ครวญคราง : ก. ครางเรื่อย ๆ ไป.
ครวญ : [คฺรวน] ก. ร้องรําพัน.
คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
คราง ๒ : [คฺราง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Scapharca inaequivalvis ในวงศ์ Arcidae ลักษณะคล้ายหอยแครงแต่ขนาดใหญ่กว่า ที่เปลือกมีขน อาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นที่มีโคลนปนทราย.
กะหือ : ว. เสียงครวญคราง.
หงิง ๆ : ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
โอดครวญ : ก. รํ่าไห้, ครํ่าครวญ; รํ่ารําพัน.
อ๋อย : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอ๋อย; ใช้เน้นแสดงว่ามาก ในคําว่า เหลืองอ๋อย.
อี๋ ๒ : ว. คําใช้ขยายกริยา คราง ในคําว่า ครางอี๋.
กบเต้น : น. ชื่อเพลงไทยร้องรํา ๒ ชั้นสมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าทับสองไม้ คือ ชั้นต้นมีทํานองช้าก่อนแล้วก็เร็วเข้ากํากับกันไป ใช้กับบทโศกหรือรัญจวน เช่นตอนรจนาคร่าครวญน้อยใจที่ สังข์ทองจะไม่ช่วยตีคลี. (ดึกดําบรรพ์).
กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
กระทุ่ม ๒ : ก. เอาเท้าตีน้ำเมื่อเวลาว่ายน้ำ; ตี เช่น กรกระทุ่มทรวงครวญ ร่าร้อง. (เพชรมงกุฎ); (โบ; กลอน)โดยปริยายหมายความว่า ผ่า เช่น ฟ้ากระทุ่มทับลง. (แช่งน้ำ).
ก้านต่อดอก : น. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พร่ากําสรวลครวญ.
กำสรวล : [-สวน] (แบบ) ก. โศกเศร้า, คร่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). (โบ กําสรวญ).
คระ ๑ : [คฺระ] คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำ หรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมาย ความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม).
แครง ๓ : [แคฺรง] ว. อึกทึก, กึกก้อง, เช่น อย่างแครงครวญ. (กล่อมช้างของเก่า), สงครามแครง ฟ้งเฟือด. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
จากพราก, จากพาก : [จากกะพรฺาก, จากกะพาก] น. ชื่อนกในวงศ์นกเป็ดนํ้า (ทางวรรณคดีนิยมว่า คู่ของนกนี้ต้องพรากจากกันจะครวญถึงกันในเวลากลางคืน), จักรพาก หรือ จักรวาก ก็เรียก. (พจน. ๒๔๙๓).
ฉัตรสามชั้น : [ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิล โหยสวาทหวนครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกําสรวล โศกเศร้าใจ.
ช้า ๓ : น. ชื่อเพลงในบทละคร เรียกว่า เพลงช้า, ชื่อเพลงบทละคร อื่น ๆ มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ช้า เช่น ช้าปี่ ช้าหวน ช้าครวญ ช้ากล่อม. ก. ขับ, กล่อม.
เทวษ : [ทะเวด] น. การครํ่าครวญ, ความลําบาก. (ส.).
นาง ๓ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองต่าง ๆ ที่มีคําว่า นาง ขึ้นต้น เช่น นางครวญ นางนาค นางนก. (รามเกียรติ์ ร. ๒).
นางร้องไห้ : น. หญิงที่ทําหน้าที่หรือรับจ้างร้องไห้ครํ่าครวญถึงคุณความดี ของผู้ตาย.
ปริเทวนะ, ปริเทวะ : [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
พิลาป : ก. รํ่าไรรําพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ. (ป., ส. วิลาป).
ไพมอก : ก. ครํ่าครวญ, บ่นด้วยความเศร้า.
มอญ ๒ : น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า มอญ เช่น มอญรำดาบ มอญชมจันทร์ มอญครวญ.
รวะ : น. เสียงดัง, เสียงเอิกเกริก, เสียงอึง, เสียงร้องครํ่าครวญ. ก. ร้อง, ร้องไห้. (ป., ส.).
ลรรลุง :
[ลัน] (กลอน) ว. เป็นทุกข์ถึง, เศร้าโศก, ครํ่าครวญ. (ดู ละลุง๑).
ลูกคอ : น. เสียงเอื้อนหรือเสียงครวญในเวลาร้องเพลงเป็นต้น.
ห่อน : ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคําประพันธ์บาง คราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).
โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
โหยไห้ : ก. ร้องไห้ครํ่าครวญถึง.
โอดกาเหว่า : (ปาก) ก. ร้องไห้ครํ่าครวญ.