คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
คอมพิวเตอร์ : น. เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทําหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สําหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทาง คณิตศาสตร์. (อ. computer).
วิทยาศาสตร์กายภาพ : น. วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ของ สิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์.
วิธี : น. ทํานองหรือหนทางที่จะทํา เช่น วิธีทำฝอยทอง วิธีสอน คณิตศาสตร์ เลขข้อนี้ทำได้หลายวิธี; แบบ, แบบอย่าง, เช่น ทำถูกวิธี; กฎ, เกณฑ์; คติ, ธรรมเนียม. (ป., ส. วิธิ).
แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
โจทย์ : [โจด] น. คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.
ตรีโกณมิติ : [ตฺรีโกน-] น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยฟังก์ชันของตัวแปรจริง ซึ่งแทนขนาดของมุมใด ๆ, คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการใช้ฟังก์ชันของมุม เป็นรากฐานในการศึกษาสมบัติของรูปสามเหลี่ยมหรือรูปอื่นใดที่ทอนลงมาเป็น รูปสามเหลี่ยมได้. (อ. trigonometry).
บวก : ก. เอาจํานวนหนึ่งรวมเข้ากับอีกจํานวนหนึ่งหรือหลายจํานวนให้ เป็นจํานวนเพิ่มขึ้นจํานวนเดียวกัน, เพิ่มเติมเข้าไป. ว. ที่เป็นไป ในทางสนับสนุน ทางดี หรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น มองในทางบวก; ในทางคณิตศาสตร์เรียกจำนวนเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ว่า จำนวน
บวก. : น. เรียกเครื่องหมายคณิตศาสตร์รูปดังนี้ + ว่า เครื่องหมายบวก.
พีชคณิต : [พีชะคะนิด] (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มา ศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และโครงสร้างของระบบ จํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็น สําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย.
รากฐาน : น. หลักสำคัญอันเป็นพื้นฐานรองรับ, ส่วนที่เป็นพื้นรองรับ สำหรับพัฒนาต่อไป, เช่น วางรากฐานการศึกษา วิชาคณิตศาสตร์เป็น รากฐานของวิชาวิทยาศาสตร์; พื้นเพ เช่น มีรากฐานมาจากไหน.
เรขาคณิต : (คณิต) น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจําแนกประเภทสมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ ที่กําหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย.
วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
วงเล็บปีกกา : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ { } สำหรับใช้ควง คำหรือข้อความซึ่งอยู่คนละบรรทัดเข้าด้วยกันเพื่อให้รู้ว่าเป็นกลุ่ม เดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน อาจใช้เพียงข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ เช่น (มีรูปภาพ) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นสมาชิกของเซตหรือกั้นกลุ่มตัวเลข หรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้วไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น A = {2, 4, 6, 8}, 2x 5{7 (x 6) + 3x} 28 = 39.
วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
วิศวกรรม : [วิดสะวะกํา] น. ชื่อเทวดาตนหนึ่ง ผู้ชํานาญในการช่าง ทั้งปวง, วิษณุกรรม วิสสุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็เรียก. (ส.; ป. วิสฺสกมฺม, วิสฺสุกมฺม); การนําความรู้ทางคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้.
วิศวกรรมศาสตร์ : [วิดสะวะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนํา ความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).
สนใจ : ก. ตั้งใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่น เขาสนใจวิชาคณิตศาสตร์ มาก, ใฝ่ใจใคร่รู้ใคร่เห็นเป็นต้น เช่น เขาสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็ก.
สัจพจน์ : [สัดจะ] น. ข้อความที่ยอมรับในวิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ว่าจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์. (อ. postulate, axiom).
สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).