พรมแดน : [พฺรม] น. ขีดขั้นเขตแดน, แดนต่อแดน. (ข. พฺรํแฎน).
ข้าม ๒, ข้าม ๆ : ว. เลยลําดับ, ไม่เป็นไปตามลําดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ.
ข้าม ๑ : ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, ผ่านจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง เช่น ข้ามฟาก ข้ามถนน, ล่วงพ้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามมหาสมุทร, ล่วงพ้น ช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามวันข้ามคืน, ผ่านเลยลําดับ เช่น ข้ามชั้น อ่านหนังสือข้าม.
ข้ามเรือ : ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.
ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า : (สํา) ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและ ความลําบากต่าง ๆ กว่าจะได้ผลสําเร็จ.
ข้ามสมุทร : น. ชื่อเพลงไทยชนิดหนึ่ง.
ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา : ก. ทําโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด.
ข้ามหัว : ก. ทําโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควร บอกกล่าวหรือควรปรึกษาหารือ.
กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
ทางข้าม : น. ทางม้าลาย; (กฎ) พื้นที่ที่ทําไว้สําหรับให้คนเดินเท้าข้าม โดยทําเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวหรือตอกหมุดไว้บนทาง และ หมายความรวมถึงพื้นที่ที่ทําให้คนเดินเท้าข้าม ไม่ว่าในระดับใต้พื้นดิน หรือเหนือพื้นดิน.
วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว : น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขัน ต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่ กําหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ.
ตรงกันข้าม : ว. คนละฝ่ายคนละพวก; มีความหมายต่างกันอย่างขาวกับดํา ดีกับชั่ว.
ว่าข้ามหัว, ว่าส่งไป : ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า.
ผ่าน : ก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่าน ไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูง เกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลา
ฉลอง ๔ : [ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).
ดาร-, ดาระ : (แบบ) น. เสียง, เสียงดัง, เสียงสูง, เสียงแหลม. ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคนผู้ข้า ได้ดํารวจดารทาน. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป., ส. ตาร).
เห็นช้างเท่าหมู : (สำ) ก. เห็นฝ่ายตรงข้ามซึ่งแม้จะตัวใหญ่กว่าหรือมีอำนาจ มากกว่าไม่น่าเกรงขามในเวลาที่โกรธมากจนลืมตัว.
ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
กระโจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, โจน ก็ว่า.
กระฉับกระเฉง : ว. คล่องแคล่ว, กระปรี้กระเปร่าเหมาะแก่การ, ตรงข้ามกับ เงื่องหงอย, เฉื่อยชา.
กระดูกกบ : น. ชื่อไม้เถาพุ่มรอเลื้อยชนิด Hymenopyramis brachiata Wall. ในวงศ์ Labiatae กิ่งอ่อนสี่เหลี่ยม ใบออกตรงข้ามกัน ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ผลกลมมีกระเปาะหุ้ม, กระพัดแม่ม่าย ก็เรียก.
กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
กระโดงแดง : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลําต้นแดงคล้ำ ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. ๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด (Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้ มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.
กระท่อม ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมน้ำทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก.
กระท่อมขี้หมู : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก; ชนิด M. rotundifolia (Roxb.) Kuntze ใบกลม โคนใบเว้า ขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก, กระทุ่มขี้หมู กระทุ่มหมู หรือ ตุ้มกว้าว ก็เรียก.
กระทุงหมาบ้า : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L.f.) Benth. ex Hook.f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลําต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทํายา, ฮ้วนหมู ก็เรียก.
กระทุ่ม ๑ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลํากิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับ กิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อนหอม เนื้อไม้เหลือง หรือขาว ใช้ทําเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบกตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).
กระพังโหม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Oxystelma secamone (L.) Karst. ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทํายาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก.
กลับ : [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทําตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.
กลับตาลปัตร : [กฺลับตาละปัด] ว. ผิดความคาดหมายอย่าง ตรงกันข้ามแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ.
กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
กะเทย : น. คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการ ตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลําไยกะเทย. (อะหม ว่า เทย).
กะเหรี่ยง : น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตก ของประเทศไทย, โซ่ ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี.
การบูรป่า : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Adenosma indiana (Lour.) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ขอบใบจักถี่ ใบมีกลิ่นคล้ายกลิ่นใบกะเพรา โหระพา แต่อ่อนกว่า ดอกเล็ก สีม่วงออกเป็นช่อเรียวยาวตามง่ามใบและที่ปลายยอด, กระต่ายจาม ข้าวคํา หรือ พริกกระต่าย ก็เรียก.
กำแพงเจ็ดชั้น ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lithosanthes biflora Blume ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาว เนื้อไม้เป็นชั้น ๆ ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้นตามป่าดิบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ดอกสีเขียวอมเหลือง ใช้ทํายาได้, ตะลุ่มนก หรือ น้านอง ก็เรียก. (๓) ดู ขมิ้นเครือ.
กำลังช้างเผือก : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในสกุล Hiptage วงศ์ Malpighiaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ใบเดี่ยว ค่อนข้างกลมมน ขอบหยักตื้น ๆ ออกตรงข้ามกัน ดอกสีขาวอมชมพู ชนิด H. bengalensis Kurz เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง, โนรา ก็เรียก; ชนิด H. candicans Hook.f. เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก, พญาช้างเผือก ก็เรียก.
ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
ขนาน ๒ : [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียก เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสําหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกัน เป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
ข่ม : ก. ใช้กําลังกดลงไม่ให้เผยอขึ้น; สานลายด้วยการใช้เส้นตอกเป็นต้น ที่เป็นเส้นสานขัดทับอยู่ข้างบนเส้นตอกที่เป็นเส้นยืน ตรงข้ามกับคำ ยก คือ ใช้เส้นสานลอดใต้เส้นยืน เช่น ยก ๒ ข่ม ๒; โดยปริยายหมาย ความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่า ด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์; ครอบ.
ข่มขวัญ : ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
ของค้าง : น. ของกินที่เหลือข้ามคืน.
ข้อศอก : น. ส่วนของแขนตรงข้ามกับข้อพับ, ศอก ก็ว่า.
ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
ขีปนาวุธ : [ขีปะ-] น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหาร หรือทําลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนําไปสู่ เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. (อ. ballistic missile).
ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
เขมร ๑ : [ขะเหฺมน] น. ชื่อประเทศและชนชาติที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดต่อกับไทย ลาว และเวียดนาม มีภาษาพูดอยู่ในตระกูล มอญ-เขมร และมีอักษรของตนเองใช้ เรียกว่า อักษรขอม.
เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
แข่งเกมวิบาก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือ ทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่า ลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.