ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
ระย่อ : ก. ขยาด, ครั่นคร้าม, ไม่กล้าสู้, ไม่มีกำลังใจจะสู้.
หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
ขยาด : [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
ยั่น : ก. ครั่นคร้าม, ท้อถอย.
ระลง : (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.
ครั่น ๑ : [คฺรั่น] ก. รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง.
ครั่น ๒ : [คฺรั่น] ก. รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
ครั่นครื้น : [คฺรั่นคฺรื้น] ก. สะเทือน.
ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว : ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่า จะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
คร้ามเกรง : ก. เกรงกลัว.
กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
ถอดสี : ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
หงอ : ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
ตะครั่นตะครอ : ว. อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือค ล้ายจะเป็นไข้.
ครืน ๓, ครื้น, ครืนครั่น, ครื้นครั่น : [คฺรืน, คฺรื้น, -คฺรั่น] ว. เอิกเกริก, กึกก้อง, สนั่น, มากด้วยกัน.
กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
เกรงขาม : ก. คร้าม, เกรง.
เกี่ยงตาย : ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
ขยั้น : [ขะยั่น] ก. คร้าม, เกรง, ไม่กล้า, แหยง.
ขาม ๑ : ก. คร้าม, เกรง, มักใช้เข้าคู่กับคํา เกรง เป็น เกรงขาม.
เข็ดข้อ, เข็ดข้อเข็ดลำ : ก. ไม่กล้าสู้เพราะคร้ามข้อคร้ามลํา.
คราม ๑ : [คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
คราม ๒ : [คฺราม] น. ผงสีนํ้าเงินที่ได้จากต้นคราม. ว. สีนํ้าเงิน.
คราม ๓ : [คฺราม] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Indigofera tinctoria L. ในวงศ์ Leguminosae ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี.
ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
หนาวใจ : ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.
หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
ครามครัน : [คฺรามคฺรัน] ว. มาก, หลาย, นัก.
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
ชักคราม : [คฺราม] ดู ชะคราม.
พวงคราม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Petrea volubilis L. ในวงศ์ Verbenaceae ใบแข็ง และคาย ดอกสีม่วงครามเป็นกลีบ ๕ แฉก คล้ายรูปดาว ออกเป็น ช่อใหญ่.
ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
โครมคราม : [โคฺรมคฺราม] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
แม่สี : น. กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ ได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว (คราม) เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า เบญจรงค์.
รุ้ง ๑ : น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.
ห้อม ๒, ห้อมเมือง :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคราม. [ดู คราม๓(๒)].
ก้ามกราม : น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด Macrobrachium rosenbergii ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามสีฟ้า มีหนาม วางไข่ในน้ำกร่อย, กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
โกร่งกร่าง : [โกฺร่งกฺร่าง] ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่าง กระทืบเท้า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
เขียว ๒ : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.