คราม ๑ : [คฺราม] น. บ้าน, มักใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ราชคราม. (ส.; ป. คาม).
คราม ๒ : [คฺราม] น. ผงสีนํ้าเงินที่ได้จากต้นคราม. ว. สีนํ้าเงิน.
คราม ๓ : [คฺราม] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Indigofera tinctoria L. ในวงศ์ Leguminosae ปลูกเพื่อใช้ใบและต้นทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทําสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี.
ครามครัน : [คฺรามคฺรัน] ว. มาก, หลาย, นัก.
ชักคราม : [คฺราม] ดู ชะคราม.
พวงคราม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Petrea volubilis L. ในวงศ์ Verbenaceae ใบแข็ง และคาย ดอกสีม่วงครามเป็นกลีบ ๕ แฉก คล้ายรูปดาว ออกเป็น ช่อใหญ่.
ลงคราม : ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
ลายคราม : น. เรียกเครื่องภาชนะเนื้อกระเบื้องที่เขียนลายเป็นสีคราม เช่น ชามลายคราม แจกันลายคราม, โดยปริยายหมายถึงของเก่าที่มีค่า เช่น เก่าลายคราม ไม่ใช่เก่ากะลา, เก่า, โบราณ, เช่น รุ่นลายคราม.
โครมคราม : [โคฺรมคฺราม] ว. เสียงดังเช่นนั้น.
ข้าวเสียแม่ซื้อ : น. ข้าวปั้นเป็นก้อน แล้วทาปูน ขมิ้น เขม่า คราม เป็นต้น จำนวน ๓-๕ ก้อน นำมาวนตัวเด็กที่ป่วย เป็นการปัดรังควาน แล้วโยน ข้าวทีละก้อนให้ข้ามหลังคาเรือน เพื่อทิ้งให้แม่ซื้อ.
เบญจรงค์ : น. แม่สีทั้ง ๕ คือ ดํา แดง ขาว เขียว (คราม) เหลือง, เรียกเครื่องถ้วยชามที่เขียนลวดลายด้วยแม่สีทั้ง ๕ ว่า ถ้วย เบญจรงค์ ชามเบญจรงค์.
แม่สี : น. กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ ได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว (คราม) เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า เบญจรงค์.
รุ้ง ๑ : น. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ ๗ สี คือ ม่วง คราม นํ้าเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง, สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร. ว. กว้างโค้ง, โค้ง เช่น ขุดรุ้งรางเข้าไป.
ห้อม ๒, ห้อมเมือง :
(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคราม. [ดู คราม๓(๒)].
ก้ามกราม : น. ชื่อกุ้งน้ำจืดชนิด Macrobrachium rosenbergii ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามสีฟ้า มีหนาม วางไข่ในน้ำกร่อย, กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง.
โกร่งกร่าง : [โกฺร่งกฺร่าง] ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่าง กระทืบเท้า. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
เขียว ๒ : ว. มีสีอย่างสีใบไม้สด, บางทีหมายถึงเขียวครามด้วย เช่น สุดหล้าฟ้าเขียว โกรธจนหน้าเขียว;กลิ่นเหม็นอย่างกลิ่นใบไม้สดบางชนิด เรียกว่า เหม็นเขียว.
เขียวไข่กา : น. ชื่อชามสมัยก่อน สีเขียวปนครามอ่อน ๆ รูปก้นสอบ ปากผาย. ว. มีสีอย่างสีเขียวปนครามอ่อน ๆ.
คนทีสอ : [คน-] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Vitex trifolia L. ในวงศ์ Labiatae มักขึ้นในที่โล่งริมนํ้า สูงได้ถึง ๖ เมตร ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ท้องใบสีนวล เมื่อขยี้มีกลิ่นฉุน ดอกสีครามอ่อน ใช้ทํายาได้, คนทิสอ โคนดินสอ หรือ สีสอ ก็เรียก, พายัพเรียก สีเสื้อน้อย หรือ ผีเสื้อน้อย.
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
งัด : ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นํา ออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด.
จั่น ๕ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Millettia brandisiana Kurz ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงหรือม่วงคราม ลักษณะคล้ายดอกถั่วแต่ขนาด เล็กกว่าเวลาออกดอกไม่ใคร่มีใบ เป็นไม้ประดับที่งาม. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อเห็ดชนิด Tricholoma crassum (Berk.) Succ. ในวงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดใหญ่ สีขาวนวล เนื้อหนา ก้านใหญ่ ด้านล่างมีครีบ กินได้, เห็ดตีนแรด หรือ เห็ดตับเต่าขาว ก็เรียก.
ชะคราม : [คฺราม] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Suaeda maritima (L.) Dumort. ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามเลนใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบพองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้, ชักคราม ก็เรียก.
โซ่ง : น. ชาวไทยพวกหนึ่ง ผู้ชายนุ่งกางเกงสีดําหรือสีครามแก่ขาสั้นใต้เข่า เล็กน้อยและแคบ ผู้หญิงนุ่งซิ่นสีดําหรือสีครามแก่มีลายขาวเป็น ทาง ๆ ลงมา, ซ่ง ซงดํา หรือ ไทยดํา ก็เรียก.
ตะพุ่น ๒ : ว. สีชนิดหนึ่งคล้ายสีครามจาง เรียกว่า สีตะพุ่น.
น้ำเงิน ๑ : ว. สีอย่างสีคราม; (โบ) น. ค่าป่วยการที่ชักออกจากจํานวน เงินที่ส่งไป เรียกว่าค่านํ้าเงิน, เรียกทาสที่ขายตัวแก่นายเงิน หรือที่ นายเงินไถ่ค่าตัวมาว่า ทาสนํ้าเงิน.
นิโลบล : [บน] น. บัวขาบ. (ส. นีโลตฺปล); หินสีขาบ, แก้วมีค่าสีคราม อ่อน. (ส. นีโลปล).
ผัน ๑ : น. ชื่อบัวชนิด Nymphaea cyanea Roxb. ในวงศ์ Nymphaeaceae ดอกสีคราม, บัวขาบ ก็เรียก.
ผ้าม่วง : น. ผ้าไหมสำหรับผู้ชายนุ่ง มีสีม่วงครามหรือม่วงชาด เป็นต้น.
ฝรั่งกังไส : น. เครื่องลายครามซึ่งมีลายที่ฝรั่งทําเอาแบบอย่างจีน, โดยปริยายหมายถึงคนที่วางท่าเป็นฝรั่ง.
พันทาง : น. เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลย ไปถึงสัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิด บางอย่างที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลาย ครามพันทาง.
ม่วง ๑ : ว. สีน้ำเงินปนแดง, ถ้าออกครามเรียก สีม่วงคราม, ถ้าออกแดงเรียก สีม่วงชาด, ถ้าเจือขาวเรียก สีม่วงอ่อน, เรียกผ้าไหมสําหรับผู้ชายนุ่งที่มีสีอย่างนั้นหรือสีอย่างอื่นว่า ผ้าม่วง.
เมฆพัด : [เมกคะ-] น. ชื่อโลหะที่เกิดจากการเอาแร่มาหุงเข้าด้วยกัน แล้วซัดด้วย กํามะถัน มีสีดําเป็นมัน แววเป็นสีคราม, เรียกพระเครื่องที่ทําด้วยโลหะ ชนิดนี้ว่าพระเมฆพัด หรือ พระเนื้อเมฆพัด.
เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
ศิลปวัตถุ : น. วัตถุอันเป็นผลงานสร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ที่ ประกอบด้วยศิลปลักษณะ เช่น ภาพเขียน รูปปั้น เครื่องลายคราม เครื่องถม; (กฎ) น. สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูง ในทางศิลปะ.
สงคราม : [คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).
สัตวา : [สัดตะวา] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียวเกือบ เป็นสีคราม. (พจน. ๒๔๙๓).
อัญชัน : น. ชื่อพรรณไม้ ๒ ชนิดในวงศ์ Leguminosae คือ ไม้ต้นชนิด Dalbergia duperreana Pierre และไม้เถาชนิด Clitoria ternatea L. ชนิดหลังดอกสีครามแก่ ขาว และม่วงอ่อน. ว. เรียกสีครามแก่ อย่างสีดอกอัญชัน ว่า สีอัญชัน.