Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คะ , then , คะ, คา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คะ, 486 found, display 1-50
  1. คะ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
  2. คะ : ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
  3. เออ ๆ คะ : ก. รับฟังโดยไม่ขัดคอ, รับฟังไปตามเรื่องตามราว โดยไม่แสดงความคิดเห็น, เช่น ฉันก็เออ ๆ คะ ๆ ไปอย่างนั้นแหละ.
  4. คะค้อย : (กลอน) ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อย ไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร. (ตะเลงพ่าย).
  5. คะใน : (โบ) บ. ข้างใน, ในกลอนเขียนเป็น คใน เช่น ปางพระไปนอน คในพนานต์ พระเอาภูบาล ไปสมกัลยา. (สมุทรโฆษ).
  6. อักษรต่ำ : [อักสอน] น. พยัญชนะที่คําเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียง สามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คําตายสระสั้น พื้น เสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คําตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ ?เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ ? เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.
  7. นัค ๒, นัคคะ : [นักคะ] (แบบ) ว. เปลือยกาย เช่น นัคสมณะ ว่า ชีเปลือย. (ป. นคฺค).
  8. ภุชคะ, ภุชงค์, ภุชงคมะ : [พุชะคะ, พุชง, พุชงคะมะ] น. งู, นาค. (ป., ส.).
  9. มาตังคะ : [-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).
  10. มิค, มิค-, มิคะ : [มิคะ, มิกคะ-] น. สัตว์ป่ามีกวางอีเก้งเป็นต้น. (ป.).
  11. หกคะเมน : ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือ ทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางที ใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
  12. : พยัญชนะตัวที่ ๔ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น โรค มรรค มารค เทคนิค.
  13. จาคะ : น. การสละ, การให้ปัน. (ป.; ส. ตฺยาค).
  14. เจ้าคะ : ว. คำที่ผู้หญิงใช้เรียกหรือถามผู้ใหญ่อย่างสุภาพ.
  15. ธรรมจาคะ : น. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
  16. ภุชคะ, ภุชงค์, ภุชงคมะ : ดู ภุช๑ภุช–.
  17. เภกะ, เภคะ : น. กบ (สัตว์). (ป., ส.).
  18. ยาคะ : น. ยัญพิธี. (ป., ส.).
  19. สัค, สัคคะ : น. สวรรค์. (ป.; ส. สฺวรฺค).
  20. อุรคะ : น. ''ผู้ที่ไปด้วยอก'' คือ งู, นาค. (ป. อุรค ว่า ไปด้วยอก).
  21. มาฆ-, มาฆะ ๑ : [-คะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตกราวเดือนกุมภาพันธ์. (ป., ส.).
  22. มัคสิระ : [-คะสิระ] น. ชื่อเดือนที่ ๑ แห่งจันทรคติ, เดือนอ้ายตกราวเดือนธันวาคม. (ป. มคฺคสิร, มาคสิร; ส. มารฺคศิรสฺ).
  23. คคน-, คคนะ : [คะคะนะ-] (แบบ) น. ฟ้า. (ป., ส.).
  24. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  25. คคนัมพร : [คะคะนําพอน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อมฺพร).
  26. คคนางค์ : [คะคะนาง] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + องฺค).
  27. คคนานต์ : [คะคะนาน] น. ฟ้า. (ป., ส. คคน + อนฺต).
  28. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  29. คณนะ, คณนา : [คะนะนะ, คะนะ-, คันนะ-, คนนะ-] (แบบ) ก. นับ เช่น สุดที่จะคณนา, คณานับ ก็ว่า เช่น สุดคณานับ. (ป., ส.).
  30. คณบดี : [คะนะบอดี] น. หัวหน้าคณะในมหาวิทยาลัยหรือในสถาบัน ที่เทียบเท่า. (ป., ส. คณ + ปติ).
  31. คณาจารย์ : [คะนาจาน] น. คณะอาจารย์. (ส. คณ + อาจารฺย).
  32. คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
  33. คณิต, คณิต- : [คะนิด, คะนิดตะ-] น. การนับ, การคํานวณ, วิชาคํานวณ, มักใช้เป็น คําหลังของวิชาบางประเภท เช่น พีชคณิต เรขาคณิต.
  34. คณิตศาสตร์ : [คะนิดตะสาด] น. วิชาว่าด้วยการคํานวณ. (ส. คณิต + ศาสฺตฺร).
  35. คดี : [คะดี] น. เรื่อง, มักใช้ประกอบคําศัพท์ เช่น โบราณคดี คดีโลก คดีธรรม วรรณคดี สารคดี; (กฎ) เรื่องหรือความที่ฟ้องร้องหรือกล่าวหากันในทาง กฎหมาย ซึ่งต้องดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความตามที่กฎหมาย กำหนด เช่น คดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง. (ป. คติ).
  36. -คต : [-คะตะ, -คด] ก. ถึงแล้ว, ไปแล้ว, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น ตถาคต สุคต สวรรคต ทิวงคต. (ป.).
  37. คติ ๑ : [คะติ] น. การไป; ความเป็นไป. (ป.).
  38. คติ ๒ : [คะติ] น. แบบอย่าง, วิธี, แนวทาง. (ป.).
  39. คทา : [คะทา] (แบบ) น. ตะบอง. (ป.).
  40. คมน-, คมน์ : [คะมะนะ-, คมมะนะ-, คม] (แบบ) น. การไป, การถึง, มักใช้ประสม กับคําอื่น เช่น สรณคมน์ คมนาการ. (ป.).
  41. คมนาการ : [คะมะนากาน, คมมะนากาน] น. การไป, การถึง. (ป. คมน + อาการ).
  42. คมนาคม : [คะมะนาคม, คมมะนาคม] น. การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่ง การพาณิชยนาวี การสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. (ป. คมน + อาคม).
  43. คมิกภัต : [คะมิกะ-] น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง. (ป. คมิกภตฺต).
  44. ครหา : [คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).
  45. ครุ ๒ : [คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตําราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มี ตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ?แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้ เครื่องหมาย ? แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).
  46. ครุ ๓ : [คะรุ] น. ครู. (ป. ครุ, คุรุ, ว่า ครู; ส. คุรุ ว่า ครู).
  47. ครุก- : [คะรุกะ-] (แบบ) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก. (ป.).
  48. ครุกรรม : [คะรุกำ] น. กรรมหนัก มีทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล, การได้บรรลุ ฌานสมาบัติเป็นครุกรรมฝ่ายกุศล การกระทำอนันตริยกรรมเป็น ครุกรรมฝ่ายอกุศล.
  49. ครุกาบัติ : [คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุ ต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวช ใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
  50. ครุภัณฑ์ : [คะรุพัน] น. ของที่ใช้ทนทาน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-486

(0.0699 sec)