คลุม : [คฺลุม] ก. ปกหรือปิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เสียหายหรือทำให้ มองไม่เห็นเป็นต้น เช่น เอาผ้าใบคลุมรถยนต์ไว้ ไม้เลื้อยคลุมหลังคา; ครอบไปถึง เช่น คำนี้คลุมไม่ถึง.
คลุม ๆ : ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ.
คลุมถุงชน : (สํา) น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัว ไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน.
คลุมบรรทม, คลุมประทม, คลุมผทม : (ราชา) น. ผ้าห่มนอน.
คลุมปัก, คลุมปิด : (ราชา) น. กรวยทำด้วยผ้าปักสำหรับครอบพาน.
กรูม : [กฺรูม] ว. กรอม, คลุม, เช่น ห่มเพลาะกรูมกรอกรุยฉุยเฉิดฉัน. (มณีพิชัย).
เคลือบคลุม : ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, ไม่ชัด, เช่น ข้อความเคลือบคลุม.
ปรก ๑ : [ปฺรก] น. ซุ้มเล็ก ๆ ที่พระสงฆ์อาศัยในเวลาอยู่ปริวาส. ก. ปก, ปิด, คลุม, เช่น พระนาคปรก ผมปรกหน้า.
ห่มคลุม : น.เรียกวิธีห่มผ้าของพระภิกษุสามเณรอย่างหนึ่งโดยปิดไหล่ทั้ง ๒ ข้าง.
กรอม ๑ : [กฺรอม] ว. ปกหรือคลุมยาวลงมาเกินควร เช่น นุ่งผ้าซิ่นกรอมส้น.
กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กลุ้ม : [กฺลุ้ม] ก. รวมประดังคับคั่ง เช่น พูดกันกลุ้ม, ปกคลุมอยู่ทําให้มืดคลุ้ม เช่น ควันกลุ้ม เมฆกลุ้ม; รู้สึกอัดอั้นยุ่งใจ เช่น คิดไม่ออกกลุ้มเหลือเกิน; ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม.
กั้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Stomatopoda มีหลายวงศ์ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Squillidae หายใจด้วยเหงือก ลําตัวแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือก ที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๕ แต่ไม่ถึงปล้องที่ ๘ กรี มีลักษณะแบนราบ มี ๖ ขา, กั้งตั๊กแตน ก็เรียก.
กาบบัว : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Mycteria leucocephala ในวงศ์ Ciconiidae ตัวใหญ่ คอและขายาว ลําตัว หัว และคอสีขาว มีแถบดําคาดขวางหน้าอก ขนคลุมปีก ตอนปลาย สีชมพู ปากยาวสีเหลือง อาศัยอยู่ตามบึงและหนองน้ำ กินปลา.
กำกวม ๒ : ว. เคลือบคลุม, คลุมเครือ, มีความหมายได้หลายนัย.
กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
แกลบ ๒ : [แกฺลบ] น. ชื่อแมลงพวกเดียวกับแมลงสาบ แต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาว ๑.๓-๑.๕ เซนติเมตร กว้าง ๕-๑๐ มิลลิเมตร ลําตัวแบน รูปไข่ ขอบหน้าด้านหลังของปล้องอกยื่นออกไปคลุมหัว หนวดยาว ขายาว มีหนามคลุมเต็ม บางชนิดอาศัยอยู่ตามขี้เลื่อย หรือกองแกลบ ที่ผุพัง เช่นชนิด Pycnocelis surinamensis ในวงศ์ Blaberidae แต่บางชนิดอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ตามกองกระดาษหรือเศษขยะมูลฝอย เช่น ชนิด Blattella germanica, Supella supellectilium ในวงศ์ Blattellidae.
ขี้ครอก ๒ :
น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Urena lobata L. ในวงศ์ Malvaceae ดอกสีชมพู ผลมีขนปลายเงี่ยงคลุม. (๒) ดู กระชับ๑.
ขึงอูด : ก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.
ครุย : [คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทําเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวม หรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.
คลุมโปง : ก. กิริยาที่เอาวัตถุเช่นผ้าคลุมมิดทั้งหัวทั้งตัวหรือเกือบทั้งตัว.
จรรมขัณฑ์ : น. ท่อนหนัง, แผ่นหนัง, เช่น ทรงครองอชินจรรมขัณฑ์เป็น เครื่องคลุม. (ม. ร่ายยาว จุลพน). (ส.; ป. จมฺม + ขณฺฑ).
จักจั่น ๑ : น. ชื่อแมลงพวกหนึ่งในวงศ์ Cicadidae มีหลายขนาด ลําตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร และเรียวลงไปทางหาง หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกเหมือนกันตลอด ปีกเมื่อพับจะเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิด เจาะดูดโผล่จากหัวทางด้านล่างที่บริเวณใกล้กับอก ตาโตเห็นได้ชัดอยู่ ตรงมุม ๒ ข้างของหัว ตัวผู้มีอวัยวะพิเศษสําหรับทําเสียงได้ยินไปไกล ระดับเสียงค่อนข้างสมํ่าเสมอ ไร้กังวาน ส่วนใหญ่สีเขียว ที่พบบ่อยเป็น ชนิด Dundubia intermerata.
ฉาทนะ : [ฉาทะนะ] น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกําบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
เซ็น ๑ : น. ไม้ที่สอดเข้ากับลูกตั้งเรือนฝากระแชงอ่อนหรือฝาขัดแตะ. ก. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่ง ประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น, สวน ก็ว่า.
ตด ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งหลายชนิดหลายสกุล เช่น สกุล Pherosophus, Brachinus ในวงศ์ Carabidae หัวและอกเล็ก แคบ ท้องโต ปีกแข็งคลุมส่วนท้องไม่หมด ลําตัวยาว ๒-๓ เซนติเมตร ท้องกว้าง ๕-๘ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลอมเหลืองหรือนํ้าตาลแก่ มีลายสีเข้มตาม หัว อก และท้อง เมื่อถูกรบกวนสามารถปล่อยสารพิษประเภท ควินอลออกมาทางก้นได้ ที่สําคัญได้แก่ ชนิด P. siamensis, P. occipitalis และ P. javanus, พายัพเรียก ขี้ตด.
ตะรังตังกวาง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cnesmone javanica Blume. ในวงศ์ Euphorbiaceae มีขนหยาบคลุมทั่วทั้งต้น ถูกเข้าจะคันและเป็นผื่นตามผิวหนัง.
บุ้ง ๑ : น. ชื่อหนอนผีเสื้อหลายชนิดและหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Arctiidae, Lymantriidae, Lasiocampidae มีขนปกคลุมเต็มลําตัว เมื่อถูกเข้า จะปล่อยนํ้าพิษทําให้เกิดอาการแสบร้อนและคัน เมื่อเจริญวัยจะ เปลี่ยนเป็นดักแด้และฟักออกมาเป็นผีเสื้อกลางคืน, ร่าน ก็เรียก.
เบิก ๑ : ก. เปิด ใช้ในลักษณะอย่างเปิดผ้าคลุมบายศรีออก เรียกว่า เบิก บายศรี, ทําให้กว้าง เช่น เบิกถนนออกไป เบิกท้องร่อง; ขอให้ จ่าย เช่น เบิกเงิน เบิกของ; นําเข้าเฝ้า เช่น เบิกตัว.
ปก ๑ : ก. แผ่ออกคลุมเบื้องบน เช่น ตะไคร้ใบปกดิน. น. กระดาษหรือผ้า หรือหนังเป็นต้นที่หุ้มอยู่ภายนอกสมุดหรือหนังสือเป็นต้น, ใบปก ก็เรียก; แผ่นผ้าที่ติดปากกระเป๋าเสื้อ, แผ่นผ้าที่ติดกับคอเสื้อพับตลบ ลงมาหรือแบะออกทั้ง ๒ ข้าง เช่น ปกเชิ้ต ปกเสื้อนอก.
ปกคลุม : ก. แผ่คลุมอยู่เบื้องบน.
ปลวก : [ปฺลวก] น. ชื่อแมลงในอันดับ Isoptera รูปร่างคล้ายมด แต่ส่วนท้อง กับอกมีขนาดไล่เลี่ยกัน หนวดมีลักษณะเป็นปล้องกลมคล้ายลูกปัด ไม่หักงอเป็นข้อศอกเหมือนมด ส่วนใหญ่ตัวสีขาวหรือครีม ไม่ชอบ แสง อาศัยทํารังรวมกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่บนพื้นหรือใต้ดิน มักจะเอา ดินมาสร้างคลุมทางเดิน บางชนิดทําลายไม้ ต้นไม้ ฯลฯ.
เป็ดผี ๑ : น. ชื่อตั๊กแตนหนวดยาวพวกหนึ่งในวงศ์ Tettigoniidae ทําเสียงดัง หวีดหวิวในเวลากลางคืนโดยใช้ปีกกรีดกัน มีทั้งชนิดที่มีปีกยาว คลุมลําตัว ลักษณะปีกเหมือนใบไม้ เวลาเกาะเหมือนเอาใบไม้ ๒ ใบมาประกบกัน เช่น ชนิด Holochlora siamensis และชนิด ปีกสั้นซึ่งไม่สามารถหุ้มลําตัวได้ เช่น ชนิด Eleandrus titan.
เปลื้อง : [เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทําให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.
ผ้าไตร : น. ผ้า ๓ ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (สบง) อุตราสงค์ (จีวร) และสังฆาฏิ (ผ้าทาบ), ไตร ก็เรียก เช่น ไตรครอง ดอกไม้ คลุมไตร, เรียกเต็มว่า ผ้าไตรจีวร.
ผ้าโพกหัว : น. ผ้าที่ใช้พันหรือคลุมหัว.
ผีเสื้อ ๒ : น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในวงศ์ Chaetodontidae ยกเว้นปลาโนรี (Heniochus spp.) ลําตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก ปากเล็ก บางชนิด ปากยื่นยาวเป็นท่ออยู่ปลายสุดของหัว เกล็ดสากมือคลุมถึงบน ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหาง สีสวยสด มักเป็นบั้ง แถบ หรือ จุดคละกันหลายสี อาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง ขนาดยาวตั้งแต่ ๑๐๓๐ เซนติเมตร.
ผีเสื้อยักษ์ ๒ : น. ชื่อผีเสื้อขนาดใหญ่หลายชนิด เช่น ชนิด Attacus atlas ในวงศ์ Saturniidae ตัวเมียเมื่อกางปีก วัดจากขอบปีกหนึ่งถึงอีกขอบปีกหนึ่ง ยาวได้ถึง ๒๑๒๕ เซนติเมตร ลําตัวยาว ๔๕ เซนติเมตร กว้าง ๑.๕๒ เซนติเมตร ลําตัวและอกคลุมด้วยขนสีนํ้าตาลแดง ปีกสี นํ้าตาลแดงมีลวดลายโดยเฉพาะบริเวณเกือบกึ่งกลางปีกมีลักษณะ บางใสรูปคล้ายใบโพ.
เฝือ ๒ : ว. รก, ยุ่ง, เรื้อ; เคลือบคลุม, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความยังเฝืออยู่, หมดความสำคัญ เช่น มากเสียจนเฝือ, บ่อย ๆ หรือซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนทำให้หมดความสำคัญหรือหมดความสนใจ เช่น เรื่องนี้พูดกัน จนเฝือ.
แฝง : ก. หลบ แอบ ซ่อน เร้น โดยอาศัยสิ่งกําบัง. ว. เคลือบคลุม, ที่ซ่อนเร้น เช่น ความร้อนแฝง.
เพรียง ๓ : [เพฺรียง] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Teredinidae ลําตัวยาวอ่อนนุ่ม เปลือกเล็กมากคลุมเฉพาะด้านหัว เจาะกินเนื้อไม้ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Lyrodus pedicellatus.
โพก : ก. เอาผ้าหรือสิ่งของพันหรือคลุมหัว. ว. เรียกผ้าที่ใช้พันหรือคลุม หัวว่า ผ้าโพกหัว.
ฟั่นเฝือ : ว. รกชัฏ, ยุ่งเหยิง, ปนคละกันยุ่ง, เคลือบคลุม เช่น สำนวนฟั่นเฝือ.
มุ้งกระโจม : น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดานให้ชายด้านล่าง คลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ.
แมลงดำ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กัดกินผิวใบข้าวและธัญพืชอื่น ๆ เห็นเป็น ทางขาวไปตามรอยที่กัดกิน ลําตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร สีดําเป็นมันตลอด ยกเว้นที่ ปีกอ่อน ทั้งอกและปีกแข็งมีหนามแข็งคลุม เช่น ชนิด Dicladispa armigera และ ชนิด Monochirus minor ในวงศ์ Chrysomelidae, แมลงดําหนาม ก็เรียก.
โม่ง : ว. หัวหรือท้ายโตผิดส่วน, ใหญ่โตผิดธรรมดา, เช่น ปลาหัวโม่ง, เรียกผู้ที่เอา ผ้าคลุมหัวในการเล่นของเด็กว่า อ้ายโม่ง, โดยปริยายหมายถึงคนที่คลุมหัวปิดหน้า เพื่อไม่ให้คนจำหน้าได้.
ยุง : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Culicidae โดยทั่วไปลําตัวยาว ๓๖ มิลลิเมตร มีปีก ๑ คู่ ปีกมีเกล็ดติดอยู่ตามเส้นปีกและอาจคลุมไป ถึงหัวและลําตัวด้วย หนวดยาวขนที่ปกคลุมหนวดของตัวเมียสั้น ของ ตัวผู้ยาว ปากเป็นชนิดเจาะดูด เช่น ยุงรําคาญในสกุล Culex ยุงลาย ใน สกุล Aedes ยุงก้นปล่องในสกุล Anopheles เฉพาะตัวเมียกินเลือด.
เยิบยาบ : ว. อาการไหวอยู่กับที่อย่างเนิบ ๆ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นผืนแผ่นบาง ๆ หรือที่ อ่อนไหวได้ในตัว) เช่น หลังคาสังกะสีที่ตะปูหลุดไม่หมดถูกลมพัด เยิบยาบ ลมพัดผ้าคลุมป้ายปลิวไหวเยิบยาบ, พะเยิบพะยาบ ก็ว่า.
ร้อยกรอง : ก. สอดผูกให้ติดต่อกัน, ร้อย ถัก และเย็บงานประเภทประณีต ศิลป์เช่นดอกไม้ให้เป็นรูปต่าง ๆ, เช่น ร้อยกรองข่ายคลุมไตร ร้อยกรอง สไบ; ตรวจชําระให้ถูกต้อง, สังคายนา, ในคําว่า ร้อยกรองพระธรรมวินัย; แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ, เรียบเรียงถ้อยคําให้เป็นระเบียบตาม บัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. น. คําประพันธ์, ถ้อยคําที่เรียบเรียงให้เป็น ระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์.