คาถา ๒, คาถาอาคม : น. คําเสกที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์.
อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
วิชาอาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิชา อาคมให้ศิษย์, วิทยาคม ก็ว่า.
วิทยาคม : น. เวทมนตร์, คาถาอาคม, เช่น อาจารย์ถ่ายทอดวิทยาคม ให้ศิษย์, วิชาอาคม ก็ว่า. (ส.).
ตะกรุด : [-กฺรุด] น. เครื่องรางอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะหรือใบลานเป็นต้น โดยปรกติลง คาถาอาคม แล้วม้วนเป็นรูปกลมยาวและกลวง, กะตรุด ก็ว่า.
ฝังรอย : น. วิธีทําคุณอย่างหนึ่ง โดยเอารอยตีนของอมิตรมาเสก คาถาอาคม แล้วนําไปฝังที่ใต้บันไดเรือน ป่าช้า หรือทางสามแพร่ง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฝังรูป เป็น ฝังรูปฝังรอย.
คาถา ๑ : น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
คาถาพัน : น. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถา ภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็น คาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.
เกจิอาจารย์ : น. ``อาจารย์บางพวก'', อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถ ในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).
ผู้วิเศษ : น. ผู้มีอิทธิฤทธิ์, ผู้รอบรู้เวทมนตร์คาถาอาคม.
ฝังรูป : น. วิธีทําคุณอย่างหนึ่ง โดยปั้นรูปสมมุติของอมิตรขึ้นด้วย ขี้ผึ้งหรือดินเหนียวจากป่าช้า เสกคาถาอาคม แล้วนําไปฝังที่ใต้บันได เรือน ป่าช้า หรือทางสามแพร่ง, มักใช้เข้าคู่กับคำ ฝังรอย เป็น ฝังรูปฝังรอย.
ร้อนวิชา : (สํา) ก. เกิดความเร่าร้อนเนื่องจากคาถาอาคมจนอยู่ไม่เป็น ปรกติ; เร่าร้อนอยากจะแสดงวิชาความรู้พิเศษหรือคาถาอาคมจนผิด ปรกติวิสัย.
เล่าเรียน : ก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหา ความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.
วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
สะเดาะ : ก. ทําให้หลุดออกมาด้วยคาถาอาคม เช่น สะเดาะโซ่ตรวน สะเดาะ กุญแจ; ทำให้หมดสิ้นไปหรือเบาบางลง เช่น ทำบุญสะเดาะเคราะห์ ปล่อยนกปล่อยปลาสะเดาะเคราะห์.
เดินคาถา : ก. ว่าคาถาในเทศน์มหาชาติเรื่อยไป.
กรกฎาคม : [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตาม สุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
คมนาคม : [คะมะนาคม, คมมะนาคม] น. การติดต่อไปมาถึงกัน, การสื่อสาร; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการคมนาคม การขนส่ง การพาณิชยนาวี การสื่อสาร และการอุตุนิยมวิทยา. (ป. คมน + อาคม).
ธันวาคม : น. ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๙ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ส. ธนุ + อาคม = เดือน ที่อาทิตย์มาสู่ราศีธนู).
นวังคสัตถุศาสน์ : [นะวังคะสัดถุสาด] น. คําสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้ามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).
เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป อาคม = มา.
พิทยาคม : น. การเล่าเรียนวิชา, เวทมนตร์. (ส. วิทฺยา + อาคม).
ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
มกราคม : [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
มีนาคม : น. ชื่อเดือนที่ ๓ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๒ ตามสุริยคติ ซึ่งขึ้นต้นด้วยเดือนเมษายน. (ป. มีน + อาคม).
เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
อาเทศ ๒ : [เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่ง ไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศ สระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชาย ที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้ง ต่างปีก สากตําข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
เข้าตัว : ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือ พูดให้ร้ายแก่ผู้อื่น แล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
ชักยันต์ : ก. ลากเส้นและลงอักขระเป็นรูปยันต์ต่าง ๆ พร้อมทั้ง บริกรรมคาถา; ขี่ม้าแปรขบวนเป็นรูปคล้ายยันต์.
ชาตรี : [ตฺรี] น. ผู้ที่มีศิลปะวิชาอาคมหรือมีฝีไม้ลายมือในการต่อสู้ เช่น ชายชาตรี; ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อยเดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก เรียกว่า ละครชาตรี; ชื่อเพลงบทละครและเพลงอื่น ๆ มีคํา ชาตรี นําหน้า คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน. (เงาะป่า; บทแผ่นเสียง; ศกุนตลา).
ถม ๑ : น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทําโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้า ประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่อง ประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางามว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ ลงในพื้นที่เป็นช่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อน อบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่าถมยาดำ.
ทำคุณ : ก. ประกอบพิธีเพื่อทําร้ายฝ่ายตรงข้ามโดยใช้เวทมนตร์คาถา เสกสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เข้าไปอยู่ในตัวของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้น, ทําคุณ ทําไสย ก็ว่า.
ทุกนิบาต : น. ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาที่กําหนดด้วยธรรม หรือคาถาที่แบ่งหมวดอย่างละ ๒. (ป.).
ธรรมบท : น. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกาย.
นะ ๒ : น. ชื่อตัวตั้งธาตุน้ำของเวทมนตร์คาถาทางเมตตามหานิยม เช่น เขาคง มีนะดี ใคร ๆ เห็นก็เมตตา.
น้ำมันมนตร์ : น. นํ้ามันมะพร้าวที่เสกเป่าด้วยเวทมนตร์คาถา เชื่อกันว่า ทาแก้เมื่อยขบเป็นต้น.
ปถมัง : [ปะถะหฺมัง] น. วิธีทําผงด้วยเวทมนตร์คาถาเพื่อความศักดิ์สิทธิ์.
ปลุกตัว : ก. นั่งเข้าสมาธิแล้วบริกรรมคาถา เพื่อให้อยู่คงกระพันชาตรี.
ปลุกผี : ก. นั่งบริกรรมคาถาจนกระทั่งผีลุกขึ้นมาหรือปรากฏกาย เพื่อใช้ให้ไปทําประโยชน์ตามที่ตนปรารถนา หรือเพื่อลนเอานํ้ามัน จากคางผีตายทั้งกลม ที่เรียกกันว่า น้ำมันพราย สำหรับดีดให้หญิง หลงรัก; รื้อฟื้นเรื่องที่ยุติไปแล้วขึ้นมาใหม่ เช่น ปลุกผีคอมมิวนิสต์.
ปลุกพระ : ก. บริกรรมคาถาเสกพระเครื่องเพื่อให้เกิดความขลัง.
เป่ากระหม่อม : ก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิด เมตตามหานิยมเป็นต้น.
เป่ามนตร์ : ก. เสกคาถาแล้วเป่าลงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายมีกระหม่อมเป็นต้น.
ผีกระหัง : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิม เป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้ กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของ โสโครก, คู่กับ ผีกระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง.
พระเจ้าห้าพระองค์ ๑ : น. เรียกคาถา นโมพุทธายะ ว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์.
ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
รัว ๑ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เพลงหนึ่ง ใช้ในโอกาสเช่นร่ายเวทมนตร์คาถา แปลงกายหรือเนรมิตตัว.