คุณธรรม : [คุนนะ-] น. สภาพคุณงามความดี.
ก็แหละ : นิ. คําขึ้นต้นใหม่ต่อข้อความเดิม เช่น ก็แหละการที่ บุคคลจะมีความเจริญได้นั้น จะต้องมีคุณธรรม.
คนดี : น. คนที่มีคุณความดี, คนที่มีคุณธรรม.
คนร้าย : น. คนที่ไม่มีคุณธรรม; คนทําผิดอาญา, อาชญากร.
ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
เปี่ยม : ก. เต็มถึงขอบ, เกือบจะล้น, เช่น แกงเปี่ยมหม้อ น้ำเปี่ยมฝั่ง, เต็มที่, บริบูรณ์, เช่น เปี่ยมด้วยคุณธรรม เปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา.
ภูมิธรรม : [พูมทํา] น. พื้นจิตใจที่มีคุณธรรม.
โมไนย : [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทานการให้ ๒. ศีลความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะการบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะความซื่อตรง ๕. มัททวะความอ่อนโยน ๖. ตปะความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสาความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติความอดทน ๑๐. อวิโรธนะความไม่คลาดธรรม. (ส.).
ลงคอ : ว. อาการที่ทําสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้น โดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบาก ลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
วัตถุประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น วัตถุประสงค์ของ มัธยมศึกษาก็เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และมีคุณธรรม, จุดประสงค์ ก็ว่า.
สัตบุรุษ : [สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).