นุ่ม : ว. อ่อนละมุน, อ่อนนิ่ม.
ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
นุ่มนวล : ว. อ่อนหวาน, อ่อนโยน, ละมุนละไม, เพราะพริ้ง, เช่น พูดจา นุ่มนวล กิริยาท่าทางนุ่มนวล.
นุ่มนิ่ม : ว. กิริยามารยาทที่อ่อนโยนน่ารักน่าเอ็นดูอย่างเด็ก ๆ, อ่อนนุ่ม อย่างไข่จะละเม็ด.
ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
แกรไฟต์ : [แกฺร-] น. อัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดํา ลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดํา เนื้ออ่อน เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทําไส้ดินสอดํา เบ้าหลอมโลหะ น้ามันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็วช่วยควบคุมจํานวนอนุภาคนิวตรอนใน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. graphite).
ทุ้ม : ว. ไม่แหลม, ตํ่าแต่มีความนุ่มนวลไม่แกร่งกร้าว, (ใช้แก่เสียง). น. เรียกระนาดที่มีเสียงตํ่ากว่าระนาดเอก แต่มีเสียงนุ่มนวลกว่า มีไม้นวม ๒ อันสําหรับตีว่า ระนาดทุ้ม.
นวม ๑ : น. สิ่งที่มีของอ่อนนุ่มอยู่ข้างใน เพื่อให้ความอบอุ่นหรือเพื่อป้องกันการ เสียดสี การกดดัน การกระทบกระทั่งเป็นต้น เช่น เสื้อนวม เกราะนวม นวมคอ, เรียกผ้าห่มนอนที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้านวม, เรียกกานํ้าที่มี นวมหุ้มเพื่อเก็บความร้อนไว้ได้นานว่า กานวม, เรียกปี่พาทย์ที่ตีด้วย ไม้พันด้วยนวมว่า ปี่พาทย์ไม้นวม.
ผ้านวม : น. ผ้าห่มที่มีของอ่อนนุ่มเช่นสำลีอยู่ข้างในเพื่อให้ ความอบอุ่น.
มันสมอง : น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก.
สมอง : [สะหฺมอง] น. เรียกส่วนที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ เป็นลูกคลื่น เป็นที่รวมประสาทให้เกิดความรู้สึก ฯลฯ ว่า มันสมอง; โดยปริยายหมายความว่า ปัญญาความคิด เช่น เขาเป็น คนสมองดี, หัวสมอง ก็ว่า, (ปาก) ขมอง.
หรดาลกลีบทอง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด เป็นแผ่นอัดแน่น หรือเป็นผง อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๔๙ สีเหลือง เป็นมัน มีสูตรเคมี As2S3 ใช้ประโยชน์เป็นสารให้สีเหลือง ใช้เขียนลายรดนํ้า สมุดดํา เป็นต้น. (อ. orpiment).
หรดาลแดง : น. หรดาลที่มีลักษณะเป็นผลึกแท่งเข็มสั้น เป็นเม็ด หรือ เป็นก้อนอัดแน่น อ่อนนุ่ม มีค่าความถ่วงจําเพาะ ๓.๕ สีแดงหรือแดงส้ม เป็นมัน มีสูตรเคมี AsS, As2S2, As4S4 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม หนังสัตว์ ใช้เป็นตัวทําให้ขนร่วง ใช้ในงานอุตสาหกรรมทํากระสุนปืน ส่องวิถี ใช้ในงานความร้อนสูง เช่น ดอกไม้ไฟ พลุสี ใช้เป็นสารฆ่าสัตว์ แทะ เช่น หนู และใช้เป็นสีทา. (อ. realgar).
ชระมุ่น : [ชฺระ] (กลอน) ว. มุ่น, นุ่ม, เช่น ลานโลมวิไลแถงชระมุ่น อกเอย. (นิ. นรินทร์).
ล่าน : ว. น่วม, นุ่ม, (ใช้แก่ผลไม้).
สัณห์ : ว. เกลี้ยงเกลา; อ่อน, นุ่ม; นุ่มนวล, สุภาพ; งาม, ละมุนละม่อม, ละเอียด. (ป.; ส. ศฺลกฺษฺณ).
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
ถอดความ : ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
ถ้อยความ : น. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้ในสํานวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.
นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
บุคคลผู้ไร้ความสามารถ : [บุกคน-] (กฎ) น. บุคคลใด ๆ ซึ่งไม่มี ความสามารถตามกฎหมาย หรือความสามารถถูกจํากัดโดยบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสามารถ.
เบาความ : ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
เป็นความ : ว. มีคดีพิพาทหรือฟ้องร้องกันในโรงศาล. (ปาก) ก. สู้คดี, สู้ความ.
แปลตามเนื้อความ : ก. แปลเอาความ, แปลตามอรรถ หรือ แปล โดยอรรถ ก็ว่า.
แปลเอาความ : ก. แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยถือ ความหมายเป็นสำคัญ.
พื้นความรู้ : น. ระดับความรู้.