เคลื่อน : [เคฺลื่อน] ก. ออกจากที่หรือทําให้ออกจากที่ เช่น เคลื่อนขบวน รถไฟค่อย ๆ เคลื่อนไป, เลื่อนหรือทําให้เลื่อนไปจากที่ เช่น กระดูกเคลื่อน เคลื่อนตู้ไป.
ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
เคลื่อนคลาด : ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง, คลาดเคลื่อน ก็ว่า.
คลอน : [คฺลอน] ว. เคลื่อนไปมาได้ในที่บังคับ เช่น ฟันคลอน. (อะหม คอน ว่า เคลื่อน).
คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
คลิด : [คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คําหลวง มหาราช).
คลาดเคลื่อน : [-เคฺลื่อน] ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง, เคลื่อนคลาด ก็ว่า.
ขับเคลื่อน : ก. ผลักหรือดันให้ไปด้วยแรงดันไอนํ้าหรือกังหันเป็นต้น.
บื๋อ : ว. เสียงดังอย่างเสียงเร่งเครื่องยนต์ โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อน ไปอย่างรวดเร็ว เช่น เรือบื๋อ.
กรีธา : [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการยกทัพ).
จุติ : [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิด หนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
ตยุติ : [ตะยุติ] (แบบ) ก. เคลื่อน, ตาย, (โดยมากใช้แก่เทวดา) เช่น ก็จะจยรตยุติ ลงเกอด. (ม. คําหลวง ทศพร). (ส.; ป. จุติ).
กระดานโต้คลื่น : น. กระดานที่มีลักษณะแคบและยาว ใช้เล่นบนคลื่น โดยผู้เล่นยืนทรงตัวบนแผ่นกระดานแล้วให้คลื่นหนุนเคลื่อนไป. (อ. surfboard), เรียกการเล่นเช่นนั้นว่า การเล่นกระดานโต้คลื่น. (อ. surf-riding).
กระเด็น : ก. เคลื่อนจากที่เดิมหรือแตกแยกจากที่เดิมออกไปโดยเร็ว เพราะกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง.
กระบอกสูบ : น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรง รูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสําหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อน ไปมา.
กลอก : [กฺลอก] ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมา ภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทําให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกน้ำร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น.
กว้างใหญ่ :
ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กวาด : [กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน; เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
กะโผลกกะเผลก : [-โผฺลก-เผฺลก] ว. อาการเดินไม่ปรกติ คือ ยกขาข้างหนึ่งไม่ได้ระดับ กับอีกข้างหนึ่งอย่างคนขาพิการเดิน, อาการที่เดินไปด้วยความ ลําบากหรือเคลื่อนไปบนพื้นที่ที่ขรุขระ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, โขยกเขยก ก็ว่า.
กินขวา, กินซ้าย : ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนล้ำไปทางขวา หรือซ้ายมากเกินควร.
เกย ๒ : น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้น หรือลงพาหนะ; นอกชานหรือพื้นซึ่งสูงขึ้นที่เรียกว่า เนินปราสาท หรือ โคกปราสาท เพราะการก่อสร้างนิยมสร้างบนพื้นที่ถมสูง มีสภาพเป็นนอกชาน เรียกว่า เกย เกยชาลา หรือ ไพที ก็มี. ก. แล่นหรือเสือกขึ้นไปค้างอยู่พาดอยู่, ถูกซัดหรือลากขึ้นไปติดอยู่ ค้างอยู่ เช่น เรือเกยฝั่ง, พาดทับเฉพาะชายหรือริม เช่น ปูเสื่อเกยกัน. (รูปภาพ เกย)
แก้ว ๓ : น. ชื่อตัวหนอนซึ่งเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อ ตามลําตัวมีขนน้อยและ มักเป็นขนสั้น ๆ ผิวลําตัวเป็นมันเลื่อมคล้ายแก้ว มีสีสันต่าง ๆ กัน บางชนิดสีเขียว เขียวปนเหลือง และบางชนิดมีลายเป็นดวง ๆ บางชนิดจะปล่อยสารใสคล้ายแก้วเห็นเป็นทางเมื่อเคลื่อนผ่านไป เช่น หนอนแก้วส้ม (เช่น ชนิด Papilio demoleus) ในวงศ์ Papilionidae.
ขยับ : [ขะหฺยับ] ก. เคลื่อนไหวหรือทําท่าว่าจะทําอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบ; เลื่อนที่ เช่น ขยับตู้ใบนี้ เข้าไปให้ชิดฝา, กระเถิบ เช่น นั่งอยู่ห่างนัก ขยับเข้ามาให้ใกล้. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เช่น ขยับจะจริง.
ขับ ๑ : ก. ต้อนให้ไป, บังคับให้ไป, ไล่; ไล่ตาม; บังคับให้เคลื่อนไปได้ เช่น ขับเกวียน ขับรถม้า, สามารถบังคับเครื่องยนต์ ให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ ไปได้ เช่น ขับรถ ขับเรือ; บังคับให้ออก เช่น ขับปัสสาวะ; ประชดอย่าง ล้อ, พูดล้อเพื่อสนุก.
ขับพล : ก. ยกทัพ, เคลื่อนกองทัพเข้าโจมตีข้าศึก.
เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
เข้า ๑ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
คล้อยคล้อย : ก. ไกลออกไปทุกที, เคลื่อนออกไปไกล. (อะหม คล้อย ว่า ไปช้า ๆ).
คลาไคล : ก. เดินไป, เคลื่อนไป, ไคลคลา ก็ว่า.
คลาด : [คฺลาด] ก. เคลื่อนจากที่หมาย, เคลื่อนจากกําหนดเวลา; ไม่พบ ในคําว่า คลาดกัน.
คลาน : [คฺลาน] ก. ไปด้วยมือและเข่าอย่างเด็ก; กิริยาที่ใช้มือและเท้าทั้ง ๒ ทาบพื้นแล้วเคลื่อนไป เรียกว่า คลานสี่เท้า; กิริยาที่เคลื่อนไปด้วยเข่า และศอก เรียกว่า คลานศอก, ด้วยเข่า เรียกว่า คลานเข่า; กิริยาที่เดินไป อย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป.
คลายคล้าย, คล้ายคล้าย : ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลาย จระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
คลาศ : [คฺลาด] (โบ) ก. คลาด, เคลื่อนจากที่หมาย, เช่น เร่งผ้ายเร่งคลาศคลา แลนา. (ลอ).
คลี่ทัพ, คลี่พล : (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
คลึง : [คฺลึง] ก. ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเบา ๆ แล้วเคลื่อนมือหมุนไปมา เพื่อ ให้กลมหรือให้เรียบเป็นต้น, อาการที่ทําเช่นนั้นด้วยสิ่งอื่น เช่น คลึง ด้วยลูกประคบ.
คลื่น : [คฺลื่น] น. นํ้าในทะเลหรือแม่นํ้าลําคลองเป็นต้น ซึ่งบางส่วนมีอาการ เคลื่อนไหวนูนสูงกว่าระดับโดยปรกติแล้วลดลงและแลเห็นเคลื่อนไป เป็นระยะยาวหรือสั้นบนผิวนํ้า, โดยปริยายใช้แก่สิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คลื่นเสียง คลื่นมนุษย์ ผมดัดเป็นคลื่น ถนนเป็นคลื่น.
คลื่นใต้น้ำ ๑ : น. คลื่นในมหาสมุทรที่มีช่วงคลื่นยาวสมํ่าเสมอและยอด เรียบเคลื่อนตัวมาจากแหล่งกําเนิดที่อยู่ไกลมาก ชาวเรือถือเป็นสัญญาณ บอกเหตุว่าจะเกิดพายุ.
คาร์บอลิก : น. สารฟีนอล (phenol) มีสูตรเคมี C6H5OH ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีกลิ่น ละลายนํ้าได้บ้าง มีฤทธิ์กัด เป็นพิษ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้าง เชื้อโรค ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และสีย้อมผ้า มักเรียก คลาดเคลื่อนว่า กรดคาร์บอลิก. (อ. carbolic).
เครื่องบิน : น. อากาศยานชนิดหนึ่งซึ่งหนักกว่าอากาศ ลอยตัวอยู่ได้ ด้วยการให้พลังงานกลแก่อากาศโดยรอบก่อให้เกิดแรงพยุงขึ้นโต้ตอบ กับความโน้มถ่วงของโลกและใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน.
ไคล ๒ : [ไคฺล] ก. ไป. ไคลคลา [-คฺลา] ก. เดินไป, เคลื่อนไป, คลาไคล ก็ว่า.
จรวด ๒ : [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดย ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิด ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
จรวดนำวิถี : น. อาวุธปล่อยนําวิถีซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด. (อ. guided rocket).
จราจร : [จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมา ตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.
จลนพลศาสตร์ : [จะละนะพนละ-, จนละนะพนละ-] น. สาขาหนึ่งของพลศาสตร์ ว่าด้วย การเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง และแรงที่ก่อให้เกิดการเคลื่อน ที่นั้นด้วย. (อ. kinetics).
จักรยาน : น. รถถีบ, ยานพาหนะประเภทรถที่มีล้อ ๒ ล้อ ล้อหนึ่งอยู่ข้างหน้า และอีกล้อหนึ่งอยู่ข้างหลัง มีโครงเหล็กเชื่อมล้อหน้ากับล้อหลัง มีคันบังคับ ด้วยมือติดตั้งอยู่บนล้อหน้า ขับเคลื่อนด้วยกำลังคนผู้ขี่ซึ่งใช้เท้าถีบบันไดรถ ให้วิ่ง เรียกว่า จักรยานสองล้อ, ถ้ามี ๓ ล้อ เรียกว่า จักรยานสามล้อ.
จักรยานยนต์ : น. รถที่มีล้อ ๒ ล้อ เหมือนกับรถจักรยานขับเคลื่อนด้วยกำลัง เครื่องยนต์, ภาษาปากเรียก รถเครื่อง หรือ มอเตอร์ไซค์.
แฉลบ ๑ : [ฉะแหฺลบ] ก. อาการของสิ่งแบน ๆ เคลื่อนเฉไปเฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น ว่าวแฉลบร่อนกระเบื้องให้แฉลบไปตามผิวน้ำ. ว. อาการที่เคลื่อนเฉไป เฉมาไม่ตรงแนวทาง เช่น นกบินแฉลบ รถวิ่งแฉลบ.
ชระลอ : [ชฺระ] (กลอน) ก. ชะลอ, พยุงให้เคลื่อนไป, ประคองไว้.
ชะลอ : ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป เช่น โคลงชะลอ พระพุทธไสยาสน์, ค่อย ๆ พยุงขึ้น; ทําให้ช้าลง, ทําให้ช้าลง เพื่อรอ เช่น ชะลอเวลา ชะลอการเกิด.
ชักรอก : ก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อน ผ่านร่องของรอกเพื่อยกลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและ สะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้ แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะ ว่า โขนชักรอก.