Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความยิ่ง, ยิ่ง, ความ , then ความ, ความยง, ความยิ่ง, ยง, ยิ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความยิ่ง, 3553 found, display 1-50
  1. ยิ่ง : ว. ถ้าอยู่ข้างหลัง หมายความว่า เป็นยอด, ที่สุด, เช่น งามยิ่ง ดียิ่ง, ถ้าอยู่ ข้างหน้า ใช้ในเชิงเปรียบเทียบหมายความว่า เกิน, ลํ้า, เพิ่มขึ้น, เจริญขึ้น, มากขึ้น, ฯลฯ เช่น ยิ่งงาม ยิ่งดี, ถ้าประกอบหน้าคำอื่นมักมาเป็นคู่กันเสมอ เช่น ยิ่งมากยิ่งดี ยิ่งตียิ่งกัด ยิ่งแก่ยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ.
  2. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  3. ภิยโยภาพ : น. ภิญโญภาพ, ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  4. ครัน : [คฺรัน] ว. ใช้ประกอบคําอื่นมีความหมายไปในทํานองว่า นัก, แท้, ยิ่ง, จริง, เช่น ครบครัน เสนาะครัน ดีครัน.
  5. ภิญโญภาพ : น. ความยิ่ง, ความยิ่งขึ้นไป.
  6. ยิ่งใหญ่ : ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความ สามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  7. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  8. ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
  9. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  10. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  11. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  12. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
  13. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  14. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  15. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  16. ยิ่งนัก : ว. อย่างยิ่ง.
  17. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  18. ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
  19. ยิ่งกว่านั้น : ว. มากกว่านั้น.
  20. อภิ : คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมาย ว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
  21. กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
  22. กระลูน : (กลอน) น. ความเศร้าโศก. ว. น่ากรุณา, น่าสงสาร, เช่น อ่อนจิตสวามีอันพูนกระลูนนุกูลภรรยายิ่งยอด กว่าอันภิปราย. (สรรพสิทธิ์). (ป. กลูน).
  23. ขอรับกระผม, ขอรับผม : คำรับด้วยความอ่อนน้อมอย่างยิ่ง (ใช้พูดกับผู้ใหญ่).
  24. เข็น : ก. ดันสิ่งที่ติดขัดไม่อาจเคลื่อนไปได้โดยปรกติให้เคลื่อนไป เช่น เข็นเรือ เข็นเกวียน, ดันให้เคลื่อนที่ไป เช่น เข็นรถ, ใช้เกวียนเป็นต้น บรรทุกไป เช่น เข็นข้าว เข็นไม้; โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. เข็นครกขึ้นเขา, เข็นครกขึ้นภูเขา (สํา) ก. ทํางานที่ยากลำบากอย่างยิ่งโดยต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทน อย่างมาก หรือบางทีก็เกินกำลังความสามารถหรือสติปัญญาของตน.
  25. โคบอลต์ : น. ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มี สมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ใน อุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์ เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).
  26. จงรัก, จงรักภักดี : ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
  27. ดิ้นรน : ก. กระตือรือร้นขวนขวายเพื่อให้พ้นจากความยากลําบาก ความทุกข์ ทรมาน หรือเพื่อให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น ดิ้นรนจะให้พ้นทุกข์ ดิ้นรนอยากเป็น นั่นเป็นนี่.
  28. เทวนิยม : น. ลัทธิที่เชื่อว่ามีพระเจ้าผู้ทรงอํานาจยิ่งใหญ่พระองค์เดียว พระเจ้านั้นทรงมีอํานาจครอบครองโลกและสามารถดลบันดาลความ เป็นไปในโลก. (อ. theism).
  29. เทียว ๒ : ว. คําที่ใช้ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อบังคับหรือเน้นความให้มี ความหมายหนักแน่นยิ่งขึ้น มีความหมายอย่างเดียวกับ ทีเดียว, เชียว, เช่น มาให้ได้เทียวนะ อย่าบอกใครเทียวนะ หมู่นี้เงียบไปเทียวไม่เห็น มาหาบ้างเลย.
  30. ธรณีสูบ : ก. อาการที่แผ่นดินแยกออกทำให้คนที่ทำบาปกรรมอย่างยิ่งตกลง หายไป แล้วแผ่นดินก็กลับเป็นอย่างเดิม เป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ว่า ธรรมชาติจะลงโทษคนที่ทำบาปหนักนั้นเอง โดยผู้อื่นไม่ต้องลงโทษ.
  31. นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
  32. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  33. บรมัตถ์ : [บอระมัด] น. ปรมัตถ์, ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความอย่างสูง, ความจริง ที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก เรียกว่า บรมัตถ์, และยังใช้นําหน้าศัพท์ เช่น บรมัตถบารมี บรมัตถประโยชน์. (ป. ปรมตฺถ).
  34. บังควร : ว. ควรอย่างยิ่ง, เหมาะอย่างยิ่ง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่บังควร หาเป็นการบังควรไม่.
  35. บารมี : [-ระมี] น. คุณความดีที่ควรบําเพ็ญมี ๑๐ อย่าง คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา เรียกว่า ทศบารมี; คุณความดีที่ ได้บําเพ็ญมา, คุณสมบัติที่ทําให้ยิ่งใหญ่, เช่นว่า ชมพระบารมี พระบารมีปกเกล้าฯ พ่ายแพ้แก่บารมี. (ป. ปารมี).
  36. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  37. เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
  38. ไป : ก. เคลื่อนออกจากที่, ใช้ตรงกันข้ามกับ มา, เป็นคําประกอบท้าย กริยาหมายความว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทําไป กินไป, เป็นคํา ประกอบท้ายคําวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
  39. พรหมยาน : น. ยานที่นําไปสู่ความเป็นพรหม คือการบริจาคอัน ยิ่งใหญ่ เช่นบุตรทารทาน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). (ป.).
  40. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ : (กฎ) น. บทบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่ รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบท บัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวน การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการ ตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
  41. ภักดี : น. ความจงรัก, ความเลื่อมใสยิ่ง. (ส. ภกฺติ; ป. ภตฺติ).
  42. ร้ายกาจ : ว. ร้ายมาก, ร้ายยิ่ง, เช่น เด็กคนนี้ความประพฤติร้ายกาจ ขยะ ส่งกลิ่นเหม็นร้ายกาจ.
  43. ลงท้าย : ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้าย ก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควร มิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  44. เลเซอร์ : (ฟิสิกส์) น. เครื่องซึ่งแปลงลําแสงที่ผ่านเข้าไปให้ออกมาเป็นลําแสง สีเดียวที่อัดรวมกันจนมีขนาดลําแสงแคบอย่างยิ่ง และมีความเข้ม สูงมาก, เรียกลําแสงที่ได้ออกมาลักษณะเช่นนี้ว่า ลําแสงเลเซอร์. (อ. laser).
  45. เล่นคำ : ก. ใช้กลการประพันธ์ในการแต่งบทร้อยกรองด้วยการซ้ำคำ หรือซ้ำอักษรให้เกิดเสียงเสนาะ หรือให้มีความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ ยิ่งขึ้น เช่น ยูงจับยูงยั่วเย้า เปล้าจับเปล้าแปลกหมู่ กระสาสู่กระสัง รังเรียงรังรังนาน. (ลอ).
  46. ไว้ : ก. เก็บเข้าที่, เอาเข้าที่, เช่น เอาของไปไว้ที่, วาง เช่นเอาไว้ตรงนั้น แหละ ไว้ของให้เป็นที่, บางทีใช้ประกอบท้ายกริยาบางคําเพื่อให้ ความหมายสมบูรณ์หรือหนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เก็บไว้ รักษาไว้ ปลูกไว้, ให้มีอยู่, ให้ดํารงอยู่, รักษา, เช่น ไว้จุก ไว้หนวด ไว้ชีวิต ไว้ยศ.
  47. ศิลปะประยุกต์ : น. กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทาง ศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติเพื่อพัฒนาศิลปะให้มีความงามหรือ เป็นประโยชน์แก่สังคมยิ่งขึ้นเป็นต้นอย่างในการออกแบบ เครื่องแต่งกาย.
  48. สนธิสัญญา : น. หนังสือสัญญาที่สําคัญยิ่งและทําเป็นตราสาร สมบูรณ์แบบ, ความตกลงระหว่างประเทศ; หนังสือสัญญาที่ทําขึ้น ระหว่างประเทศเอกราชตั้งแต่ ๒ ประเทศขึ้นไป. (อ. treaty).
  49. สะบั้น : ว. อาการที่แยกหรือขาดจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น สัมพันธภาพขาด สะบั้น ความรักขาดสะบั้น, โดยปริยายหมายความว่า อย่างยิ่ง, อย่างมาก, เช่น กินสะบั้น.
  50. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3553

(0.2907 sec)