Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครัว , then ครว, ครัว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครัว, 45 found, display 1-45
  1. ครัว : [คฺรัว] น. โรง เรือน หรือห้องสําหรับทํากับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่อยู่กิน ร่วมครัวกัน.
  2. ครัว : [คฺรัว] (ถิ่น-พายัพ) น. ของ, สิ่งของ, เครื่องใช้, เช่น พ่อค้าแม่ค้าขายครัว; ทรัพย์มรดก เช่น ลูกหล้าครัวรอม คือ ลูกคนสุดท้องจะได้รับทรัพย์มรดก มากกว่าผู้อื่น, ขายครัวมายาตัว คือ ขายทรัพย์มรดกเพื่อมารักษาตัว.
  3. ครัวทาน : (ถิ่น-พายัพ) น. ของถวายพระ.
  4. ครัวเรือน : น. ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน.
  5. ท้ายครัว : (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่า เข้าทางภรรยา.
  6. สวนครัว : น. บริเวณที่ปลูกพืชผักที่ใช้เป็นอาหารในครัวเรือน เช่น พริก มะเขือ ข่า ตะไคร้ โหระพา.
  7. ก้นครัว : (ปาก) ว. ไม่ได้ออกหน้าออกตา.
  8. การครัว : น. การหุงหาอาหาร.
  9. เครื่องครัว : น. เครื่องใช้ในการหุงหาอาหาร.
  10. พ่อครัว : (โบ) น. หัวหน้าครอบครัว.
  11. โรงครัว : น. สถานที่ทำอาหารในงานใหญ่ ๆ เพื่อเลี้ยงคนจำนวนมาก.
  12. ครัวไฟ : น. ครัว.
  13. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  14. กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  15. การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
  16. ข่า ๔ : น. ไม้ที่ทําเป็นร้านขึ้นคร่อมกองไฟสําหรับปิ้งปลา, ไม้ไผ่ขัดเป็น ตารางเล็ก ๆ สำหรับวางหรือห้อยอาหารแห้งให้อยู่เหนือเตาไฟในครัว.
  17. โขยม : [ขะโหฺยม] (โบ) น. ขยม, ข้า, บ่าว, เช่น ไว้โขยมวัดสามครัว. (พงศ. โยนก). (ข. ขฺญุ?).
  18. ครำ : [คฺรํา] น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครํา, ไขเสนียด ก็เรียก.
  19. ชื่อตัว : น. ชื่อที่ตั้งให้แก่เด็กตั้งแต่เกิด, ชื่อที่ปรากฏใน ทะเบียนสํามะโนครัว, ชื่อจริง; (กฎ) ชื่อประจําบุคคล.
  20. ทะเบียนสำมะโนครัว : ดู สํามะโนครัว.
  21. น้ำครำ : น. นํ้าเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย, ไขเสนียด ก็เรียก.
  22. บาจก : (แบบ) น. พ่อครัว, แม่ครัว ใช้ว่า บาจิกา. (ป. ปาจก).
  23. บาจิกา : (แบบ) น. แม่ครัว. (ป. ปาจิกา). (ดู บาจก).
  24. ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  25. พ่อ : น. ชายผู้ให้กําเนิดแก่ลูก; คําที่ลูกเรียกชายผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยง; ดูตนคําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนม หรือรักใคร่เป็นต้นว่า พ่อนั่น พ่อนี่; คําใช้นําหน้านามเพศชาย แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น พ่อเมือง; ผู้ชายที่กระทํากิจการหรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า พ่อค้า ทําครัว เรียกว่า พ่อครัว; เรียกสัตว์ตัวผู้ ที่มีลูก เช่น พ่อม้า พ่อวัว.
  26. พื้น : น. ส่วนราบด้านหน้า ด้านนอก หรือด้านบนของสิ่งที่เป็นผืนเป็น แผ่น เช่น พื้นเรือน พื้นดิน พื้นรองเท้า; ฐาน เช่น พื้นถนนทรุด; แถบ, แถว, ถิ่น, เช่น คนพื้นนี้; ทั่วไป, โดยมาก, เช่น ถิ่นนี้ทํา สวนครัวกันเป็นพื้น; เรียกผ้านุ่งที่มีสีและลักษณะยืนตัวไม่มี ดอกดวงลวดลายว่า ผ้าพื้น.
  27. แฟลต : [แฟฺล็ด] น. ห้องชุด ตามปรกติประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนํ้า พร้อมอยู่ในชั้นเดียวกันและรวมอยู่ในตึกหลังใหญ่ สําหรับอยู่อาศัยหรือให้เช่า. (อ. flat).
  28. ภักษการ : น. คนทําอาหาร, คนครัว. (ส.).
  29. มหานสะ : [มะหานะสะ] น. ครัว, โรงครัว. (ป.).
  30. มีดสับหมู : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างหนา ยาวประมาณ ๑ คืบด้ามเป็นบ้องต่อออกไปจากตัวมีดขนาดพอมือกำ ถ้าเป็นแบบที่ใช้ในครัวมักทำสันงอนขึ้น และด้ามทำด้วยไม้.
  31. แม่ : น. หญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คําที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กําเนิดหรือเลี้ยงดูตน; คําที่ผู้ใหญ่เรียกผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่าด้วยความสนิทสนมหรือรักใคร่เป็นต้นว่า แม่นั่น แม่นี่; คําใช้นําหน้านามเพศหญิง แปลว่า ผู้เป็นหัวหน้า เช่น แม่บ้าน; ผู้หญิงที่กระทํากิจการหรืองานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ค้าขาย เรียกว่า แม่ค้า ทําครัว เรียกว่า แม่ครัว; เรียกสัตว์ตัวเมียที่มีลูก เช่น แม่ม้า แม่วัว; เรียกคน ผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จํากัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง; คํายกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ, บางทีก็ใช้ว่า เจ้าแม่ เช่น เจ้าแม่กาลี; เรียกสิ่งที่เป็นประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวกเดียวกัน เช่น แม่กระได แม่แคร่ แม่แบบ; เรียกชิ้นใหญ่กว่าในจําพวกสิ่งที่สําหรับกัน เช่น แม่กุญแจ คู่กับ ลูกกุญแจ; แม่นํ้า เช่น แม่ปิง แม่วัง; คําหรือพยางค์ที่มีแต่สระ ไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง, คําหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เรียกว่า แม่กด, คําหรือพยางค์ ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด เรียกว่า แม่กม, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด เรียกว่า แม่เกย แต่ในมูลบทบรรพกิจมี ย ว อ สะกด, คําหรือพยางค์ที่มีตัว ว สะกด เรียกว่า แม่เกอว.
  32. รสก : [ระสก] น. คนครัว, พ่อครัว. (ป.).
  33. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  34. รี ๆ ขวาง ๆ : ก. กีดเกะกะ, เก้งก้าง, เช่น คนไม่เคยเข้าครัวจับอะไรไม่ถูก รี ๆ ขวาง ๆ ไปหมด, ขวาง ๆ รี ๆก็ว่า. ว. มีลักษณะหรือกิริยาท่าทางที่เกะกะเก้งก้าง เช่น จะข้ามถนนก็ไม่ข้ามมัวแต่ยืนรี ๆ ขวาง ๆ อยู่นั่นแหละ.
  35. เรือนไฟ : น. กระจุกตะเกียงหรือโคม; ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม; ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร; โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ; (โบ) ประภาคาร.
  36. สมัครใจ : ก. สมัครด้วยความเต็มใจ เช่น งานนี้เขาสมัครใจเป็นแม่ครัว ชาวเขาสมัครใจย้ายถิ่นฐาน. น. ความเต็มใจ เช่น ทำโดยสมัครใจ.
  37. หน้าเขียง : น. แม่ครัวประจำเขียง.
  38. หน้าเตา : น. แม่ครัวประจําเตา.
  39. ห้องเครื่อง : (ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับ เก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น.
  40. หัวป่า : น. คนทําอาหาร ในคำว่า แม่ครัวหัวป่า พ่อครัวหัวป่า, โบราณเขียน เป็น หัวป่าก์.
  41. หาเศษหาเลย : (สํา) ก. หาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบียดบังเอาส่วนที่เหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้, เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไป จ่ายตลาด, บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไป หาเศษหาเลยนอกบ้านอีก.
  42. อะลูมิเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐?ซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นําไป ผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทําเครื่องครัว. (อ. aluminium).
  43. อัตตโนบท : น. ''บทเพื่อตน'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็น เครื่องหมายให้ทราบว่า เป็นกริยากรรมวาจกหรือภาววาจก เช่น สูเทน โอทโน ปจิยเต = ข้าวสุกอันพ่อครัวหุงอยู่, ปจิยเต เป็น กริยาอัตตโนบท, ตรงข้ามกับ ปรัสสบท.
  44. อาฬาริก : น. คนครัว. (ป.; ส. อาราลิก).
  45. ครวัก, ครวี : [คฺระวัก, คฺระวี] ก. กวัดแกว่ง. (ข. ครฺวาต่, ครฺวี).
  46. [1-45]

(0.0805 sec)