อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.
สังกัด : ก. ขึ้นอยู่, รวมอยู่, เช่น กรมวิชาการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ. น. ส่วนราชการที่มีหน่วยงานย่อย ๆ ขึ้นอยู่ เช่น กรมสามัญศึกษาอยู่ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ, โดยปริยายหมายถึงที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เขาเป็นคนไม่มีสังกัด คือ เป็นคนที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หมายถึง คนที่เร่ร่อนพเนจร. (ข. สงฺกาต่).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
อยู่ ๆ, อยู่ดี ๆ : ว. อาการที่พูดหรือแสดงหรือได้รับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่มีสาเหตุ เช่น อยู่ ๆ เขาก็มาด่าฉัน อยู่ดี ๆ เธอก็เป็นลมฟุบไป อยู่ดี ๆ ก็มีคนนำเงินมาให้.
ยืน : ก. ตั้งอยู่ เช่น เสายืนเรียงเป็นแถว, เอาเท้าเหยียบพื้นแล้วตั้งตัวให้ตรง ขึ้นไป. ว. นาน, ยาว เช่น อายุยืน, ยืด เช่น คบกันยืนนาน; คงอยู่, อยู่ กับที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น ยืนคํา; คงเดิม เช่น พิพากษายืน; ยาวเป็น แนวตรงเข้าไป เช่น ที่ดินยืนเข้าไป ๓ เส้น.
ขึ้น ๒ : ว. ใช้ประกอบคําอื่นเพื่อเน้นความให้เด่นหรือให้ชัดแจ้งกว่าเดิม เช่น เกิดขึ้น เป็นขึ้น สวยขึ้น สูงขึ้น; เป็นคําประกอบท้าย หมายความว่า มากกว่าเดิม เช่น ดีขึ้น เร็วขึ้น อ้วนขึ้น; เป็นไปตามคําที่ยอหรือยุเป็นต้น เช่น ยกขึ้น ยุขึ้น หนุนขึ้น; ดูสวยกว่าตัวจริง เช่น แต่งตัวขึ้น ถ่ายรูปขึ้น; มีเหตุผลสมควร เช่น ฟังขึ้น, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เช่น เถียงไม่ขึ้น หมายความว่า เถียงไม่ชนะ.
ขึ้นไม้ขึ้นมือ : ก. ชี้หน้าในเวลาโกรธ เช่น มาขึ้นไม้ขึ้นมืออยู่หรบหรบ. (ขุนช้างขุนแผน).
วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
ค่ำ : น. เรียกวันตามจันทรคติ เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า, เวลามืดตอนต้น ของกลางคืน. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่เย็นจนถึงเวลามืดตอนต้น ของกลางคืน เช่น รอบค่ำ. ก. สิ้นแสงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินแล้ว เช่น จวนจะค่ำแล้ว.
พิมพา : น. ชื่อปลาฉลามขนาดใหญ่ชนิด Galeocerdo cuvieri ในวงศ์ Carcharinidae มีฟันใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยม ขอบจักเป็นฟันเลื่อย พื้นลําตัวและครีบสีนํ้าตาลหม่น มีลายพาดขวางตลอดข้างหลังและ หาง ซึ่งอาจแตกเป็นจุดเห็นกระจายอยู่ทั่วไปหรือจางหมดไปเมื่อโต ขึ้น ดุร้ายมาก ขนาดยาวได้ถึง ๗ เมตร, ตะเพียนทอง เสือทะเล หรือ ฉลามเสือก็เรียก.
ขึ้นเขียง : (ปาก)ก. ตกอยู่ในภาวะที่แทบไม่มีทางจะต่อสู้หรือเอาชนะ หรือหลีกเลี่ยงได้เลย.
ขึ้นชื่อ : ก. ลือชื่อ, เอ่ยถึงบ่อย ๆ; ยกขึ้นมาอ้าง เช่น อย่ามาขึ้นชื่อฉัน.
ขึ้นชื่อว่า : ใช้เป็นคําประกอบหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้น ข้อความ เช่น ขึ้นชื่อว่าคนพาลละก็ต้องหลีกให้ห่างไกล.
ขึ้นซัง : ก. เข้าอยู่ในที่ซึ่งไม่มีใครจะทําอันตรายได้แล้ว, นั่งซัง ก็ว่า.
ขึ้นต้นไม้สุดยอด : (สํา) ก. ขึ้นถึงตําแหน่งสูงสุดแล้ว.
ขึ้นนวล : ก. เกิดละอองสีขาวบนผิวผลไม้หรือใบไม้บางชนิดแสดงว่า แก่จัด เช่น ใบตองขึ้นนวล มะม่วงขึ้นนวล ฟักขึ้นนวล.
ขึ้นร้าน : น. วิธีนับคะแนนในการเล่นหมากเก็บ โดยเอาตัวหมากทั้งหมด วางบนหลังมือกระดกมือให้หมากลอยขึ้นแล้วหงายมือรับอย่างรวดเร็ว.
ขึ้นสนิม : ก. ฝืด, ไม่คล่อง, เช่น ความรู้ขึ้นสนิมหมดแล้ว.
ขึ้นสมอง : ก. นิยมมาก เช่น เขาชอบกีฬาจนขึ้นสมอง.
ขึ้นหม้อ : น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่า ข้าวขึ้นหม้อ. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็ว มากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
ขึ้นหิ้ง : (ปาก) ก. เก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์; ขึ้นคาน.
อยู่กรรม, อยู่ปริวาส : ก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่ กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้า ปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
อยู่ไปมา : ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
อยู่มือ : ก. เกรงกลัวไม่กล้าฝ่าฝืน, อยู่ในบังคับไม่กล้าฝ่าฝืน.
อยู่ไม่สุข : ก. อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้.
อยู่โยง : ก. อยู่ประจำที่แต่ผู้เดียวหรือกลุ่มเดียว.
อยู่แล้ว : ว. แย่แล้ว เช่น เอะกูอยู่แล้วนะเสนี เห็นไพรีจะมากมาย หลายหมื่น. (สังข์ทอง).
อยู่เวร : ก. ผลัดกันอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดไว้.
อยู่หมัด : ก. เกรงกลัวฝีปากหรือฝีมือ, ยอมอยู่ในอํานาจ.
อยู่อัตรา : (โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติ อยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.
อยู่อาสา : (โบ) น. การที่ผู้ชายไปอยู่บ้านผู้หญิงที่จะแต่งงานด้วย ทำการงานรับใช้ให้แรงงาน เพื่อแสดงตนว่าเป็นคนขยันขันแข็ง และประพฤติตนดีสมควรที่จะเข้าไปเป็นเขยของบ้านนั้น เช่น บ่สู่อยู่อาสา หนึ่งน้อย. (กาพย์ห่อโคลงพระศรีมโหสถ).
ขึ้นครู : ก. ทําพิธีคํานับครูที่ประสาทวิชาให้เมื่อแรกเรียน.
ขึ้นคาน : ก. มีฝีมือในทางใดทางหนึ่งจนไม่มีคู่แข่งขัน; (ปาก) โดยปริยาย หมายถึงหญิงโสดที่มีอายุแต่ยังไม่มีสามี.
ขึ้นโต๊ะ : ว. เรียกลักษณะของสิ่งที่ดีมีราคา, (ปาก) เรียกลักษณะของสิ่ง ที่ไม่มีราคาแต่ยกย่องให้เป็นสิ่งที่มีราคา.
ขึ้นทะเบียนทหาร : ก. แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่อมีอายุ ย่างเข้า ๑๘ ปี, ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกิน.
ขึ้นปาก : ก. เจนปาก, คล่องปาก.
ขึ้นพลับพลา : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ขึ้นระวาง : ก. เข้าทําเนียบ, เข้าประจําการ, (ใช้แก่พาหนะของหลวง คือ ม้า ช้าง รถ และเรือ).
ขึ้นสาย : ก. เทียบเสียงเครื่องดนตรีที่มีสาย.
ขึ้นเสียง : ก. ออกเสียงดังด้วยความโกรธ; เทียบเสียงเครื่องดนตรี.
ขึ้นหน้าขึ้นตา : ก. มีชื่อเสียง, เด่น.
ขึ้นเหนือล่องใต้ : ก. เดินทางไกลไปยังที่ต่าง ๆ โดยมักไปเป็นประจํา.
อยู่กิน : ก. ดํารงชีวิตฉันผัวเมีย.
อยู่งาน : (ราชา) ก. ปรนนิบัติรับใช้.
อยู่ตัว : ก. ถึงระดับที่คงตัว, คงที่, ไม่เปลี่ยนแปลง.
อยู่ท้อง : ว. อิ่มได้นาน.
อยู่ยงคงกระพัน : ว. ทนทานต่อศัสตราวุธ.
อยู่ยาม : ก. เฝ้าระวังเหตุการณ์.
กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.