วัตร, วัตร : [วัด, วัดตฺระ] น. กิจพึงกระทํา เช่น ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น, หน้าที่ เช่น ข้อวัตรปฏิบัติ, ธรรมเนียม เช่น ศีลาจารวัตร; ความประพฤติ เช่น พระราชจริยวัตร, การปฏิบัติ เช่น ธุดงควัตรอุปัชฌายวัตร, การจำศีล. (ป. วตฺต; ส. วฺฤตฺต).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
ขึ้นต้นไม้สุดยอด : (สํา) ก. ขึ้นถึงตําแหน่งสูงสุดแล้ว.
ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
ขึ้นไม้ขึ้นมือ : ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
ขึ้นร้าน : น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมด วางบนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
ขึ้นสนิม : ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
ขึ้นหม้อ : น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่า ข้าวขึ้นหม้อ. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็ว มากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
ขึ้นหิ้ง : (ปาก) ก. เก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์; ขึ้นคาน.
ขึ้นเขียง : (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
ขึ้นคาน : ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยาย หมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
ขึ้นซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
ขึ้นปาก : ก. เจนปาก, คล่องปาก.
ขึ้นพลับพลา : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
ขึ้นเหนือล่องใต้ : ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจํา.
วัตรปฏิบัติ : [วัดตฺระ] น. การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล.
ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
ข้างขึ้น : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่มีพระจันทร์สว่าง คือ ตั้งแต่ ขึ้นคํ่าหนึ่งไปถึงกลางเดือน.
ค่อยดีขึ้น : ว. เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย.
คำขึ้นต้น : น. คำใช้เขียนขึ้นต้นจดหมายถึงผู้รับตามฐานะของผู้รับ แต่ละคน เช่น นมัสการ ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงพระภิกษุ เรียน ใช้เป็นคำขึ้นต้นจดหมายถึงบุคคลธรรมดา; คำใช้ขึ้นต้นสำหรับ ร้อยกรองบางประเภท เช่น บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น สักวา.
ท้องขึ้น : ว. อาการที่ท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น; เรียกปลาจวนจะเน่าว่า ปลาท้องขึ้น.
ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
น้ำขึ้น : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับทะเล หรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น ที่มีระดับนํ้าสูงขึ้น ในวันหนึ่ง ๆ ตามปรกตินํ้าจะขึ้น ๒ ครั้ง และนํ้าขึ้นครั้งแรกจะมีระดับสูงกว่าขึ้น ครั้งที่ ๒.
บอกวัตร : (โบ) ก. บอกข้อปฏิบัติที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เมื่อทําวัตร เย็นเสร็จแล้ว.
ฟังขึ้น : ว. พอจะยึดถือได้ (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เหตุผลฟังไม่ขึ้น.
มือขึ้น : ว. เจริญก้าวหน้าทางธุรกิจการค้า เช่น เขากำลังมือขึ้นใน ทางการค้า; มีโชคดีในการพนัน เช่น เขากำลังมือขึ้นในการเล่นไพ่.
ยอขึ้น : ก. ชอบให้ยกย่องแล้วจึงจะตั้งใจทำ เช่น เด็กคนนี้ยอขึ้น.
ลมแดกขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องดันขึ้นมา.
ลมตีขึ้น : ก. อาการที่ลมในท้องตีขึ้นมา.
เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
หัวน้ำขึ้น : น. นํ้าที่เริ่มไหลขึ้น.
เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
อืด : ว. พอง, ขึ้น, เช่น ท้องอืด; เฉื่อยชา, ช้า.
ขมิ้นขึ้น :
ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น๑.
ขมิ้นหัวขึ้น :
ดู ขมิ้นอ้อย ที่ ขมิ้น๑.
ค่าขึ้นศาล : (กฎ) น. ค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นคําฟ้อง.
คางคกขึ้นวอ : (สํา) น. คนที่มีฐานะตํ่าต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดง กิริยาอวดดีลืมตัว.
จริยวัตร, จริยาวัตร : น. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.