ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
ชื้น : ว. มีไอนํ้าซึมซาบอยู่ เช่น อากาศชื้น, ไม่แห้งทีเดียว เช่น ผ้าชื้น.
ชุ่ม : ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
ชุ่มชื้น : ว. มีไอนํ้าหรือนํ้าซึมซาบชุ่มอยู่.
แห้ง : ว. ไม่มีนํ้า, หมดนํ้า, เช่น คลองแห้ง โอ่งแห้ง, ไม่เปียก เช่น ผ้าแห้ง, ที่ไม่ใส่ น้ำ เช่น ก๋วยเตี๋ยวแห้ง บะหมี่แห้ง, ไม่สด เช่น ใบไม้แห้ง; ที่อาจเก็บไว้บริโภค ได้นาน เช่น ของแห้ง หอมแห้ง พริกแห้ง; ไม่แจ่มใส เช่น หน้าแห้ง ยิ้มแห้ง; ขาดความชุ่มชื้น เช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง; โดยปริยายหมายความว่า ฝืดเคือง, อดอยาก, ในคำว่า ไส้แห้ง กระเป๋าแห้ง.
แห้งแล้ง : ว. ปราศจากความสดชื่น, ปราศจากความชุ่มชื้น.
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
ชุ่มชื่น : ก. รู้สึกสดชื่น, สดชื่น.
กระโดน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.
กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
กะลอ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Muell. Arg.
กาซะลองคำ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Radermachera ignea (Kurz) Steenis ในวงศ์ Bignoniaceae ชอบขึ้นตามที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ทางภาคเหนือ เปลือกเรียบสีเทา ดอกสีเหลืองทอง, อ้อยช้าง ก็เรียก.
แขม ๑ : [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
จิก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Barringtonia วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสร เพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [B. acutangula (L.) Gaertn.] จิกบ้าน หรือ จิกสวน [B. racemosa (L.) Roxb.] จิกเล [B. asiatica (L.) Kurz]. (๒) ดู กระโดน.(๓) ดู ตีนตุ๊กแก(๖).
ฉะฉ่ำ : (กลอน) ว. ฉ่า, ชุ่มชื้น.
ฉ่ำ : ว. ชุ่มชื้น, ชุ่มน้ำในตัว.
ชำงือ : (โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชํางือใจ. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).
ตะเคียนเผือก : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Homalium grandiflorum Benth. var. grandiflorum ในวงศ์ Flacourtiaceae มักขึ้นริมนํ้าและที่ชุ่มชื้น ดอกคล้ายดอกพิกุล, ไก๊ หรือ พิกุลป่า ก็ เรียก.
ตะไคร่ : [-ไคฺร่] น. พืชสีเขียวที่เกิดติดอยู่ตามต้นไม้ บางทีก็เกิดในนํ้าและตามพื้นดิน หรือกําแพง ที่ชุ่มชื้น.
นมสวรรค์ : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Clerodendrum paniculatum L. ในวงศ์ Labiatae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ที่โคนใบมีต่อมนูนหลายต่อม ดอกสีแดง อมส้ม ออกเป็นช่อตามยอด ผลเล็กมี ๔ พู ใช้ทํายาได้, พนมสวรรค์ ก็เรียก.
บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
โอเอซิส : น. บริเวณที่ชุ่มชื้นในทะเลทราย ซึ่งมีนํ้าพอที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้. (อ. oasis).
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.