Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครั้งหน้า, ครั้ง, หน้า , then ครง, ครั้ง, ครั้งหน้า, หนา, หน้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครั้งหน้า, 1832 found, display 1-50
  1. หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
  2. ครั้ง : [คฺรั้ง] น. คราว, หน, ที.
  3. ตั้ง : ก. ชูตัว, ชูตัวหรือทําให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าว เอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดํารง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทําให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตําแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้ง เปรียญ; กําหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสํารับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คําแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง. ตั้งกรม ก. สถาปนาเจ้านายขึ้นทรงกรม. ตั้งเข็ม, ตั้งเป้าหมาย ก. ตั้งความมุ่งหมาย, กําหนดจุดมุ่งหมาย. ตั้งไข่ ก. สอนยืน (ใช้แก่เด็ก). ตั้งเค้า ก. เริ่มแสดงท่าทีให้รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เช่น ฝนตั้งเค้า. ตั้งแง่ ก. ทําชั้นเชิง, ไม่ตรงไปตรงมา, คอยหาเรื่องจับผิด. ตั้งใจ, ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดใจจ่อ. ตั้งต้น ก. เริ่มทํา, ขึ้นต้น. ตั้งตัว ก. ตั้งฐานะหรือตั้งหลักฐาน; ยกย่องตัว, สถาปนาตัว, เช่น ตั้งตัวเป็นหัวหน้า ตั้ง ตัวเป็นใหญ่. ตั้งตาคอย ก. เฝ้าคอย. ตั้งแต่ บ. นับจากเวลาหนึ่งหรือสถานที่หนึ่งเป็นต้นไป (มักใช้เข้าคู่กับคำ จนถึง หรือ จน กระทั่ง). ตั้งแต่ง ก. ยกขึ้น, สถาปนา. ตั้งโต๊ะ ก. จัดโต๊ะอาหาร; จัดโต๊ะหมู่บูชา. ตั้งท้อง ว. เรียกข้าวที่มีรวงอ่อน ๆ ว่า ข้าวตั้งท้อง. ตั้งท่า ก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่. ตั้งธาตุ ก. จัดระบบการย่อยอาหารให้เป็นปรกติ. ตั้งนาฬิกา ก. เทียบนาฬิกาให้ตรงเวลา. ตั้งนาฬิกาปลุก ก. ตั้งเวลาให้นาฬิกาปลุกตามที่ต้องการ. ตั้งหน้า, ตั้งหน้าตั้งตา ก. มุ่งหน้า; ตั้งใจทํา, ทําอย่างจริงจัง, มุ่งมั่น. ตั้งหัวเรือ ก. ทําให้เรืออยู่ในแนว ไม่ให้หัวเรือส่ายไปมา. ตั้งอกตั้งใจ ก. เอาใจจดจ่อ, ตั้งใจ ก็ว่า.
  4. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
  5. ซึ่งหน้า, ซึ่ง ๆ หน้า : ว. ต่อหน้า เช่น กระทําความผิดซึ่งหน้า.
  6. วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  7. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  8. หน้างัว : ดู หน้าวัว๑ใน หน้า.
  9. หน้านวล ๑ : ดูใน หน้า.
  10. หน้านวล ๒ : ดูใน หน้า.
  11. หน้าวัว ๑ : ดูใน หน้า.
  12. หน้าด้าน, หน้าทน, หน้าหนา : ว. มีสีหน้าไม่สลดทั้งที่ควรจะอายแต่ก็ ไม่อาย, โดยปริยายหมายความว่า ไม่มีความรู้สึกอายในสิ่งที่ควรอาย.
  13. หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
  14. หน้ากระดาน : ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงาย หรือใต้บัวคว่ำ.
  15. หน้ากร้าน : น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน.
  16. หน้ากล้อ : น. หน้ากลม เช่น เขาเป็นคนผมหยิก หน้ากล้อ คอสั้น ฟันขาว.
  17. หน้าเก่า : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดารา หน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า.
  18. หน้าแก่ : ว. ที่มองดูอายุมากกว่าอายุจริง เช่น เด็กคนนี้หน้าแก่, เรียกหมาก ที่หน้าเต็มใกล้จะสุกว่า หมากหน้าแก่.
  19. หน้าขบ : ดู หน้าร่าหุ์, หน้าราหู.
  20. หน้าข้าวตัง : น. หน้าซึ่งมีรอยแผลเป็นปรุ ๆ มักเกิดจากฝีดาษ, หน้ามอด ก็ว่า.
  21. หน้าขึงตาขึง : น. หน้าซึ่งแสดงว่าโกรธหรือไม่พอใจอย่างมาก.
  22. หน้าขึ้นนวล : น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคน โบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามัก จะขึ้นนวล.
  23. หน้าเข้ม : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าตึง ก็ว่า.
  24. หน้าเขียว : ว. มีสีหน้าแสดงอาการโกรธจัด เช่น เขาโกรธจนหน้าเขียว; หน้าซึ่งแสดงอาการเจ็บปวดมากเพราะถูกบีบเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า ถูกบีบหรือบังคับหนัก.
  25. หน้าแข้ง : น. ส่วนหน้าของขา ใต้เข่าลงไปถึงข้อเท้า, แข้ง ก็ว่า.
  26. หน้าคว่ำ : ว. ทําหน้าแสดงอาการไม่พอใจหรือโกรธจนไม่เงยหน้าขึ้นมองดู.
  27. หน้าจ๋อย : ว. มีสีหน้าสลด, มีสีหน้าซีดเซียว, เช่น นักเรียนหน้าจ๋อยเพราะ ถูกครูตำหนิ.
  28. หน้าจั่ว : น. เครื่องบนแห่งเรือนที่ปิดด้านสกัดหลังคา สําหรับกันลมและ แดดฝน มีรูปเป็นสามเหลี่ยม, จั่ว ก็ว่า; (คณิต) เรียกรูปสามเหลี่ยมที่มีด้าน คู่หนึ่งยาวเท่ากันว่า สามเหลี่ยมหน้าจั่ว.
  29. หน้าเจี๋ยมเจี้ยม : ว. วางหน้าไม่สนิท มีอาการเก้อเขิน.
  30. หน้าเจื่อน : ว. วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้ เป็นต้น.
  31. หน้าฉาก : (สํา) ว. ที่แสดงให้ปรากฏเปิดเผย เช่น ฐานะหน้าฉากของเขา เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง แต่ความจริงค้าขายยาเสพติด, ตรงข้ามกับ หลังฉาก. น. ความเป็นไปหรือพฤติกรรมที่เปิดเผย, ตรงข้ามกับ หลังฉาก.
  32. หน้าฉาน, หน้าที่นั่ง : น. ที่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชินี เช่น อย่าเดินตัดหน้าฉาน แสดงหน้าที่นั่ง.
  33. หน้าชา : ว. อาการที่รู้สึกอับอายขายหน้าระคนโกรธ แต่ก็ตอบโต้ไม่ได้ เช่น เธอรู้สึกหน้าชาที่ถูกประจาน.
  34. หน้าชื่นอกตรม : ว. ที่ทำเป็นร่าเริงแต่ในใจมีทุกข์, หน้าชื่นอกกรม ก็ว่า.
  35. หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
  36. หน้าซีก : น. หน้าด้านข้าง (เห็นตาและหูข้างเดียว).
  37. หน้าเซ่อ : ว. อาการที่วางหน้าไม่รู้ไม่ชี้หรือทำเป็นไม่รู้เรื่อง เช่น ตีหน้าเซ่อ.
  38. หน้าดำคล้ำเครียด : น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่ กับงาน หรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก, หน้าดำคร่ำเครียด ก็ว่า.
  39. หน้าดำหน้าแดง : ว. อาการที่ใช้วาจาโต้เถียงกันเพราะมุ่งที่จะเอาชนะ อีกฝ่ายหนึ่ง เช่น แม่ค้าเถียงกันหน้าดำหน้าแดง.
  40. หน้าเดิม : ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มี แต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า.
  41. หน้าแดง : น. หน้าเต็มไปด้วยเลือดฝาดเพราะความกระดากอายหรือโกรธ เป็นต้น.
  42. หน้าตัก : น. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิ โดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้ว พระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของ ผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก
  43. หน้าตั้ง ๒ : ว. อาการที่แสดงหน้าตาตื่น (ใช้แก่กริยาวิ่ง), หน้าเริด ก็ว่า.
  44. หน้าตาย : น. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.
  45. หน้าตึง : ว. มีสีหน้าเครียดหรือขุ่นเคือง, หน้าเข้ม ก็ว่า; มีสีหน้าแดงหรือ เข้มขึ้นเพราะเริ่มเมา.
  46. หน้าตูม : ว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูม เชียว.
  47. หน้าถอดสี : ว. มีสีหน้าแสดงความผิดหวังหรือตกใจเป็นต้น, หน้าเผือด หรือ หน้าเผือดสี ก็ว่า.
  48. หน้าถัง : น. หน้าร้านหรือโรงที่เปิดปิดด้วยกระดานเป็นแผ่น ๆ สอดเรียง เลื่อนไปตามรางที่ทำไว้.
  49. หน้าท้อง : น. ส่วนหน้าของท้อง ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา เช่น ฉีดเซรุ่ม ป้องกันพิษสุนัขบ้าที่หน้าท้องหลังจากถูกสุนัขกัด; โดยปริยายหมายถึงท้อง ที่ยื่นเพราะมีไขมันมาก เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยดี เสียแต่มีหน้าท้อง.
  50. หน้าทะเล้น : ว. อาการที่ทำหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1832

(0.2198 sec)