คลอง : [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
คลองเลื่อย : น. ร่องไม้ที่เลื่อยเลื่อยเข้าไป, แนวฟันของเลื่อย.
คลองส่งน้ำ : น. ลํานํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อใช้ในการชลประทาน.
คล่อง : [คฺล่อง] ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง.
จระเข้ขวางคลอง : (สำ) น. ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือ ผ่านไปมาไม่สะดวก.
ชานคลอง : (กฎ) น. พื้นที่จากริมตลิ่งถึงเชิงลาดคันคลอง ขนานไปกับคลอง.
น้ำนอนคลอง : น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะ มีนํ้าหนุนขึ้นมา.
ศิรา : น. นํ้า, ลําธาร, คลอง, ท่อ. (เขียน สิลา ก็มี).
หัวคลองท้ายคลอง : ว. ทั่วทั้งคลอง.
คัดคลองเลื่อย : ก. ดัดฟันเลื่อยให้เบนออกจากแนว โดยดัดฟันหนึ่ง เว้นฟันหนึ่งจนตลอดทั้งตัวเลื่อยแล้วจึงดัดฟันที่เว้นไว้ให้เบนออก ทางด้านตรงข้ามกับฟันที่ได้ดัดไว้แล้ว.
จระเข้คับคลอง : (สำ) น. ผู้ที่ชอบวางตัวใหญ่โตเกินไปย่อมมีอุปสรรคในการ ดำรงตนในสังคม.
ถอยหลังเข้าคลอง : (สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกล อักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
เรือใหญ่คับคลอง : (สํา) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อ ตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.
ครรลอง : [คันลอง] น. ทาง, แนวทาง, แบบฉบับ. (แผลงมาจาก คลอง).
จทึง : [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ฉทึง : [ฉะ-] น. แม่น้ำ เช่น ฉทึงธารคีรีเหวผา. (ดุษฎีสังเวย), ใช้ว่า จทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ชทึง : [ชะ] (กลอน) น. แม่นํ้า เช่น ชลชทึงบึงบาง. (ประกาศ พระราชพิธี), ใช้ว่า จทึง ฉทึงชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทิง ว่า คลอง).
ชรทึง : [ชฺระ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
ที่ดิน : น. ผืนแผ่นดินหรือพื้นดิน; (กฎ) พื้นที่ดินทั่วไป และหมาย ความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลํานํ้า ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย.
เรือป๊าบ : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง ท้องแบน ไม่เสริมกราบ หัวและท้ายเรือ ป้าน ลักษณะคล้ายเรืออีแปะสำหรับใช้สอยทั่วไปตามริมหนอง คลอง บึง.
วาหินี : น. ทัพ, กองทัพ; หมวด; แม่นํ้า, คลอง. (ส.).
สทิง : [สะ] น. แม่น้ำ, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
สทึง : [สะ] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
สรทึง : [สฺระ] (กลอน) น. แม่นํ้า, ใช้ว่า จทึง ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง หรือ สทึง ก็มี. (ข. สฺทึงว่า คลอง).
ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
กรวย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. ในวงศ์ Myristicaceae ขึ้นตามฝั่งน้าลําคลอง ใบเป็นมันคล้ายใบจําปี แต่เรียวและนิ่มกว่า ดอกสีเหลือง ผลกลมเป็นพวงคล้ายมะไฟ, กรวยบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Casearia grewiifolia Vent. ในวงศ์ Flacourtiaceae ใบคล้ายชนิดแรกแต่ปลายป้อม มีขนมาก ขอบใบมีจักเล็ก ๆ เชื่อกันว่าเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก, กรวยป่า ก็เรียก.
กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
กระทุง : น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
กระลาการ : (โบ) น. ตุลาการ เช่น แลผู้พิพากษากระลาการไต่ไป โดยคลองธรรมดั่งกล่าวมานี้. (สามดวง).
กระสา ๓ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Broussonetia papyrifera Vent. ในวงศ์ Moraceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ตามริมแม่น้ำลําคลอง ใบใหญ่เท่าฝ่ามือหรือกว่านั้นบ้าง รูปไข่ปลายแหลม ขอบใบ เป็นจัก ๆ หรือเว้าเป็น ๓ แฉก มีขนทั้ง ๒ ด้าน เปลือกใช้ ทํากระดาษได้ เรียก กระดาษสา, พายัพเรียก สา.
กราด ๓ : [กฺราด] น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ประกอบกับเรือ, บางถิ่นเรียกว่า กรีด หรือ เรือกรีด, เวลาจับสัตว์น้ำใช้แจวไปตาม ฝั่งคลองหรือแม่น้ำ โดยให้ไม้สําหรับกรีดนั้นระไปในน้ำ.
กลัด : [กฺลัด] น. สวะที่ติดขวางคลองแน่นอยู่. ก. เสียบขัดไว้ให้อยู่ด้วยของแหลม เช่น กลัดไม้กลัด กลัดเข็มกลัด; โดยปริยายเรียกอาการที่สิ่งบางอย่างคั่งอยู่ข้างใน เช่น กลัดหนอง.
กลั้วเกลี้ย : ก. คลุกคลี. ว. มีเล็กน้อยไม่ถึงกับมากทีเดียว, พอมีอยู่บ้าง, จวนหมด, หวุดหวิด, เช่น น้ำกลั้วเกลี้ยคลอง แกงมีน้ำกลั้วเกลี้ย; พอเป็นไปได้, พอประทังไปได้.
กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
กะวะ ๑ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง สําหรับรุนกุ้งรุนเคยตามชายฝั่งแม่น้ำ ลําคลอง หรือทะเล รูปคล้ายสวิง มีถุงตาข่ายอย่างตาละเอียดแขวนอยู่ ใช้ไสตามริมฝั่งเพื่อจับกุ้งเล็ก ๆ หรือเคย.
กุระ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Sapium indicum Willd. ในวงศ์ Euphorbiaceae ขึ้นตามที่ลุ่มน้ำขังและริมคลองน้ำกร่อย ทุกส่วนมียางขาว ผลกลม แก่จัดแยกออกเป็น ๓ ซีก, สมอทะเล ก็เรียก.
ขอด ๒ : ก. ทำให้สิ่งที่ติดอยู่ออกมาด้วยอาการอย่างขูด เช่น ขอดเกล็ดปลา, เหลืออยู่น้อยจนถึงกับต้องขูดเอา เช่น น้ำขอดคลอง น้ำขอดโอ่ง ข้าวขอดหม้อ.
ข่อย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลางชนิด Streblus asper Lour. ในวงศ์ Moraceae มักขึ้นตามป่าตํ่าและริมแม่นํ้าลําคลอง ใบเล็ก สากคาย ใช้ขัดถูได้ เปลือกใช้ทํากระดาษ เรียกว่า กระดาษข่อย ใบ เปลือก เนื้อไม้และเมล็ดใช้ทํายาได้.
เขิน ๒ : ว. ตื้นสูงเป็นเนินขึ้นมา (ใช้แก่พื้นที่ในแม่นํ้า ลําคลอง หนอง บึง เป็นต้น), มักใช้ว่า ตื้นเขิน เช่น แม่นํ้าตื้นเขิน; สั้นหรือสูงเกินไป จนดูขัดตา เช่น นุ่งผ้าเขิน.
คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
คัดชุน : น. เครื่องมือคัดคลองเลื่อย.
คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
จ้อย ๒, จ้อย ๆ : ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, ในคำว่า พูดจ้อย หรือ พูดจ้อย ๆ.
จ๋อย ๓, จ๋อย ๆ : ว. คล่อง, ไม่หยุดปาก, เช่น พูดจ๋อย พูดจ๋อย ๆ.
ฉิว : ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.
ชรแร่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู. (แช่งนํ้า).