ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
คล้าย, คล้าย ๆ, คล้ายคลึง : [คฺล้าย, -คฺลึง] ว. เกือบเหมือน.
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
เกรียม : [เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อน มีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.
คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
แท่น : น. ที่นั่งที่นอนเป็นต้นคล้ายเตียง แต่ไม่มีขารองรับ, ยกพื้น เช่น แท่นรับความเคารพ, ที่รองซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น
แทรก ๑ : [แซก] ก. เข้าไปอยู่ในระหว่างสิ่งอื่นในลักษณะที่เบียดเสียดหรือ สอดเป็นต้น เช่น แทรกตัว; เจือเพียงนิดหน่อย เช่น แทรกยาดํา แทรกพิมเสน, เกิดขึ้นในระหว่าง เช่น โรคแทรก; เติมเข้าไปใน ระหว่าง เช่น แทรกเนื้อความ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พูดแทรก. น. ชื่อช้างศึกพวกหนึ่ง มีหน้าที่ สอดแทรกเข้าไปข้างกระบวนทัพคอยช่วยระวังรักษาทัพ, ช้างแซง ก็เรียก.
บาง ๑ : น. ทางนํ้าเล็ก ๆ, ทางนํ้าเล็กที่ไหลขึ้นลงตามระดับนํ้าในแม่นํ้า ลําคลอง หรือทะเล; ตําบลบ้านที่อยู่หรือเคยอยู่ริมบางหรือใน บริเวณที่เคยเป็นบางมาก่อน, โดยปริยายหมายถึงทั้งหมู่ เช่น ฆ่าล้างบาง ย้ายล้างบาง. ว. มีส่วนสูงน้อยจากผิวพื้น, ไม่หนา, มีความหนาน้อย, เช่น มีดบาง ผ้าบาง, โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผสมสุราแต่น้อย ๆ ไม่เข้มข้น เรียกว่า ผสมแต่บาง ๆ, แทงลูกบิลเลียดไปถูกอีกลูกหนึ่งเพียงผิว ๆ เรียกว่า แทงบางไป, เรียกผู้ที่มีผมน้อยกว่าปรกติว่า ผมบาง, เรียกผู้ ที่อายง่ายกว่าปรกติ คือไม่ควรละอาย กลับอายว่า หน้าบาง, ตรงข้าม กับ หน้าหนา, เรียกผู้ที่มีรูปร่างอ้อนแอ้นสะโอดสะองว่า เอวเล็ก เอวบาง หรือเอวบางร่างน้อย, เรียกคนอ่อนแอทนความลําบากไม่ได้ เพราะไม่เคยชินว่า คนผิวบาง.
ประกาย : น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็ง บางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้น กระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยาย หมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจาก กระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
ปลิว : [ปฺลิว] ก. ลอยตามลม, ถูกลมพัด, (ใช้แก่สิ่งที่มีลักษณะเบา), โดย ปริยายใช้เป็นคําเปรียบเทียบ มีความหมายคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินตัวปลิว.
ป้าย ๒ : ก. ทําให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง, ทาอย่างหยาบ ๆ ไม่ต้องการประณีต บรรจง, ทําให้เปรอะเปื้อนด้วยอาการคล้ายเช่นนั้น, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ป้ายความผิดให้ผู้อื่น.
ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
ยัด : ก. บรรจุหรือใส่สิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยอัดดันหรือผลักดันเข้าไป เช่น ยัดที่นอน, บรรจุหรือใส่สิ่งที่ระบุไว้ด้วยอาการเช่นนั้น เช่น ยัดนุ่น ยัดกระสอบ ยัดเข้า ห้องขัง, โดยปริยายหมายถึงบรรจุ ใส่ หรือ ให้ โดยอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาเงินยัดให้เป็นสินบน ยัดความรู้ที่ให้โทษเข้าไปในสมอง; (ปาก) ใช้ แทนคําว่า กิน (ใช้ในลักษณะกินอย่างตะกรุมตะกราม ถือว่าเป็นคำหยาบ).
รังผึ้ง : น. รังที่ผึ้งทําสําหรับอยู่อาศัยและทํานํ้าผึ้ง, รังที่คนทําให้ผึ้งอาศัย ทํารวงข้างใน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; เครื่องสําหรับระบาย ความร้อนของหม้อนํ้ารถยนต์ มีลักษณะคล้ายรวงผึ้ง; ดินเผาหรือเหล็ก เป็นแผ่นเจาะเป็นรู ๆ สําหรับรองถ่านเพื่อให้ลมเดินผ่านได้และขี้เถ้าตก ลงข้างล่าง โดยมากใช้กับเตาอั้งโล่หรือเตาหม้อนํ้าเรือกลไฟเป็นต้น, ตะกรับ ก็ว่า.
รั่ว ๑ : ก. อาการที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นไหลเข้าหรือออกทางรอยแตก หรือรูที่เกิดจากความชํารุด เช่น นํ้ารั่ว ฝนรั่ว. ว. มีรอยแตกหรือมีรูซึ่ง เกิดจากความชํารุดที่อากาศหรือของเหลวเป็นต้นเข้าออกได้ เช่น เรือรั่ว ท่อประปารั่ว หลังคารั่ว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ข่าวรั่ว ข้อสอบรั่ว.
ล่า : ก. ถอย (ใช้แก่คนจํานวนมาก ๆ) เช่น ล่าทัพ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น ล่าถอย เช่น กองทัพต้องล่าถอย; เที่ยวติดตามหา (เพื่อจับ ฆ่า หรือ เพื่อการกีฬา เป็นต้น) เช่น ล่าสัตว์ ตำรวจล่าผู้ร้าย, โดยปริยายหมาย ความว่าเที่ยวแสวงหาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ล่าเมืองขึ้น ล่าผู้หญิง; มาช้ากว่าปรกติ เช่น ฝนล่า ทุเรียนล่า. ว. ช้ากว่าเวลาที่ กําหนด เช่น มาล่า; แตกพ่ายถอยหนีอย่างไม่มีระเบียบ เช่น กองทัพ แตกล่า.
ลิ้ม : ก. ชิม, ลองรสดูด้วยลิ้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลิ้มรสความลําบาก.
ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
ลูกตุ้ม : น. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สําหรับเป็น อาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสําหรับชั่งของ เพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับ เวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยาย หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วง ความเจริญเสียอีก.
แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
วงกต : น. ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทางเข้าออก วกวนอาจทําให้หลงทางได้, เรียกสั้น ๆ ว่า เขาวงก์ ก็มี, เรียกสิ่งที่ ทําคล้ายคลึงเช่นนั้นในงานเทศน์มหาชาติหรืองานรื่นเริงอื่น ๆ เพื่อ ความสนุกว่าเขาวงกต, โดยปริยายหมายถึงวกวนหาทางออกไม่ได้. (ป.).
เว้น : ก. แยกเอาออก (ไม่ให้พัวพันกันอยู่กับสิ่งซึ่งพึงกระทําหรือไม่พึง กระทํา) เช่น ทำเลขทุกข้อเว้นข้อ ๔ เปิดทุกวันเว้นวันนักขัตฤกษ์ วันโกนไม่ละวันพระไม่เว้น, เป็นคําใช้ได้ทั่ว ๆ ไป ถ้าต้องการให้ ทราบชัดว่าเว้นด้วยลักษณะไหน ก็เอาคําอื่นซึ่งมีความหมายคล้ายคลึง กันมาประกอบเข้า เช่น งดเว้น ยกเว้น ละเว้น.
แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
อัง : ก. นําไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อให้ร้อนหรือบรรเทาความหนาวเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอามืออัง หน้าผากดูว่าร้อนหรือไม่.
อ้าซ่า : ว. อาการที่นั่งหรือนอนถ่างขาอย่างเปิดเผย ในความว่า นั่งถ่างขา อ้าซ่า นอนถ่างขาอ้าซ่า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เปิดอกอ้าซ่า, ลักษณะที่ประตูหรือหน้าต่างเปิดแบะออกเต็มที่ เช่น เปิดประตูอ้าซ่า.
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.