Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คลา , then คล, คละ, คลา, คฬา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คลา, 44 found, display 1-44
  1. คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
  2. คลาคล่ำ : ก. ไปหรือมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝูงชนคลาคล่ำเต็มท้องถนน.
  3. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  4. คละ : [คฺละ] ว. ลักษณะที่ปนกัน ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี เช่น ผลไม้ผลเล็กผลใหญ่ปนกัน เรียกว่า คละกัน.
  5. คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).
  6. แคลงคลา : [แคฺลงคฺลาง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้ เพราะออกจะสงสัย, คลางแคลง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  7. รัชมังคลาภิเษก : น. พระราชพิธีสมโภชเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงครอง ราชสมบัติได้นานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ.
  8. คล่ำ : [คฺลํ่า] น. หมู่. ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ.
  9. คล้า : [คฺล้า] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep. ในวงศ์ Marantaceae ต้นสูง ๑-๒ เมตร แตกแขนงตามลําต้น ใบกว้าง.
  10. คลางแคลง : [คฺลางแคฺลง] ก. แคลงใจ, ไม่แน่ใจหรือวางใจลงไปได้เพราะออกจะสงสัย, แคลงคลาง ก็ว่า, บางทีก็พูดสั้น ๆ ว่า แคลง.
  11. คลา : [คฺลาด] (โบ) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาคลา แลนา. (ลอ).
  12. คลำ : [คฺลํา] ก. กิริยาที่ใช้อวัยวะเช่นมือ แตะ ลูบ หรือควานอย่างช้า ๆ เพื่อให้รู้ ว่าเป็นอะไรอยู่ที่ไหน เช่น คลำหาทางออก คลำหาสวิตช์ไฟ; โดยปริยาย หมายความว่า ค้นหา เช่น คลําหาเงื่อนงําไม่พบ.
  13. คล้ำ : [คฺลํ้า] ว. ค่อนข้างดํา, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า.
  14. เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
  15. จรัล : [จะรัน] (กลอน) ก. เดิน เช่น แปดโสตรสี่ภักตร์ทรงพา หนหงษ์เหินคลา วิหาศจรัลผันผาย. (ดุษฎีสังเวย).
  16. บังกะโล : น. บ้านยกพื้นชั้นเดียว มีระเบียงกว้าง. (ฮ. บงฺคลา; อ. bungalow).
  17. สาชล : (กลอน) น. สายชล, สายน้ำ, เช่น โอ้เรือพ้นวนมาในสาชล ใจยังวนหวัง สวาทไม่คลาคลา. (นิ. ภูเขาทอง).
  18. คละคลุ้ง : [-คฺลุ้ง] (กลอน) ก. คลุ้ง, เหม็นคล้ายกลิ่นของเค็มปนกับของเน่า, เช่น ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง. (โลกนิติ).
  19. คลี่ : [คฺลี่] ก. คลายสิ่งที่ม้วนหรือพับอยู่ เช่น คลี่ผ้า คลี่มวยผม, ทำให้แผ่ออก เช่น คลี่พัด คลี่ไพ่, ขยายออก เช่น ดอกไม้คลี่กลีบ.
  20. มิศร-, มิศรก- : [มิดสะระ-, มิดสะระกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ; ประสมขึ้น. (ส.; ป. มิสฺส, มิสฺสก).
  21. มิส-, มิสก- : [มิดสะ-, มิดสะกะ-] ว. เจือ, ปน, คละ. (ป. มิสฺส, มิสฺสก; ส. มิศฺร, มิศฺรก).
  22. กระจุกกระจิก : ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋า ถือมีแต่ของกระจุกกระจิก, จุกจิก ก็ว่า.
  23. กะตัก : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus ในวงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่าง ครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลม ๒-๗ อัน ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็น เพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ.
  24. กาง ๑ : ก. ถ่างออก เช่น กางขา, คลี่ เช่น กางปีก, เหยียดออกไป เช่น กางแขน, ขึงออกไป เช่น กางใบ กางมุ้ง, แบะออก เช่น กางหนังสือ. ว. ที่ถ่างออก คลี่ออก เหยียดออก ขึงออก หรือ แบะออก เช่น หูกาง ท้องกาง.
  25. ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
  26. เขน ๓ : ก. คลี่ (ขนหางนก), มักใช้เข้าคู่กับคํา กาง เป็น กางเขน.
  27. คลี : [คฺลี] (โบ) น. ลูกกลม เช่น เล่นคลี โยนคลี, (โบ) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่ง ผู้เล่นขี่ม้าตีลูกกลมด้วยไม้ เช่น ให้พระยาสามนต์คนดี มาตีคลีพนันในสนาม. (สังข์ทอง); (ถิ่น-อีสาน) การเล่นแข่งขันอย่างหนึ่งแต่ละฝ่ายใช้ไม้ตีลูกกลม ซึ่งทำด้วยไม้ขนาดลูกมะนาวหรือโตกว่าเล็กน้อย ฝ่ายที่ตีลูกไปสู่ที่หมาย ทางฝ่ายของตนได้ก่อนเป็นฝ่ายชนะ; การเล่นลูกกลมด้วยลีลาเยื้องกรายเพื่อ บูชาเทพเจ้า เช่น นางเริ่มเดาะคลีบูชาพระศรีเทวี. (กามนิต). (เทียบ ส. คุฑ, คุล, โคล; ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  28. ไคล้ : [ไคฺล้] น. เล่ห์กลหรือเงื่อนงำ เช่น ใส่ไคล้.
  29. ไคล ๑ : [ไคฺล] น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกําพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท; ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล.
  30. ไคล ๒ : [ไคฺล] ก. ไป. ไคลคลา [-คฺลา] ก. เดินไป, เคลื่อนไป, คลาไคล ก็ว่า.
  31. ไคล ๓ : [ไคฺล] ก. ทําให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือ เป็นต้นคลึงไปมา.
  32. ฆน-, ฆนะ : [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
  33. จุกจิก : ก. รบกวน, กวนใจ, เช่น อย่าจุกจิกนักเลย. ว. จู้จี้ เช่น เขาเป็นคนจุกจิก; เล็ก ๆ น้อย ๆ, เบ็ดเตล็ดคละกัน, เช่น ในกระเป๋าถือมีแต่ของจุกจิก, กระจุกกระจิก ก็ว่า.
  34. ทำไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันแล้วรวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินแต่ละตาแล้ว การทําไพ่อาจทําให้เป็นประโยชน์แก่ มือใดมือหนึ่งก็ได้.
  35. เบญจพรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด; หลายอย่างคละกัน ไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด เช่น ของเบญจพรรณ, เรียกต้นไม้ต่าง ๆ ที่ปลูกไว้ใน ที่แห่งเดียวกันว่า ไม้เบญจพรรณ, เรียกป่าที่มีไม้หลายพรรณ คละกันว่า ป่าเบญจพรรณ.
  36. ปกิณกะ : [ปะกินนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน, (มักใช้ประกอบหน้าศัพท์) เช่น ปกิณกคดี. (ป. ปกิณฺณก; ส. ปฺรกีรฺณก).
  37. ประกีรณกะ, ประเกียรณกะ : [ปฺระกีระนะกะ, ปฺระเกียนระนะกะ] ว. เรี่ยราย, เบ็ดเตล็ด, กระจาย, ระคนกัน, คละกัน. (ส. ปฺรกีรฺณก; ป. ปกิณฺณก).
  38. ป่าเบญจพรรณ : น. ป่าที่มีไม้หลายพรรณคละกัน.
  39. ผีเสื้อ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี (Heniochus spp.) ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิด ปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว เกล็ดสากมือคลุมถึงบน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด มักเป็นบั้ง แถบ หรือ จุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐–๓๐ เซนติเมตร.
  40. ฟั่นเฝือ : ว. รกชัฏ, ยุ่งเหยิง, ปนคละกันยุ่ง, เคลือบคลุม เช่น สำนวนฟั่นเฝือ.
  41. ยำ ๑ : ก. เคล้าคละ, ปะปน. น. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่งที่ปรุงโดยเอาผักและเนื้อ สัตว์เป็นต้นมาเคล้าเข้าด้วยกัน เช่น ยำเนื้อ ยำเล็บมือนาง ยำปลากรอบ.
  42. แย้ม : ก. เผยอ, คลี่, บานแต่น้อย ๆ, เช่น กุหลาบแย้มกลีบ, เผยอริมฝีปากน้อย ๆ ไม่ถึงกับยิ้ม เช่น พระพุทธเจ้าทรงแย้มพระโอษฐ์, แย้มพราย.
  43. ระคน : ก. ปนหรือผสมให้เข้ากันคละกันเป็นกลุ่มเป็นพวกเป็นต้น เช่น โจทย์ระคน.
  44. ล้างไพ่ : ก. ละเลงไพ่ทั้งกองให้คละกันคนให้ทั่วหลาย ๆ หนแล้ว รวบเข้าเป็นกองใหม่ หลังจากกินกันหลาย ๆ ตาแล้ว.
  45. [1-44]

(0.0736 sec)