ครืน ๓, ครื้น, ครืนครั่น, ครื้นครั่น : [คฺรืน, คฺรื้น, -คฺรั่น] ว. เอิกเกริก, กึกก้อง, สนั่น, มากด้วยกัน.
ครั่นครื้น : [คฺรั่นคฺรื้น] ก. สะเทือน.
เครงครื้น : ว. เสียงดังครึกครื้น, ครื้นเครง ก็ว่า.
อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
กระทั่ง : ก. ตี, กระแทก, เช่น เสียงโครมครื้นคลื่นกระทั่งฝั่งชลา. (นิ. เพชร); ทําให้มีเสียง เช่น กระทั่งแตร กระทั่งมโหระทึก; ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ. (คาวี), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง. บ. จดถึง, จนถึง, เช่น กระทั่งบัดนี้เขาก็ยังไม่มา; แม้, แม้แต่, เช่น กระทั่งพ่อสั่งเขาก็ยังไม่ทำ กระทั่งแม่ของเขาเองเขา ก็ยังไม่เว้น.
กุลาหล : [-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้นกุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
คะ ๑ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
ครั่น ๑ : [คฺรั่น] ก. รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึง.
ครั่น ๒ : [คฺรั่น] ก. รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.
ครุ่น : [คฺรุ่น] ว. บ่อย ๆ เช่น เจ็บปวดครุ่นไปไข้ชราถอยกำลังวังชาลงทุกปี. (สังข์ทอง), ซ้ำ ๆ, รํ่าไป, เช่น ครุ่นแค้น.
ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
ครั้น : [คฺรั้น] สัน. เมื่อ.
คร้าม : [คฺร้าม] ก. ขยาด, ไม่กล้าสู้, กลัวเกรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ครั่น เป็น ครั่นคร้าม หมายความว่า เกรงขาม, รู้สึกพรั่นพรึง, สะทกสะท้านด้วยความกลัว.
ครึน : [คฺรึน] น. ชื่อเครื่องดักนกและไก่ทําเป็นบ่วง, ครืน ก็เรียก.
ครืน ๑ : [คฺรืน] ดู ครึน.
ครืน ๒ : [คฺรืน] ว. เสียงดังลั่นเช่นฟ้าร้อง.
คฤนถ์ : [คฺรึน] น. ตัวอักษรแบบหนึ่งของอินเดียภาคใต้ที่ใช้เขียนตํารา.
เครน : [เคฺรน] ว. ครืน เช่น กลัวว่าจะครํ่าเครนครืนโครมลง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
นิครนถ์ : [คฺรน] น. นักบวชนอกพระพุทธศาสนา. (ส. นิรฺคฺรนฺถ; ป. นิคณฺ? ว่า ผู้ปราศจากเครื่องผูกหรือเครื่องร้อยรัดทั้งมวล).