Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครื้นครั่น, ครื้น, ครั่น , then ครน, ครนครน, ครั่น, ครื้น, ครื้นครั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครื้นครั่น, 38 found, display 1-38
  1. ครืน ๓, ครื้น, ครืนครั่น, ครื้นครั่น : [คฺรืน, คฺรื้น, -คฺรั่น] ว. เอิกเกริก, กึกก้อง, สนั่น, มากด้วยกัน.
  2. ครั่นครื้น : [คฺรั่นคฺรื้น] ก. สะเทือน.
  3. ครั่น : [คฺรั่น] ก. รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง.
  4. ครั่น : [คฺรั่น] ก. รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
  5. ครั่นคร้าม : ก. เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว
  6. ครั่นตัว, ครั่นเนื้อครั่นตัว : ก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่า จะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
  7. กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  8. ตะครั่นตะครอ : ว. อาการครั่นเนื้อครั่นตัวสะบัดร้อนสะบัดหนาวเวลาเริ่มจะเป็นไข้หรือค ล้ายจะเป็นไข้.
  9. เครงครื้น : ว. เสียงดังครึกครื้น, ครื้นเครง ก็ว่า.
  10. คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
  11. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  12. กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
  13. กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
  14. กล้า ๒ : [กฺล้า] ก. ไม่กลัว, ไม่ครั่นคร้าม. ว. แข็ง เช่น เหล็กกล้า, แรง เช่น เวทนากล้า.
  15. เกี่ยงตาย : ก. เลี่ยงไปทางตาย, ยอมตาย, เช่น หวั่นฤทธิ์คิดครั่นสงคราม จักยุทธพยายาม คือขวัญสกนธ์เกี่ยงตาย. (สรรพสิทธิ์).
  16. ขยาด : [ขะหฺยาด] ก. ครั่นคร้าม, กลัวเพราะเคยรู้ฤทธิ์มาแล้ว, เข็ดเพราะ เคยได้รับผลร้ายมาแล้ว.
  17. คะ ๑ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
  18. ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
  19. ถอดสี : ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
  20. ยั่น : ก. ครั่นคร้าม, ท้อถอย.
  21. ร้อน ๆ หนาว ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัว ว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, สะบัดร้อนสะบัดหนาว หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  22. ระย่อ : ก. ขยาด, ครั่นคร้าม, ไม่กล้าสู้, ไม่มีกำลังใจจะสู้.
  23. ระลง : (กลอน) ก. ครั่นคร้าม, กลัว.
  24. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  25. สะบัดร้อนสะบัดหนาว : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้ เพราะเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจ กลัวว่าจะถูกลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น เช่น ผู้ที่ทำความผิดไว้ พอ เห็นผู้บังคับบัญชามาก็รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ หนาว ๆ ร้อน ๆ ก็ว่า.
  26. หงอ : ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
  27. หนาว ๆ ร้อน ๆ : ก. ครั่นเนื้อครั่นตัว, มีอาการคล้ายจะเป็นไข้เพราะเดี๋ยว ร้อนเดี๋ยวหนาว, โดยปริยายหมายความว่า มีความเร่าร้อนใจกลัวว่าจะถูก ลงโทษหรือถูกตำหนิเป็นต้น, ร้อน ๆ หนาว ๆ หรือ สะบัดร้อนสะบัดหนาว ก็ว่า.
  28. หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
  29. หวั่นไหว : ก. สั่นสะเทือน, โอนเอน, เช่น จิตใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์, ครั่นคร้าม เช่น ไม่หวั่นไหวต่อภยันตรายใด ๆ. ว. อาการที่สั่นสะเทือน มาก (ใช้แก่เสียง) เช่น เสียงดังสนั่นหวั่นไหว.
  30. ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
  31. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  32. ครั้น : [คฺรั้น] สัน. เมื่อ.
  33. ครึน : [คฺรึน] น. ชื่อเครื่องดักนกและไก่ทําเป็นบ่วง, ครืน ก็เรียก.
  34. ครืน ๑ : [คฺรืน] ดู ครึน.
  35. ครืน ๒ : [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
  36. คฤนถ์ : [คฺรึน] น. ตัวอักษรแบบหนึ่งของอินเดียภาคใต้ที่ใช้เขียนตํารา.
  37. เครน : [เคฺรน] ว. ครืน เช่น กลัวว่าจะครํ่าเครนครืนโครมลง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  38. นิครนถ์ : [คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ? ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).
  39. [1-38]

(0.1168 sec)