เกี่ยวข้อง : ก. ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เกี่ยว ก็ว่า.
ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
สัมพันธภาพ : น. ความผูกพัน, ความเกี่ยวข้อง, เช่น สัมพันธภาพ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตดีขึ้นตามลำดับ.
ข้องแวะ : ก. ติดต่อ, เอาใจใส่, เกี่ยวพัน, เกี่ยวข้อง, มักใช้ในประโยค ที่มีความหมายเป็นเชิงถามหรือปฏิเสธ.
สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กับ ๒ : เป็นคําที่เชื่อมคําหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกันหรือ เกี่ยวข้องกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หายวับไปกับตา.
กิตติกรรมประกาศ : น. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและ แสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
ทั้งขึ้นทั้งล่อง : (สํา) ว. มีความเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ไม่พ้นไปได้ (มักใช้ในทํานองไม่ดี).
เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
พร้อมหน้า, พร้อมหน้าพร้อมตา : ว. รวมอยู่เป็นจํานวนมากอย่าง พร้อมเพรียงกัน (ใช้แก่คนที่มีความเกี่ยวข้องกัน) เช่น มากันพร้อม หน้า มากันพร้อมหน้าพร้อมตา.
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
ภูมิศาสตร์ประชากร : น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเน้นหนักใน เรื่องเกี่ยวกับประชากรในถิ่นต่าง ๆ ของโลก โดยพิจารณาถึงสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรนั้น ๆ เช่น การกระจาย การย้ายถิ่นฐาน ความหนาแน่น.
โภชนาการ : [โพชะนา, โพดชะนา] น. วิทยาศาสตร์ประยุกต์แขนงหนึ่ง ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต.
มือที่สาม : น. บุคคลฝ่ายที่ ๓ ซึ่งมิใช่คู่กรณี แต่สอดเข้ามาเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมหรือชีวิตของผู้อื่น มักจะเข้ามายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก หรือบ่อนทำลาย.
แมวมอง : น. กองทหารที่มีหน้าที่คอยเหตุ, แมวเซา ก็เรียก; ผู้ที่คอยสังเกตหรือซุ่มดู ว่ามีใครสวยหรือเล่นกีฬาเก่ง แล้วแนะนำให้วงการที่เกี่ยวข้องชักชวนมาเป็นดารา ประกวดความงาม หรือร่วมแข่งขันกีฬา เป็นต้น.
ละ ๑ : ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐาน ที่เข้าใจ ละพยศ; เว้นว่างคําหรือข้อความไว้ไม่กล่าวให้เต็ม โดย ใช้เครื่องหมาย ฯ หรือ ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย หรือ ไปยาลใหญ่ หรือเขียนว่างเป็นจุด ๆ ดังนี้
หรือเว้นว่างไว้โดยใช้เครื่องหมาย ดังนี้ '' แสดงว่ามีคําหรือข้อความซํ้ากับบรรทัดบน. ว. คําประกอบ คํานามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจํานวนรวม ซึ่งกําหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คําประกอบกริยาเพื่อ เน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
วัตถุวิสัย : ว. ที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ โดยไม่เกี่ยวกับความคิดหรือ ความรู้สึก; เรียกการสอบแบบที่ผู้สอบมักไม่มีโอกาสแสดงความ คิดเห็นส่วนตัว เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ตายตัวว่าการสอบ แบบวัตถุวิสัย, ปรนัย ก็ว่า. (อ. objective).
สัมพันธไมตรี : น. ความเกี่ยวข้องผูกพันกันฉันมิตร เช่น ประเทศไทย มีสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน.
ปัวเปีย : ก. นัวเนีย, ปะปน, เกี่ยวข้อง, คลุกคลี.
แยแส : ก. เอาเป็นธุระ, เกี่ยวข้อง, สนใจ, เอาใจใส่, (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เขาไม่แยแสว่าใครจะคิดอย่างไร.
กระบวนความ : น. แบบแผนของเนื้อความหรือเรื่องราว เช่น ครบถ้วนกระบวนความ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กินความ : ก. หมายความไปถึง, ได้ความครบอย่างกะทัดรัด.
เก็บความ : ก. เลือกเอาแต่ข้อความที่สําคัญ.
ไข้ความร้อน, ไข้แดด : น. ไข้ที่ขึ้นเร็วและสูงเพราะถูกความร้อนจัด อาจ มีอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ชัก และต่อไปอาจสลบโดยไม่มีเหตุอื่นร่วม. (อ. heat stroke).
คนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. คนวิกลจริตซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ.
คนเสมือนไร้ความสามารถ : (กฎ) น. บุคคลที่ไม่สามารถจัดการงาน ของตนเองได้ เพราะกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ประพฤติ สุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา และศาลได้สั่งให้เป็นคน เสมือนไร้ความสามารถ.
คำคู่ความ : (กฎ) น. บรรดาคําฟ้อง คําให้การหรือคําร้องทั้งหลายที่ยื่น ต่อศาล เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความ.
คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
จับความ : ก. จับใจความ, เข้าใจความหมาย.
จำกัดความ : ก. ให้ความหมายอย่างกะทัดรัด, กําหนดความหมาย.
จำกัดความรับผิดชอบ : น. บริษัทจำกัดซึ่งจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น ไว้ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่ารวมของหุ้นที่ตนถือ.
แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
ถอดความ : ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.