Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้าวกล้อง, กล้อง, ข้าว , then กลอง, กล้อง, ขาว, ข้าว, ข้าวกล้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้าวกล้อง, 1433 found, display 1-50
  1. ข้าวกล้อง : น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้ม เมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
  2. ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
  3. กล้อง : [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
  4. ข้าวซ้อม, ข้าวซ้อมมือ : น. ข้าวที่เอาเปลือกออกโดยใช้วิธีใส่ครกตำ ยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, ปัจจุบันใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน เรียกว่า ข้าวกล้อง.
  5. กล้อง : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
  6. ข้าวเภา : น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์ พฤฒิบาศ คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ, ข้าว กระยาสังแวง ก็เรียก.
  7. ข้าวจี่ ๑ : ดูใน ข้าว.
  8. ข้าวตอก ๑ : ดูใน ข้าว.
  9. ข้าวเปลือก ๑ : ดูใน ข้าว.
  10. ข้าวหางช้าง : น. ข้าวฟ่างหางช้าง. (ดู ข้าวฟ่าง ที่ ข้าว).
  11. ข้าวกลาง : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ออกรวงหลังข้าวเบา คือในช่วงกลางเดือน ตุลาคมถึงปลายเดือนตุลาคม และเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือน พฤศจิกายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ พันธุ์ข้าว กข ๖.
  12. ข้าวหนัก : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลช้ากว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เช่น พันธุ์ข้าวขาวตาแห้ง ๑๗ พันธุ์ข้าวพวงนาก ๑๖.
  13. กล้องตาเรือ : น. กล้องปริทรรศน์.
  14. กล้องตุด : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กล้องไม้ซาง.
  15. กล้องปริทรรศน์ : [ปะริทัด] น. กล้องชนิดหนึ่งที่ใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีที่กำบังขวางกั้น หรือใช้มองดูสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือระดับสายตา ผู้มอง เช่น กล้องเรือดำน้ำ, กล้องตาเรือ ก็เรียก. (อ. periscope).
  16. กล้องสนาม : น. กล้องส่องทางไกล มี ๒ ตา.
  17. กล้องสลัด : น. กล้องที่ใช้ใส่อาวุธซัดไป. (พิชัยสงคราม); กล้องส่องทางไกล มีตาเดียว.
  18. กล้องส่องทางไกล : น. กล้องโทรทรรศน์, กล้องสําหรับส่องดูของไกลให้เห็นใกล้.
  19. ข้าวกระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  20. ข้าวกรู : น. ข้าวชนิดที่ทําเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท.
  21. ข้าวกล้า : น. ต้นข้าวที่เพาะไว้สําหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, กล้า ก็เรียก.
  22. ข้าวเกรียบ : น. ของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่น ตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิด เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง.
  23. ข้าวเกรียบปากหม้อ : น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น. ข้าวเกรียบอ่อน น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสม กับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
  24. ข้าวเก่า : น. ข้าวที่เก็บเกี่ยวไว้ค้างปี.
  25. ข้าวแกง : น. อาหารที่ขายมีข้าวกับแกงเป็นต้น, เรียกร้านอาหาร ประเภทนี้ว่า ร้านข้าวแกง.
  26. ข้าวขวัญ : น. ข้าวบายศรี.
  27. ข้าวแขก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเปียก มีหน้าคล้ายตะโก้ แต่สีเหลือง มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
  28. ข้าวควบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบใส่นํ้าตาลอ้อย มีรสหวานอย่าง ข้าวเกรียบว่าว.
  29. ข้าวแคบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวเกรียบที่มีรสเค็ม ๆ อย่างข้าวเกรียบกุ้ง.
  30. ข้าวงัน : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวหนัก.
  31. ข้าวจี่ ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ.
  32. ข้าวเจ้า : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ดใส ใช้หุงเป็นอาหาร เมื่อหุงแล้วเมล็ดมักร่วนและสวย มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวมันปู. (ไทยใหญ่ เจ้าว่า เปราะ, ร่วน, ไม่เหนียว).
  33. ข้าวแจก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวที่ทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย.
  34. ข้าวแช่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่อง กับข้าวต่าง ๆ.
  35. ข้าวแดกงา : น. ข้าวเหนียวนึ่งโขลกปนงา.
  36. ข้าวแดง, ข้าวเมล็ดแดง : น. เมล็ดข้าวที่มีปลอกรำสีแดงหุ้มอยู่ร้อยละ ๒๕ ของเนื้อที่เมล็ดข้าวหรือมากกว่า.
  37. ข้าวตก : น. ข้าวที่หลงเหลืออยู่ในท้องนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว.
  38. ข้าวตอก ๑ : น. ข้าวเปลือกข้าวเจ้าที่เอามาคั่วให้แตกบานเป็นดอก.
  39. ข้าวตอกตั้ง : น. ชื่อของหวานทําด้วยข้าวตอกคลุกนํ้าตาลและมะพร้าว ทําเป็นแว่น ๆ เกลือกแป้ง.
  40. ข้าวตอกแตก : (ถิ่น-อีสาน) น. ข้าวตอก; โดยปริยายหมายถึงเสียงดัง อย่างเสียงแตกของข้าวตอกที่ดังรัว เช่น เสียงพิมพ์ดีดดังอย่างข้าวตอกแตก.
  41. ข้าวต้อง : น. ต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำ.
  42. ข้าวตัง : น. ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ.
  43. ข้าวตาก : น. ข้าวสุกที่ตากแห้ง.
  44. ข้าวแตก : (ถิ่น-พายัพ) น. ข้าวตอก.
  45. ข้าวทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย นํ้านม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวนมักทําในพิธี สารท, ข้าวกระยาทิพย์ ก็เรียก.
  46. ข้าวนาปรัง : น. ข้าวที่ปลูกในฤดูแล้งนอกฤดูทำนา.
  47. ข้าวนึ่ง : น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบ ด้วยความร้อนแล้ว; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ข้าวเหนียวนึ่ง.
  48. ข้าวบาตร : น. ข้าวสารเก่าหุงในน้ำเดือดเพื่อให้สวยเป็นตัวสำหรับ ตักบาตร, เรียกขันเชิงสําหรับใส่ข้าวตักบาตรว่า ขันข้าวบาตร.
  49. ข้าวบิณฑ์ : น. ข้าวตอกปั้นเป็นรูปทรงคล้ายดอกบัวตูม.
  50. ข้าวบุหรี่ : น. ข้าวหุงอย่างวิธีของแขกมีเครื่องปรุงและเนื้ออยู่ในตัว. (กะบุลี แปลว่า ข้าวปรุงอย่างแบบชาวกรุงกาบุล).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1433

(0.2346 sec)