คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
พิลาส : [พิลาด] ก. กรีดกราย, เยื้องกราย; คะนอง; ฟ้อนรํา. ว. งามอย่างมี เสน่ห์, งามอย่างสดใส; สนุก. (ส. วิลาส).
ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
เคี่ยมคะนอง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Shorea henryana Pierre ในวงศ์ Dipterocarpaceae ลําต้นสูงตรงมาก มีมากตามป่าดิบทางภาค ตะวันออกและภาคใต้.
ตลกคะนอง : ว. อาการที่พูดหรือทําให้ขบขันด้วยกิริยาวาจาที่ไม่สุภาพ.
พายุฟ้าคะนอง : น. พายุที่มีทั้งฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนัก บางครั้งมีลูกเห็บตกลงมาด้วย.
ฟ้าคะนอง : น. ฟ้าลั่นติดต่อกัน.
วัยคะนอง : น. วัยหนุ่มสาวที่ชอบสนุกสนาน, วัยหนุ่มสาวที่กำลังฮึกห้าว.
กระเหิม : ว. เหิม, กําเริบ, คะนอง.
คึก : ว. คะนอง, ลําพอง, ร่าเริง, ฮึก ก็ว่า.
คึกคาม : ก. คึกคะนอง.
ประคัลภ์ : (แบบ) น. ความกล้า, ความสามารถ, ความคะนอง. ว. คล่องแคล่ว, ประเปรียว. (ส.).
ป่องร่า : (โบ) น. อาการของคนคะนองไม่กลัวใคร ชวนวิวาทกับผู้อื่น. (ปรัดเล).
ฟอง ๓ : ก. คะนอง, กําเริบ.
ฟุ้งเฟ้อ : ว. คะนอง, ได้ใจ, เห่อเหิม; ใช้จ่ายเกินควรเกินฐานะ, ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่สมควร.
ละเลิง : ก. เหลิงจนลืมตัวเพราะลําพองหรือคึกคะนอง เช่น หลงละเลิง จนลืมอันตราย.
หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
เหิมฮึก : ว. ลำพองใจด้วยความคะนอง, ฮึกเหิม ก็ว่า.
โหมฮึก : ก. ระดมเข้าไปด้วยความคะนอง, ฮึกโหม ก็ว่า.
อุททาม : [อุด] ว. คะนอง, ปราศจากความเหนี่ยวรั้ง. (ป. อุทฺทาม).