Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสะอาด, สะอาด, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสะอาด, 3322 found, display 1-50
  1. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  2. สะอาด : ว. ไม่สกปรก เช่น เสื้อผ้าสะอาด บ้านเรือนสะอาด น้ำสะอาด, หมดจด, ผ่องใส, เช่น จิตใจสะอาด, ไม่มีตําหนิ, บริสุทธิ์, ไม่ทุจริต, เช่น เขาเป็น คนใจซื่อมือสะอาด.
  3. พิศุทธิ์ : น. ความผ่องใส, ความงาม, ความดี, ความสะอาด, ความบริสุทธิ์, ความถูกต้อง; การล้าง. (ส. วิศุทฺธิ; ป. วิสุทฺธิ).
  4. สังสุทธ์, สังสุทธิ : [สุด, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด; การชําระ, การล้าง. (ส. สํศุทฺธ, สํศุทฺธิ).
  5. เศาจ : [เสาจะ] น. ความสะอาด, ความบริสุทธิ์; การชําระล้าง; ความ ซื่อตรง. (ส. เศาจ, เศาจฺย; ป. โสเจยฺย).
  6. ศุจิ : น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุจิ).
  7. ศุทธะ, ศุทธิ : [สุดทะ, สุดทิ] น. ความบริสุทธิ์, ความสะอาด. (ส.; ป. สุทฺธ, สุทฺธิ).
  8. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  9. ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
  10. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  11. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  12. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  13. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
  14. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  15. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  16. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  17. สะอาดสะอ้าน : ว. สะอาดหมดจด เช่น เด็กคนนี้หน้าตาสะอาดสะอ้าน.
  18. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  19. ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
  20. เครื่องสำอาง : น. สิ่งเสริมแต่งหรือบํารุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม ฯลฯ ให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ว่า เครื่อง พระสําอาง; (กฎ) วัตถุที่มุ่งหมายสําหรับใช้ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือกระทําด้วยวิธีอื่นใดต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของ ร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความ สวยงาม และรวมตลอดทั้งเครื่องประทินผิวต่าง ๆ ด้วย.
  21. ชำระ : ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชําระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชําระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชําระความ; ใช้ในคําว่า ชําระหนี้.
  22. ซักแห้ง : ก. ทําความสะอาดเสื้อผ้าหรือสิ่งทอต่าง ๆ ด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก หรือแช่ลงในสารละลายเคมี.
  23. โซเดียมไฮโดรเจนซัลเฟต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHSO4 ลักษณะเป็นของแข็ง ละลายนํ้าได้ใช้ประโยชน์เป็นสารทํา ความสะอาดแผ่นเหล็กก่อนที่จะฉาบด้วยดีบุก. (อ. sodium hydrogen sulphate).
  24. ทำเวร : ก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทํางาน โดยเฉพาะทําความสะอาด ห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทําเวรทํากรรม ก็ว่า.
  25. นคราทร : [นะคะราทอน] (เลิก) น. ชื่อกรมมีหน้าที่ทําความสะอาด ให้แก่พระนคร.
  26. บริสุทธิ์ใจ : ว. มีนํ้าใสใจจริง, มีใจใสสะอาด, เช่น ทําด้วยความบริสุทธิ์ใจ.
  27. พิศุทธ์ : ว. สะอาด, ใส, ขาว, หมดจด, บริสุทธิ์, หมดมลทิน, ไม่มีความ เสียหาย, ไม่มีตําหนิ. (ส. วิศุทฺธ; ป. วิสุทฺธ).
  28. ภารโรง : [พาน–] น. ผู้รักษาและทําความสะอาดสถานที่.
  29. โยธา ๒ : น. งานที่ต้องใช้กําลังกายเกี่ยวกับการก่อสร้างมีแบก หาม ทําความสะอาด เป็นต้น เรียกว่า งานโยธา.
  30. รักษ์, รักษา : ก. ระวัง เช่น รักษาสุขภาพ, ดูแล เช่น รักษาทรัพย์สมบัติ, ป้องกัน เช่น รักษาบ้านเมือง, สงวนไว้ เช่น รักษาความสะอาด รักษาไมตรี; เยียวยา เช่น รักษาคนไข้. (ส.; ป. รกฺข).
  31. โวทาน : น. การทําให้สะอาด; ความบริสุทธิ์. (ป.).
  32. เศาไจย : [ไจ] น. คนซักฟอก, คนทําความสะอาด. (ส. เศาเจย).
  33. สะเพร่า : [เพฺร่า] ว. อาการที่ทําอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.
  34. หมดจด : ว. สะอาด, ผ่องใส, เช่น เขาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสะอาดหมดจด; ไม่มีตําหนิ, ไม่ด่างพร้อย, เช่น เขามีความประพฤติหมดจด.
  35. หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
  36. อนามัย : น. ความไม่มีโรค, สุขภาพ. ว. เกี่ยวกับสุขภาพ, ถูกสุขลักษณะ, เช่น ข้าวอนามัย กรมอนามัย, (ปาก) สะอาดปราศจากสารพิษ เจือปน เช่น ผักอนามัย. (ป., ส.).
  37. กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
  38. กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
  39. กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
  40. เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
  41. ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
  42. คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
  43. คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
  44. คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
  45. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  46. คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
  47. จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
  48. จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
  49. จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
  50. แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3322

(0.1321 sec)