คล้าย, คล้าย ๆ, คล้ายคลึง : [คฺล้าย, -คฺลึง] ว. เกือบเหมือน.
เที้ยน : ก. เปรียบ, คล้ายคลึง, เหมือน.
ละเมียด : ก. มิดชิดอย่างสุภาพ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ละไม เป็น ละเมียดละไม; คล้ายคลึง, ละม้าย, มักใช้เข้าคู่กับคำ เหมือน เป็น ละเมียดเหมือน.
กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
ก้นบึ้ง : น. ส่วนสุดของสิ่งที่ลึก, ส่วนใต้สุด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้นบึ้งของหัวใจ.
ก้นหอย : น. รอยเส้นขดวนเข้าหาศูนย์กลางอย่างรูปก้นหอยมีที่ นิ้วมือเป็นต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ม้วนผมแบบก้นหอย.
กระจับบก : น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งขึ้นในป่าต่าตามที่น้ำท่วม มักขึ้นปะปนกับ เถากรด ซึ่งดูผาด ๆ คล้ายคลึงกัน ใบคู่ ขอบใบตอนบนที่ใกล้หรือติดกับ ก้านมีต่อมข้างละต่อม ผลนัยว่าแบน ๆ รูปสามเหลี่ยม ไม้ใช้ทําฟืน. (พจน. ๒๔๙๓).
กระดิ่ง : น. เครื่องทําเสียงสัญญาณทําด้วยโลหะ มีรูปคล้ายระฆัง แต่ขนาดเล็กกว่า มีตุ้มเล็ก ๆ อยู่ข้างใน สําหรับทําให้เกิดเสียง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระดิ่งจักรยาน.
กระเดื่อง ๑ : น. ส่วนหนึ่งของครกกระเดื่อง เป็นไม้ท่อนยาว ปลายด้านหัว มีสากสำหรับตำข้าวที่อยู่ในครก เมื่อเหยียบปลายข้างหางแล้วถีบ ลงหลุม หัวจะกระดกขึ้น เมื่อปล่อยเท้าหัวก็จะกระแทกลง; (รูปภาพ กระเดื่อง) เรียกเครื่องจักรนาฬิกาชิ้นหนึ่ง มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเดื่อง.
กระโดด : ก. ใช้กําลังเท้าถีบพื้นให้ตัวลอยสูงขึ้น, โดด ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลากระโดด ตัวพิมพ์กระโดด.
กระบอก ๑ : น. ไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน, ของอื่น ๆ ที่มีรูปคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กระบอกปืน กระบอกตา; ลักษณนามบอกสัณฐาน สําหรับใช้กับ ของกลมยาวแต่กลวง เช่น ข้าวหลาม ๓ กระบอก; เสื้อชนิดหนึ่ง ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แขนยาว ช่วงตัวสั้นเสมอบั้นเอว แขนรัด ตัวรัด คอสูง เรียกว่า เสื้อกระบอก; หุ่นชนิดหนึ่งมีแต่ส่วนหัวและ มือ ๒ ข้าง ลำตัวทำด้วยไม้กระบอก มีผ้าเย็บเป็นถุงคลุม เวลาเชิด ใช้มือสอดเข้าไปจับไม้กระบอกนั้นเชิด เรียกว่า หุ่นกระบอก; (เรขา) รูปตันที่กําเนิดขึ้นจากการเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้ด้านใดด้าน หนึ่งเป็นแกนแล้วหมุนโดยรอบฐาน ปลายทั้ง ๒ ข้างมีหน้าเป็น วงกลม เรียกว่า รูปทรงกระบอก หรือ รูปกระบอก, ลักษณะได้แก่ รูปที่มีสัณฐานกลมยาวและตรงซึ่งมีส่วนสัดกลมเท่ากันตั้งแต่ต้น จนปลาย. (อ. cylinder). (รูปภาพ กระบอก)
กระเปาะ :
น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กอด : ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กะพริบ : [-พฺริบ] ก. ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ.
ก้าน ๑ : น. ส่วนที่ต่อดอก หรือใบ หรือผล กับกิ่งไม้, เรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ก้านตุ้มหู ก้านไม้ขีด; กระดูกกลางแห่งใบไม้ บางอย่าง เช่น มะพร้าวจาก.
เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
เกล็ด : น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอา แต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.
เกาะ ๑ : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบ; ละเมาะ, โดยปริยายใช้เรียก ขึ้นพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้เป็นต้นหนาแน่น มีทุ่งหรือที่เตียนล้อมรอบ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
ขึง : ก. ทําให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียด ออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.
ขุด : ก. กิริยาที่สับ เจาะ แทง หรือ คุ้ยเอาดินหรือสิ่งที่อยู่ในดินขึ้น เช่น ขุดดิน ขุดศพ, อาการที่ขุดดินหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มีรูปร่างตามที่ ต้องการ เช่น ขุดหลุม; เรียกเรือชนิดที่ทําด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือ ให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด; โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขุดเรื่องเก่า ๆ ขึ้นมาพูด, ขุดคุ้ย หรือ คุ้ยเขี่ย ก็ว่า.
เขย่า : [ขะเหฺย่า] ก. อาการที่จับสิ่งใดสั่นหรือยกขึ้นยกลงเร็ว ๆ เพื่อให้สิ่งนั้น กระเทือนหรือเคลื่อนไหว เช่น เขย่าตัวเพื่อให้ตื่น เขย่าขวดเพื่อให้ยา ระคนกัน เขย่ากิ่งไม้เพื่อให้ลูกไม้หล่น, กระเทือน, ทําให้กระเทือน, เช่น รถเขย่า เกวียนเขย่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขย่าขวัญ เขย่าโลก.
เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
คร่อม : [คฺร่อม] ก. ยืนหรือนั่งแยกขาให้ของอยู่ใต้หว่างขา, ยงโย่ให้ของอยู่ใต้ตัว เช่น เอาตัวคร่อมไว้ นอนคร่อม, เอาสิ่งของเช่นโต๊ะเก้าอี้ตั้งในอาการ เช่นนั้น เช่น วางโต๊ะคร่อมกองหนังสือ, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกเรือนคร่อมตอ สร้างสะพานคร่อมคลอง นั่งคร่อม ๒ ตำแหน่ง.
คราบ : [คฺราบ] น. หนังหรือเปลือกนอกของสัตว์บางชนิดที่ลอกออกได้ เช่น คราบงู คราบกุ้ง, โดยปริยายหมายถึงลักษณาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คนบาปในคราบของนักบุญ; รอยเปื้อนติดกรังอยู่ เช่น คราบนํ้า คราบนํ้ามัน.
คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
ควัน : [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่ กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
คว้างเคว้ง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินคว้างเคว้งไม่รู้จะไปไหนดี, เคว้งคว้าง ก็ว่า.
คอก : น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คอกพยาน; (ถิ่น-พายัพ) คุก, เรือนจํา. ว. ลักษณะของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
คั่ว ๒ : ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดย ปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมา หลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่.
คาบ ๒ : ก. เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คาบข่าวไปบอก.
คิ้ว : น. ส่วนโค้งขอบกระบอกตาข้างบนซึ่งมีขนขึ้นที่โค้งนั้น; ไม้ที่ช่างลอก เป็นลวดสําหรับประกอบขอบหรือริมประตูหน้าต่างเป็นต้น, เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คิ้วรถยนต์; เรียกพายที่ทําเป็นลวดใน ใบพายว่า พายคิ้ว.
คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
เคว้งคว้าง : ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมกระแสนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเดินเคว้งคว้างไม่รู้จะไปไหนดี, คว้างเคว้ง ก็ว่า.
แคร่ ๑ : [แคฺร่] น. ที่สําหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทําด้วยฟาก หรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทําเสาเป็น เครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สําหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แคร่สำหรับวางเครื่องยนต์. (รูปภาพ แคร่คานหาม)
งวง ๑ : น. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสําหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทํานํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิด จะเห็นเป็นลํายื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกําลังแรง มาก ลํานี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำ เป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.
งัด : ก. ทําให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง; นํา ออกมาจากที่เก็บ เช่น งัดเอาเครื่องลายครามมาอวด, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งัดเอาเรื่องเก่ามาพูด.
งาแซง : น. งาอย่างหนึ่งคล้ายงาลอบงาไซกันไม่ให้ของข้างในออก แต่ใส่ลงไปได้ ใช้สวมปากข้องปากลันเป็นต้น; เสาเสี้ยมปลายที่ปัก ตะแคงระหว่างเสาระเนียด เพื่อกันไม่ให้ช้างกระแทกเสาระเนียด, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นสําหรับตั้งกีดขวางทางเข้า ประตูค่ายเป็นต้น.
จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
จารึก ๒ : ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะหรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. น. เรียกศิลาที่จารึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นว่า ศิลาจารึก, เรียกสั้น ๆ ว่า จารึก เช่น จารึกอโศก จารึกสุโขทัย.
แจ้ : น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวเล็กเตี้ย หงอนใหญ่ ตัวผู้มีสีสันสวยงามกว่าไก่ตัวผู้ ชนิดอื่น. ว. ลักษณะของต้นไม้เตี้ย ๆ ที่มีกิ่งทอดแผ่ออกไปโดยรอบ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เรือนทรงแจ้.
โจทย์ : [โจด] น. คําถามในวิชาคณิตศาสตร์, โดยปริยายใช้หมายถึงสิ่งที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปัญหานี้เป็นโจทย์ที่รัฐบาลแก้ไม่ตก.
โจน : ก. กระโดดพุ่งไปโดยเร็ว เช่น โจนนํ้า, เผ่นข้ามไป เช่น โจนท้องร่อง, กระโจน ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นํ้าโจน.
ช่อ ๑ : น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้ บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือ เป็นพวงว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็น กลุ่ม หรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟโคมช่อองุ่น.
ช้อน : น. เครื่องใช้สําหรับตักของกิน มีที่จับยื่นออกมา, ลักษณนาม ว่า คัน, ราชาศัพท์ว่าฉลองพระหัตถ์ช้อน; เรียกเครื่องใช้ที่มีรูป คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนรองเท้า; เครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ใหญ่กว่าสวิง ถักเป็นร่างแห ขอบเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือ วงกลม มีด้ามจับ. ก. ตักเอาสิ่งที่อยู่ในนํ้าหรือในของเหลว เช่น ช้อนปลา ช้อนลูกนํ้า ช้อนแหน ช้อนผง; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช้อนหุ้น; เอามือ เป็นต้นสอดลงไปข้างล่างแล้วยกขึ้น เช่น ช้อนศีรษะ; เหลือบขึ้น เช่น ช้อนตา.
ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.