Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คลัง , then คลง, คลัง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คลัง, 51 found, display 1-50
  1. คลัง : [คฺลัง] น. ที่เก็บรักษาและรับจ่ายเงิน เช่น แผนกคลัง, สถานที่เก็บรักษา สิ่งของเป็นจํานวนมาก ๆ เช่น คลังพัสดุ.
  2. คลัง : [คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสําหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ ชํานาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.
  3. คลังสินค้าทัณฑ์บน : (กฎ) น. คลังสินค้าของทางราชการศุลกากรที่รับ เก็บสินค้าเข้า โดยยังไม่ต้องชําระอากรขาเข้าจนกว่าจะได้มีการนํา สินค้านั้นออกจากคลังสินค้า.
  4. คลังแสง : น. คลังอาวุธของทางราชการ เช่น คลังแสงสรรพาวุธของกองทัพบก.
  5. คลังสินค้า : น. สถานที่เก็บรักษาสินค้า.
  6. คลังเสบียง : น. ที่เก็บสะสมอาหาร.
  7. การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
  8. ธนธานี : [ทะนะ] น. สถานที่เก็บพัสดุมีค่า, คลัง, ที่เก็บสินค้า. (ป., ส.). ธนบดี [ทะนะบอ] น. เจ้าของทรัพย์, เศรษฐีผู้มีทรัพย์เป็นทุน, นายทุน. (ส. ธนปติ ว่า เจ้าแห่งทรัพย์ คือ พระอินทร์, ท้าวกุเวร).
  9. ท้องพระคลัง : น. สถานที่เก็บพระราชทรัพย์หรือสิ่งของอันมีค่าอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์.
  10. นายคลังสินค้า : (กฎ) น. บุคคลผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จ เป็นทางค้าปรกติของตน.
  11. เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง : ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ.
  12. กลัง : [กฺลัง] (โบ) น. คลัง คือ ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือก สําหรับล่ามสัตว์. (สุธน).
  13. โกศ ๑ : [โกด] น. ที่ใส่ศพนั่ง เป็นรูปกลมทรงกระบอก ฝาครอบมียอด, ที่ใส่กระดูกผี มีขนาดต่าง ๆ ฝาครอบมียอด; คลัง. (ส.).
  14. สมุหประธาน : (โบ) น. เสนาบดีชั้นจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา.
  15. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  16. กรมท่า : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งอยู่ในสังกัด กรมพระคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการต่างประเทศและปกครองเมืองท่า ว. สีขาบ, สีน้าเงินแก่, เรียกว่า สีกรมท่า.
  17. การ ๑ : น. งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทํา, มักใช้เข้าคู่กับคํา งาน เช่น การงาน เป็นการเป็นงาน ได้การได้งาน, ถ้าอยู่หน้านาม หมายความว่า เรื่อง, ธุระ, หน้าที่, เช่น การบ้าน การครัว การคลัง การเมือง, ถ้าอยู่หน้ากริยา ทํากริยาให้เป็นนาม เช่น การกิน การเดิน.
  18. กาษา, กาสา ๑ : น. ผ้าชนิดหนึ่ง เช่น คลังถวายผ้ากาษา. (กฎ. ราชบุรี ๒/๑๐๗), และพระไตรภูวนาทิตยวงศ์ก็ให้ผ้าลายและเสื้อกาสาคนละสํารับ. (พงศ. กรุงเก่า), ฝันว่าห่มผ้าขาวกาสา. (ตําราทํานายฝัน). (ทมิฬและมลายู กาสา ว่า ผ้าดิบ, ผ้าหยาบ).
  19. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  20. คงคลัง : ว. เรียกเงินที่มีอยู่ในคลังในเวลาใดเวลาหนึ่งว่า เงินคงคลัง.
  21. ค่ายผนบบ้านหล่อ : น. เครื่องกีดกั้นขวางทางในสมัยโบราณ ปักเสา สูงราว ๒ ศอก มีไม้เสาทับหลังขวางถนนเป็น ๒ แนวเยื้องไม่ตรงกัน ปลายต่อปลายเกินกันทั้ง ๒ ข้าง เช่น ตั้งหัวถนนป่าตองตรงจวนคลัง ๑ ตั้งท้ายถนนป่าตองต่อถ้าช้างปตูไชย ๑ ค่ายผนบบ้านหล่อ ตั้งรอบ พระราชวังหลวง ๑. (อธิบายแผนที่กรุงศรีอยุธยา), จังหล่อ จั้นหล่อ หรือ จำหล่อ ก็เรียก.
  22. เงินคงคลัง : (กฎ) น. เงินทั้งปวงที่พึงชำระให้แก่รัฐบาลไม่ว่าเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ เงินกู้ หรือเงินอื่นใด ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการได้เก็บ หรือรับเงินนั้นมีหน้าที่ควบคุมให้ส่งเข้าบัญชีเงินคงคลัง หรือคลังจังหวัด หรือคลังอำเภอ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด.
  23. จตุสดมภ์ : น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดย ตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  24. จัตุสดมภ์ : [จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัย โบราณ โดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  25. ฎีกา : น. คําอธิบายขยายความ เช่น ฎีกาพาหุง; ชื่อคัมภีร์หนังสือที่แก้หรือ อธิบายคัมภีร์อรรถกถา; หนังสือที่เขียนนิมนต์พระสงฆ์; ใบแจ้ง การขอเบิกเงินจากคลัง; ใบบอกบุญเรี่ยไร; (กฎ) คําร้องทุกข์ที่ ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์; ชื่อศาลยุติธรรมสูงสุด ของประเทศไทย ซึ่งเรียกว่าศาลฎีกา; การคัดค้านคําพิพากษาหรือ คําสั่งศาลอุทธรณ์ที่คู่ความยื่นต่อศาลชั้นต้น เพื่อเสนอให้ศาลฎีกา พิจารณาพิพากษาหรือวินิจฉัยชี้ขาด; (โบ) ใบเรียกเก็บเงิน. (ปาก) ก.ยื่นคําร้องขอหรือคําคัดค้านต่อศาลฎีกา เช่น คดีนี้จะฎีกาหรือไม่. (ป. ฏีกา).
  26. ตั๋ว : น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.). ตั๋วเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งสั่งให้จ่ายเงินหรือสัญญาว่าจะจ่ายเงิน ตามกฎหมาย มี ๓ ประเภท คือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค. ตั๋วเงินคลัง น. ตั๋วเงินซึ่งออกโดยกระทรวงการคลัง เพื่อเป็นหลักฐานการ กู้เงินระยะสั้นของรัฐบาล. ตั๋วเงินจ่าย (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายลูกหนี้ที่ต้องใช้เงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องหนี้สิน. ตั๋วเงินรับ (บัญชี) น. ตั๋วแลกเงินของฝ่ายเจ้าหนี้ที่จะได้รับเงินตามสัญญา ลงบัญชีในช่องทรัพย์สิน. ตั๋วรูปพรรณ (กฎ) น. เอกสารแสดงตำหนิรูปพรรณสัตว์พาหนะ. ตั๋วแลกเงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้จ่าย ให้ใช้เงินจํานวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน. ตั๋วสัญญาใช้เงิน (กฎ) น. หนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋ว ให้คํามั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือใช้ให้ ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน.
  27. ธนาคารออมสิน : (กฎ) น. ธนาคารที่ตั้งขึ้นเพื่อรับฝากเงินออมสิน ออก พันธบัตรออมสินและสลากออมสิน รับฝากเงินออมสินเพื่อสงเคราะห์ ชีวิตและครอบครัว ทําการรับจ่ายและโอนเงิน ซื้อหรือขายพันธบัตร รัฐบาลไทย ลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังอนุญาต การออมสินอื่น ๆ หรือกิจการอันเป็นงานธนาคาร ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดไว้ และให้ประกอบได้ตามข้อกําหนด และเงื่อนไขที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง.
  28. บสำคัญคู่จ่าย : น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน; (กฎ) หลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน หลักฐานของธนาคารแสดง การจ่ายเงินแก่เจ้าหนี้ หรือหลักฐานการนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ผู้รับที่ธนาคาร และรวมถึงใบนําส่งเงินต่อคลังด้วย.
  29. ประทวนสินค้า : (กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อ ผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจํานําสินค้าที่จดแจ้งไว้ ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.
  30. ผูกพัน : ก. มีความเป็นห่วงกังวลเพราะรักใคร่เป็นต้น; ก่อให้เกิด พันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม; (การคลัง) ก่อหนี้สินผูกมัดรัฐบาลให้ ต้องจ่ายในงบประมาณแผ่นดินต่อ ๆ ไป เช่น หนี้ผูกพัน งบ ประมาณผูกพัน รายจ่ายผูกพัน.
  31. แผนก : [ผะแหฺนก] น. ส่วนย่อย; พวก, หมู่; ส่วนราชการที่รองมาจากกอง เช่น แผนกสารบรรณแผนกคลัง.
  32. ภัณฑาคาร : [พันดาคาน, พันทาคาน] น. โรงไว้ของ, คลังเก็บของ. (ป.).
  33. ภัณฑาคาริก : [พันดาคาริก, พันทาคาริก] น. เจ้าหน้าที่ผู้รักษาคลังเก็บ สิ่งของของสงฆ์. (ป.).
  34. เม็ดเงิน : (ปาก) น. ตัวเงิน เช่น ขณะนี้มีเม็ดเงินอยู่ในคลัง ๔๐๐ ล้านบาท.
  35. ระเบิด : ก. ปะทุแตกออกไป เช่น คลังกระสุนระเบิด, ทําให้ปะทุแตกออกไป เช่น ระเบิดหิน. น. ลูกระเบิด เช่น ทิ้งระเบิด.
  36. รัตน–, รัตน์, รัตนะ : [รัดตะนะ–, รัด, รัดตะ–] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษ และมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ –จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ–ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ–ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ –มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ–นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ–ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ–ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุด ของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคําอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).
  37. รัตนากร : น. คลังเงินทอง; ทะเล. (ส.).
  38. วางฎีกา : ก. ยื่นใบแจ้งขอเบิกเงินจากคลัง; ยื่นฎีกาอาราธนา พระสงฆ์ (มักใช้เนื่องในงานพระราชพิธีหรือรัฐพิธี).
  39. หลักทรัพย์ : (กฎ) น. ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุน ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อ หน่วยลงทุน.
  40. อาคาร : [คาน] น. เรือน, โรง, สิ่งที่ก่อสร้างขึ้นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น; (กฎ) ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สํานักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ และหมายความรวมถึงสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นตามที่กฎหมายกําหนด เช่น อัฒจันทร์ เขื่อน สะพาน อุโมงค์ ป้าย อู่เรือ. (ป., ส. อาคาร, อคาร).
  41. คลั่ง ๑ : [คฺลั่ง] ก. แสดงอาการผิดปรกติอย่างคนบ้า, เสียสติ; โดยปริยายหมายความ ว่า หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งดารา, หมกมุ่นอยู่กับงาน หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คลั่งอำนาจ คลั่งเล่นกล้วยไม้, คลั่งไคล้ ก็ว่า.
  42. คลั่ง ๒ : [คฺลั่ง] (กลอน) ก. คั่ง เช่น ชลเนตรคลั่งคลอนัยนา. (อิเหนา).
  43. คลั่งไคล้ : [-ไคฺล้] ก. หลงใหลในบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, หมกมุ่นอยู่กับ งานหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง, คลั่ง ก็ว่า.
  44. คลิง : [คฺลิง] (โบ; กลอน) ก. คลึง เช่น นกปลิงคลิงคน- ธบุษปรัตนบังอร. (สมุทรโฆษ).
  45. คลึง : [คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อ ให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทําเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึง ด้วยลูกประคบ.
  46. คลุ้ง ๑ : [คฺลุ้ง] ว. กระจาย เช่น ฝุ่นคลุ้ง ควันคลุ้ง; มีกลิ่นตลบ (มักใช้แก่กลิ่นเหม็น).
  47. คลุ้ง ๒ : [คฺลุ้ง] ดู พลวง.
  48. เคล้ง : [เคฺล้ง] ก. เค้ง.
  49. แคลง : [แคฺลง] ก. อาการที่เรือเอียงหรือตะแคง เรียกว่า เรือแคลง; กินแหนง, สงสัย.
  50. โคลง ๑ : [โคฺลง] น. คําประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและ บังคับเอกโทตามตําราฉันทลักษณ์.
  51. [1-50]

(0.0500 sec)