คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
คอเชิ้ต : น. ปกเสื้อแบบติดคอ ปลายปกแหลม มีสาบเชื่อมระหว่างปก กับตัวเสื้อเพื่อเสริมให้ปกตั้งขึ้น.
คอเดียวกัน : ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหน ไปด้วยกันเสมอ.
คอเป็นเอ็น : (สํา) ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น. (คาวี).
คอวี : น. คอเสื้อที่ตัดแหลมตรงกลางคล้ายรูปตัว V, คอรูปตัววี หรือ คอแหลม ก็เรียก.
คอเสื้อ : น. ส่วนของเสื้อที่ชิดคอหรือที่คว้านให้เป็นวงเพื่อสวมหัวได้, ส่วนประกอบของคอเสื้อ มีแบบต่าง ๆ เช่น คอตั้ง คอแบะ.
คอกะลาสี : น. ปกเสื้อแบบกะลาสี ด้านหน้ารูปแหลมแบะออก ด้านหลัง เป็นแผ่นรูปสี่เหลี่ยม.
คอขวด : น. ส่วนของถนน สะพาน หรือลำน้ำตอนที่แคบเข้า.
คอขาดบาดตาย : ว. ร้ายแรงถึงอาจต้องสูญเสียชีวิตได้.
คอทองแดง : (ปาก) ว. ที่ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ.
คอทั่งสันหลังเหล็ก : (สำ) ว. แข็งแกร่ง, ทรหดอดทน.
คอเป็ด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.
คอรวง : น. ก้านช่อดอกหรือก้านรวงของข้าว.
คอระฆัง : น. ส่วนพระเจดีย์ตรงคอด ต่อองค์พระเจดีย์ (ที่เรียกระฆัง) กับบัลลังก์.
คอสะพาน : น. ส่วนของถนนที่ต่อกับเชิงสะพาน.
คอหนัง : (ปาก) น. นาวิกโยธินอเมริกัน.
คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน : (สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรี ของความเป็นคน.
คอฮาวาย : น. ปกเสื้อชนิดปลายแหลม สาบแบะออกตอนบนให้รับกับปก.
กลั้วคอ : ก. ดื่มน้ำแต่น้อย ๆ พอให้ชุ่มคอ.
เกลียวคอ : น. กล้ามเนื้อที่คอ สําหรับทําให้เอี้ยวคอได้สะดวก.
ขาดคอช้าง : ก. ถูกฟันตายบนคอช้างเมื่อเวลาชนช้างกัน, ขาดหัวช้าง ก็เรียก.
แขวนคอ : ก. เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ ไม่ให้เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตายเป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของ ชาวตะวันตกบางประเทศ.
ชูคอ : ก. ชะเง้อคอ, อาการที่นั่งยืดคอวางท่าภาคภูมิ.
ทำปากทำคอ : ก. จีบปากจีบคอเวลาพูด.
บัวคอเสื้อ : น. แผ่นผ้าทาบรอบคอเสื้อ; ลายบัวที่อยู่ใต้บัลลังก์ ปราสาท.
ปากคอ : น. ปาก เช่น ปากคออยู่ไม่สุข.
เป่าคอ : ก. เป่ายาเข้าไปในคอ; อาการที่แก๊สในท้องพุ่งขึ้นมาทางลำคอ เนื่องจากร้อนใน เรียกว่า ลมเป่าคอ.
ผ้าพันคอ : น. ผ้าสําหรับพันคอเพื่อกันหนาวเป็นต้น.
พอหอมปากหอมคอ : (ปาก) ว. พอสมควร, พอดี ๆ, นิด ๆ หน่อย ๆ, เช่น กินพอหอมปากหอมคอ พูดพอหอมปากหอมคอ.
ยักคอ : ก. เอียงคอไปในทางตรงกันข้ามกับยักเอว เป็นท่าประกอบการ รำไทยอย่างหนึ่ง.
ลากคอ : ก. จับตัว, ดึงตัว, เช่น ลากคอเข้าตะราง.
ล้างคอ : ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อล้างรสขื่น ของเหล้า.
ล้างคอมะพร้าว : ก. ดึงทางหรือรกที่แห้งคาคอมะพร้าวออกเพื่อให้ มะพร้าวตกจั่น.
โล่งคอ : ก. อาการที่รู้สึกว่าลำคอปลอดโปร่งชุ่มชื่นเพราะดื่มน้ำชา หรือซดน้ำแกงร้อน ๆ เป็นต้น.
กดคอ : (ปาก) ก. บังคับเอา.
ก้างขวางคอ : น. ผู้ขัดขวางมิให้ทําการได้สะดวก, ผู้ขัดขวางให้ผู้อื่นเสียประโยชน์.
เกี้ยวคอไก่ : น. วิธีนุ่งผ้าเอาชายพกรัดอีกชายหนึ่งไว้ แล้วเหน็บให้แน่น.
ขว้างงูไม่พ้นคอ : (สํา) ก. ทําอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง.
ค่อ :
(ถิ่น-อีสาน) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
คานคอดิน : น. คานที่วางบนเสาตอม่อ มักจะอยู่เสมอระดับดิน.
จีบปาก, จีบปากจีบคอ : ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง.
ปากคอเราะราย : ว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, ปากเปราะ เราะราย ก็ว่า.
ปากปราศรัยใจเชือดคอ : (สํา) ก. พูดดีแต่ใจคิดร้าย.
ลวกปาก, ลวกปากลวกคอ : ก. อาการที่กินของร้อนจัดทำให้รู้สึกว่า ปากแทบพองชั่วระยะหนึ่ง.
ล้วงคอ, ล้วงคองูเห่า : (ปาก) ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอา ทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม.
ห่วงคล้องคอ : น. ความรับผิดชอบที่ผูกพันอยู่.
หาห่วงมาคล้องคอ : (สํา) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน.
กรรฐ์, กรรฐา : [กัน, กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
กัณฐ-, กัณฐา : [กันถะ-] (แบบ) น. คอ. (ป.).
คล : [คน] (แบบ) น. คอ เช่น เหลือกตาเมียงเอียงคล. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส.).