ควัน : [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่ กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
ควันหลง : น. ควันเหลือค้างอยู่, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้ว และกลับปรากฏกระเส็นกระสายขึ้นอีก.
บังหวน, บังหวนควัน : ก. ทําให้ควันหวนตลบขึ้น.
รมควันเด็ก : น. วิธีลงโทษเด็กที่ดื้อมาก ๆ อย่างหนึ่ง โดยเอากาบมะพร้าว แห้งเผาไฟให้ควันรมหน้ารมตาเด็กเพื่อให้สำลักควันจะได้เข็ด.
สวนควัน : ว. อาการที่ย้อนตอบทันที เช่น พูดสวนควัน ยิงสวนควัน เตะสวนควัน.
ควน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เนิน, เขาดิน. (ม. gual, guar).
ทันควัน : ว. ทันทีทันใด, ฉับพลัน.
ปิดควันไฟไม่มิด : (สํา) ก. ปิดเรื่องที่อื้อฉาวไปทั่วแล้วไม่สําเร็จ.
เป็นควัน : ว. อาการที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาอุตลุดเป็นพัลวัน.
ธุม, ธุม- : [ทุม, ทุมะ] (แบบ) น. ควัน. (ป., ส. ธูม).
ธุมา : (กลอน) น. ควัน.
อัคนิพ่าห์, อัคนิวาหะ : น. ควัน. (ส.).
กระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับน้ำตาลปึกให้เข้ากัน อบด้วยควันเทียนให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้ มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
กรุ่น : [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
กลุ้ม : [กฺลุ้ม] ก. รวมประดังคับคั่ง เช่น พูดกันกลุ้ม, ปกคลุมอยู่ทําให้มืดคลุ้ม เช่น ควันกลุ้ม เมฆกลุ้ม; รู้สึกอัดอั้นยุ่งใจ เช่น คิดไม่ออกกลุ้มเหลือเกิน; ชุลมุน, ขวักไขว่, เช่น วิ่งกันให้กลุ้ม.
ก๊าซน้ำตา, แก๊สน้ำตา : น. สารที่อยู่ในสภาพที่แพร่กระจายเป็นไอ หรือควันทําให้ระคายเคืองนัยน์ตาอย่างรุนแรง น้ำตาไหล และมองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่ง. (อ. tear gas).
ขวัดขวิด : [ขฺวัดขฺวิด] ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
เขม่า : [ขะเหฺม่า] น. ละอองดํา ๆ ที่เกิดจากควันไฟหรือดินปืน.
เข้ากระโจม : ก. เข้าไปอยู่ในผ้าที่ทําเป็นกระโจมเพื่ออบให้เหงื่อออก, เข้าไปอบควันยาในกระโจม.
โขมง : [ขะโหฺมง] ก. พลุ่งออกมาพร้อมกันมาก ๆ เช่น ควันโขมง. ว. ฟุ้ง, เอ็ดอึง, เช่น คุยโขมง.
คลุ้ง ๑ : [คฺลุ้ง] ว. กระจาย เช่น ฝุ่นคลุ้ง ควันคลุ้ง; มีกลิ่นตลบ (มักใช้แก่กลิ่นเหม็น).
ฉับพลัน : ว. ทันทีทันใด, ทันทีทันควัน.
ฉุย : ว. อาการที่กลิ่นโชยมากระทบจมูก; อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย; คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย.
ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
ตะเกียงลาน : น. ตะเกียงชนิดไขลานให้ใบพัดหมุนเป่าลมไล่ควันและช่วยให้ไฟ สว่างนวล.
เทียนอบ : น. เทียนที่มีส่วนผสมของสิ่งที่มีกลิ่นหอม จุดใช้ควัน อบขนมเป็นต้น.
ธุมเกตุ : [ทุมะเกด] น. ไฟ, ดาวหาง, ดาวตก, สิ่งที่เป็นหมอกเป็นควันเกิดขึ้น ในอากาศผิดธรรมดา มีรูปคล้ายธงเป็นต้น. (ป., ส. ธูมเกตุ).
ธุมชาล : [ทุมะชาน] น. ควันพลุ่งขึ้น. (ป., ส. ธูมชาล).
น้ำอบ : น. นํ้าที่อบด้วยควันกํายานหรือเทียนอบ และปรุงด้วยเครื่องหอม.
ปล่อง : [ปฺล่อง] น. ช่องหรือรูที่ทะลุขึ้นจากพื้นดิน เช่น ปล่องงู ปล่องหนู, สิ่งที่เป็นช่องกลวงคล้ายท่อตั้งตรงขึ้นไปสําหรับควันขึ้นหรือรับลม, ช่องที่ทะลุขึ้นจากถํ้า.
เปลว : [เปฺลว] น. เรียกไฟที่ลุกแลบออกมาหรือพวยพุ่งขึ้นว่า เปลวไฟ, เรียกควันที่พลุ่ง ๆ ขึ้นไปว่า เปลวควัน, เรียกช่องอยู่เหนือถํ้าที่แลบ ทะลุขึ้นไปเบื้องบนว่า ช่องเปลว หรือ เปลวปล่อง, เรียกสิ่งที่เป็น แผ่นบางอันมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ เช่น ทองคําเปลว, เรียกมัน ของสัตว์ที่ไม่ได้ติดอยู่กับหนัง ว่า มันเปลว, คู่กับ มันแข็ง; ชื่อลาย จําพวกหนึ่งมีปลายสะบัดอ่อนไหวคล้ายเปลวไฟ เช่น กระหนกเปลว.
พลุ่ง : [พฺลุ่ง] ก. อาการที่ไอน้ำหรือควันดันตัวพุ่งออกมาโดยแรง เช่น น้ำ เดือดไอน้ำพลุ่งขึ้นมา ไฟไหม้ควันพลุ่งขึ้นมา, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น โทสะพลุ่งขึ้นมา อารมณ์เดือดพลุ่ง.
ฟ้าหลัว : น. อากาศมัวเนื่องจากในอากาศขณะนั้นมีอนุภาคที่มอง ไม่เห็น เช่น เกลือจากทะเล ควันไฟ ฝุ่นละอองปะปนอยู่เป็น จํานวนมาก.
ม่าน ๑ : น. เครื่องกั้นบัง โดยปรกติทําด้วยผ้า ใช้ห้อยกั้นห้องหรือประตูหน้าต่างเป็นต้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ม่านควัน.
รม : ก. อบด้วยควันหรือไอไฟ เช่น ใช้ควันรมปลากะพงให้หอม ใช้ควันอ้อย รมเป็ดให้หอม รมผึ้งให้หนีหรือให้เมา, ทำให้ควันไฟหรือไอไฟเป็นต้น เกาะติดอยู่ เช่น รมบาตร รมปลาย่างให้แห้ง.
รมยา : ก. ใช้หนังจงโคร่ง เห็ดร่างแห หรือสารบางชนิดเป็นต้น เผาไฟ ให้ควันลอยไปเพื่อทำให้หลับสนิท.
ระงม : ว. เสียงร้องแสดงความเศร้าโศกเสียใจของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ร้องระงม; อบอ้าว, อบด้วยความร้อนหรือควัน, ในคําว่า ร้อนระงม.
ระเบิดไอพิษ : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารพิษซึ่งเมื่อเกิดการระเบิดขึ้นแล้ว จะกลายเป็นไอหรือควันที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและอาจทำให้ ถึงแก่ความตายได้.
ลนควัน : ก. ทําให้อ่อนหรือให้แห้งด้วยควันร้อน.
ลาน ๓ : น. เหล็กแบนที่ม้วนไว้แล้วคลายตัวออก เกิดกําลังดันให้ตัวจักรหมุน เช่น ลานตะเกียง ลานนาฬิกา, เรียกตะเกียงตั้งชนิดไขลานให้ใบพัด หมุนเป่าลมไล่ควัน และช่วยให้ไฟสว่างนวลว่า ตะเกียงลาน.
วัก ๑ : ก. เอาอุ้งมือตักน้ำหรือของเหลวขึ้นมาค่อนข้างเร็ว เช่น ใช้มือวักน้ำ กิน เอามือวักน้ำโคลนสาด, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น วักควัน.
ศอกกลับ : ก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคํา, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.
สะตุ : ก. แปรรูปลักษณะของบางอย่าง เช่นเกลือ สารส้ม จุนสี ให้เป็นผง บริสุทธิ์โดยวิธีทําให้ร้อนจัดด้วยไฟ เพื่อให้สิ่งที่ไม่ต้องการสลาย กลายเป็นควันไป.
หน้ากระฉีก : น. ของหวานทําด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้ เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก.
หมูแฮม : น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า.
อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
ไอ ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะอย่างควัน ลอยออกมาจากของที่ถูกความร้อน ทําให้ระเหย.
ควั่น : [คฺวั่น] น. ที่ต่อขั้วผลไม้หรือดอกที่เป็นรอยรอบเช่นที่ก้านผลขนุนหรือ ทุเรียนเป็นต้น. ก. ทําให้เป็นรอยด้วยคมมีดโดยรอบ. ว. เรียกอ้อยที่ควั่น ให้ขาดออกเป็นข้อ ๆ ว่า อ้อยควั่น.
ควร : [ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคําช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทํา ควรกิน.
แคว้น : [แคฺว้น] น. ดินแดนอันเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์; เดิมหมายถึงประเทศ เช่น แคว้นมคธ แคว้นโกศล ในปัจจุบันหมายถึงเขตปกครองที่เป็น ส่วนย่อยของประเทศ ใหญ่กว่าจังหวัด, รัฐ, เช่น แคว้นสิบสองจุไทย.