ข้าศึก : น. ศัตรูของบ้านเมือง, คู่สงคราม, โดยปริยายหมายความว่า ผู้ขัดขวางหรือทําลาย.
ปฏิปักษ์ : น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู. ว. ที่ตรงกันข้าม เช่น ฝ่ายปฏิปักษ์. (ส. ปรฺติปกฺษ; ป. ปฏิปกฺข).
วิปักษ์ : น. ฝ่ายตรงกันข้าม, ข้าศึก, ศัตรู, ปรปักษ์. (ส.; ป. วิปกฺข).
อุปสรรค : [อุปะสัก, อุบปะสัก] น. เครื่องขัดข้อง, ความขัดข้อง, เครื่อง ขัดขวาง. (ส. อุปสรฺค; ป. อุปสคฺค); คำสำหรับใช้เติมข้างหน้า คำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมาย แผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิม เป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตาม ปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง เช่น วัฒน์ = เจริญ อภิวัฒน์ = เจริญยิ่ง ปักษ์ = ฝ่ายปฏิปักษ์ = ฝ่ายตรงข้าม, ข้าศึก, ศัตรู.
บร- : [บอระ-] (แบบ; กลอน) น. ฝ่ายอื่น เช่น บรเทศ, ข้าศึก เช่น บรปักษ์. (ป., ส. ปร).
ดัสกร : [ดัดสะกอน] (แบบ) น. ข้าศึก. (ส. ตสฺกร; ป. ตกฺกร ว่า โจร, ขโมย).
ไพริน : น. ผู้มีเวร; ข้าศึก. (ส. ไวรินฺ; ป. เวรี).
ไพรี : น. ผู้มีเวร; ข้าศึก. (ส. ไวรินฺ; ป. เวรี).
กระเจอะกระเจิง, กระเจิดกระเจิง : ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจร กระเจอะกระเจิง. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กองทัพข้าศึกถูกตีแตก กระเจิดกระเจิงไป.
กระเจิดกระเจิง :
ว. แตกหมู่เพ่นพ่านไป, เตลิดไป, เช่น กองทัพข้าศึกถูก ตีแตกกระเจิดกระเจิงไป. (ดู กระเจอะกระเจิง).
ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
ขัดตาทัพ : ก. ยกทัพไปตั้งชั่วคราว กันไม่ให้ข้าศึกรุกลํ้าเข้ามา; (ปาก) แก้ไขไปพลาง ๆ ก่อน.
ขับพล : ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก.
ขาดหัวช้าง : ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน เช่น ผู้ใด ชนช้างมีชัยและข้าศึกขาดหัวช้าง. (กฎมนเทียรบาลในกฎ. ราชบุรี), ขาดคอช้าง ก็เรียก.
เขากวาง ๑ : น. ชื่อขวากชนิดหนึ่งทําด้วยต้นไม้หรือกิ่งไม้ เสี้ยมปลาย ให้แหลมเพื่อกีดขวางข้าศึก.
จำบัง ๑ : ก. รบ เช่น คชจําบังข้าศึก. (ตะเลงพ่าย). น. ศึก, สงคราม; นักรบ. (จารึกสยาม). (ข. จํบาง, จมฺบําง ว่า การรบ, สงคราม).
โจมจับ : น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่เข้าโจมตีข้าศึก, ช้างโจมทัพ ก็เรียก.
โจมทัพ : น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่เข้าโจมตีข้าศึก, ช้างโจมจับ ก็เรียก.
เชลย : [ชะเลย] น. ผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวได้. (ข.).
เชิงเทิน : น. ที่ดินที่พูนสูงขึ้นเป็นเชิงของป้อมปราการ, พื้นที่ ว่างภายในป้อมสําหรับให้ทหารขึ้นไปอยู่ตรวจการณ์หรือ ต่อสู้ข้าศึก.
โดดแล่น : น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ขับไล่ข้าศึก.
ตรึง : [ตฺรึง] ก. ทําให้อยู่กับที่ เช่น ตรึงตะปู ตรึงที่นอน ตรึงข้าศึก, ทําให้อยู่คงที่ เช่น ตรึงราคาสินค้าไว้, ติดอยู่ เช่น ตรึงใจ.
ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
ปร-ปักษ์ : [ปอระ-] น. ข้าศึก, ศัตรู, ฝ่ายตรงข้าม.
ปราบดาภิเษก : [ปฺราบดาพิเสก] ว. มีอภิเษกอันถึงแล้ว. น. พระราชพิธีอภิเษกของ พระเจ้าแผ่นดินซึ่งได้ราชสมบัติมาด้วยการรบชนะข้าศึก. (ส. ปฺราปฺต + อภิเษก).
ปะทะ : ก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.
ปัจจามิตร : น. ข้าศึก, ศัตรู. (ส. ปจฺจามิตฺร; ป. ปจฺจามิตฺต).
ปัจนึก : [ปัดจะหฺนึก, ปัดจะนึก] (แบบ) น. ข้าศึก, ศัตรู. (ป. ปจฺจนีก).
ปิหลั่น : [-หฺลั่น] น. ค่ายที่ทําให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย ๆ, วิหลั่น ก็ว่า.
เผด็จศึก : ก. ปราบข้าศึกลงได้อย่างเด็ดขาด.
พังคา : น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำลายค่ายข้าศึก, บางทีก็เรียกว่า ช้างล้อมวัง.
พิฆาต : ก. ฆ่า เช่น พิฆาตข้าศึก, ทำลายล้าง เช่น เรือพิฆาตตอร์ปิโด. (ป., ส. วิฆาต).
เพลาะ ๑ : น. เรียกคูที่ขุดบังข้าศึกเมื่อเวลารบว่า สนามเพลาะ. ก. เอาริมต่อ ให้ติดกัน, ติดต่อกัน, เช่น เพลาะผ้า คือเอาผ้า ๒ ผืนเย็บข้างติดกัน ให้กว้างออก, เรียกผ้าที่เย็บข้างติดกันเช่นนั้นว่า ผ้าเพลาะ.
ไพรินทร์ : น. กษัตริย์ผู้เป็นข้าศึก.
ม้าเร็ว : น. คนขี่ม้าซึ่งกองทัพจัดไว้สําหรับสืบเหตุการณ์ข่าวคราวของข้าศึก แล้วต้องรีบมาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่ในกองทัพของตน.
ยึดหัวหาด : ก. ยึดชายฝั่งทะเลซึ่งอยู่ในความครอบครองของข้าศึกเพื่อ สะดวกในการยกพลขึ้นบก, โดยปริยายหมายถึงยึดจุดสำคัญหรือบุคคล สำคัญเป็นต้นเพื่อที่จะทำให้แผนการขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ เช่น ต้องยึดหัวหาดในพรรคให้ได้ก่อน.
รบ : ก. สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับ หญ้าไม่ชนะ; เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา.
รบทัพจับศึก : ก. รบราฆ่าฟันกับข้าศึกศัตรู.
รังปืนกล : น. ที่ซุ่มกำบังดักยิงข้าศึกทำเป็นมูนดินหรือทำด้วยกระสอบ ทรายเป็นต้น มีช่องสำหรับสอดปืนกลออกไป.
รับมือ : ก. ต่อต้าน, กําราบ, เช่น ส่งกองทหารไปรับมือข้าศึกที่ชายแดน.
ราวี : ก. รบ เช่น ยกทัพไปราวีข้าศึก, รบกวนหรือระรานโดยใช้กําลังรังแก เป็นต้น เช่น อันธพาลชอบราวีชาวบ้าน, (ปาก) สู้กัน, ตะลุมบอนกัน, เช่น นักเรียนกำลังราวีกัน.
ริปุ, ริปู : น. ข้าศึก, ปรปักษ์, คนโกง. (ป., ส.).
รุกราน : ก. ล่วงลํ้าเข้าไปก้าวร้าวระราน เช่น ถูกข้าศึกรุกราน.
รุกไล่ : ก. ไล่โจมตีให้หนีไป เช่น รุกไล่ข้าศึก.
เรือประจัญบาน : น. เรือรบขนาดใหญ่ระวางขับน้ำประมาณ ๒๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป มีเกราะป้องกันตนเอง มีอาวุธสมัยใหม่หลายประเภท รวมทั้ง อาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้น และพื้นสู่อากาศ มีหน้าที่หลักในการต่อตีเรือข้าศึก และระดมยิงฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบสะเทินน้ำสะเทินบก.
เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
ล่วงล้ำ : ก. ผ่านพ้นเกินเข้าไป, โดยปริยายหมายความว่า บุกรุก, ละเมิด, เช่น ข้าศึกล่วงล้ำชายแดน, บางทีก็ใช้เพียง ล่วง คําเดียว.
ลอบ ๒ : ก. แอบทำโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้เห็น เช่น ลอบทำร้าย ลอบเข้าไปในหมู่ข้าศึก.
ล้อมวัง : น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ทำลายค่ายข้าศึก, ช้างพังคา ก็เรียก.