤคเวทก็มี. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  14. โอ้ ๑ : (กลอน) อ. คําในคําประพันธ์ ใช้ในความรําพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคย เลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่า เสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.
  15. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  16. ขี้เกลื้อน : น. ชื่อโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur ขึ้น เป็นดวงขาว ๆ อาจมีอาการคัน, เกลื้อน ก็ว่า.
  17. โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
  18. เด้าลม : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Motacillidae ตัวเรียวเล็ก หางยาว มักยกหาง ขึ้น ๆ ลง ๆ พร้อมกับโคลงหัวไปมาเวลาเดิน กินแมลง มีหลายชนิด เช่น เด้าลมหลังเทา (Motacilla cinerea) เด้าลมเหลือง (M. flava) เด้าลมดง (Dendronanthus indicus), กระเด้าลม ก็เรียก.
  19. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  20. พิมพา : น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ ฉลามเสือก็เรียก.
  21. วันโกน : น. วันที่พระปลงผม คือ วันขึ้นและวันแรม ๑๔ คํ่า หรือวันแรม ๑๓ คํ่าของเดือนขาด, (ปาก) ชื่อวันก่อนวันพระ วันหนึ่งเดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ ขึ้น ๗ คํ่า ขึ้น ๑๔ คํ่า แรม ๗ คํ่าและ แรม ๑๔ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๓ คํ่า.
  22. แห้ว : [แห้วฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Cyperaceae ขึ้น ตามที่ชื้นแฉะ หัวกินได้ เช่น แห้วจีน [Eleocharis tuberosa (Roxb.) Schult.], แห้วกระดาน (Scirpus grossus L.f. var. kysoor C.B. Clarke), แห้วไทย (Cyperus esculentus L.).
  23. ชื่อเสียง : น. เกียรติยศ, ชื่อ ก็ว่า เช่น เสียชื่อ มีชื่อ.
  24. ขึ้นต้นไม้สุดยอด : (สํา) ก. ขึ้นถึงตําแหน่งสูงสุดแล้ว.
  25. ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
  26. ขึ้นพลับพลา : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  27. ขึ้นไม้ขึ้นมือ : ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
  28. ขึ้นร้าน : น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมด วางบนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
  29. ขึ้นสนิม : ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
  30. ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
  31. ขึ้นหม้อ : น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่า ข้าวขึ้นหม้อ. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็ว มากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
  32. ขึ้นหิ้ง : (ปาก) ก. เก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์; ขึ้นคาน.
  33. ชื่อตัว : น. ชื่อที่ตั้งให้แก่เด็กตั้งแต่เกิด, ชื่อที่ปรากฏใน ทะเบียนสํามะโนครัว, ชื่อจริง; (กฎ) ชื่อประจําบุคคล.
  34. ชื่อย่อ : น. ชื่อที่ย่อมาจากชื่อเต็ม.
  35. ชื่อรอง : (กฎ) น. ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว.
  36. ชื่อเล่น : น. ชื่อที่ตั้งตั้งแต่เด็ก เป็นที่รู้กันในหมู่ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด.
  37. ชื่อว่า : สัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงาม ดังเรือนท้าว. (ม. คําหลวง ชูชก).
  38. ชื่อสกุล : น. ชื่อประจําวงศ์สกุลซึ่งสืบเนื่องจากบิดาถึงบุตร หรือซึ่งได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นทางการแล้ว, นามสกุล; (กฎ) ชื่อประจําวงศ์สกุล.
  39. ขึ้นเขียง : (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
  40. ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
  41. ขึ้นคาน : ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยาย หมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
  42. ขึ้นซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
  43. ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
  44. ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
  45. ขึ้นปาก : ก. เจนปาก, คล่องปาก.
  46. ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
  47. ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
  48. ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
  49. ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
  50. ขึ้นเหนือล่องใต้ : ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจํา.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5492

(0.2141 sec)