คุ้ม ๓, คุ้มเท้า : สัน. ตราบเท่า เช่น แต่น้อยคุ้มใหญ่, คุง หรือ คุ้ง ก็ว่า.
คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
คุ้ม ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. บ้านเจ้านายฝ่ายเหนือ.
คุ้มกัน : ก. คอยป้องกันให้ปลอดภัย, คุ้มครองให้พ้นจากบางสิ่งบางอย่าง เช่น คุ้มกันโรค คุ้มกันไม่ให้ถูกฟ้องร้อง.
คุ้มโทษ : (โบ) ก. ได้รับความคุ้มกันที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ เช่น อหนึ่ง ผู้ตามโจรได้รบพุ่งฟันแทงมีบาดเจบท่านว่าคุ้มโทษ. (สามดวง).
คุ้มห้าม : ก. ยกเว้นจากความต้องห้ามและภาษีอากรโดยมีหนังสือ เป็นตราภูมิ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ตราภูมิ เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
คุ้มเกรง : ก. ปกป้องไว้ให้คนอื่นเกรงกลัว.
คุ้มดีคุ้มร้าย : ว. มีสติไม่ปรกติ, บางคราวดีบางคราวร้าย, ดีบ้างร้ายบ้าง.
คนดีผีคุ้ม : (สํา) น. คนทําดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
คุง : (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุ้ง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุ้ง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
คุ้ง : น. ส่วนเว้าโค้งเข้าไปของฝั่งนํ้าด้านที่ตรงกันข้ามกับหัวแหลม. (โบ) ว. ยาว, อ้อม, นาน, ตลอดไป, คุง ก็ว่า. (โบ) สัน. ตราบเท่า, คุง คุ้ม หรือ คุ้มเท้า ก็ว่า.
กะลา ๑ : น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคําไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สํา) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.
กิจจะ : (กลอน) น. กิจ เช่น กอบกิจจะคุ้มขัง. (ชุมนุมตํารากลอน). (ป.).
คนร้ายตายขุม : (สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.
คม ๑ : ก. ก้ม, คํานับ, ไหว้, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงคมในความหมายว่า ทรงไหว้. (กร่อนมาจาก บังคม). (ข.).
คม ๒ : น. ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า. ว. ไม่ทื่อ เช่น มีดคม, บาดได้ เช่น ป่านคม; เฉียบแหลม เช่น ปัญญาคม; ชัดเจน เช่น ภาพคม เส้นคม, โดยปริยายใช้สําหรับตาและปากซึ่งมี ลักษณะอย่างของที่คมอาจบาดหรือแทงใจได้.
ฆ่าช้างเอางา : (สำ) ก. ทำลายของใหญ่เพื่อให้ได้ของเล็กน้อยซึ่งไม่คุ้มค่ากัน.
เจ้าพ่อ : น. เทพารักษ์ผู้คุ้มเกรงถิ่นนั้น ๆ, ผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
เจ้าแม่ : น. เทพารักษ์ผู้หญิงที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์จะให้ความคุ้มเกรงรักษาได้ เช่น เจ้าแม่ทับทิม, หญิงผู้เป็นใหญ่หรือมีอิทธิพลในถิ่นนั้น.
ตราภูมิ : (โบ) น. หนังสือประจำตัวสำหรับคุ้มค่าน้ำค่าตลาดสมพัตสรได้เพียง ราคา ๑ ตำลึง. (ประกาศ ร. ๔), มักใช้เข้าคู่กับคำ คุ้มห้าม เป็น ตราภูมิคุ้มห้าม.
ฟั่นเฟือน : ว. หลงใหล, เคลิบเคลิ้ม, เผลอสติ, คุ้มดีคุ้มร้าย, เช่น มีสติฟั่นเฟือน จิตใจฟั่นเฟือน.
มหาจักร ๓ : น. ดาว ๘ ดวง มีอาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ และราหู ซึ่งอยู่ในราศีนิยม เช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ อาทิตย์อยู่ราศีกรกฎ ตามที่ท่านกำหนดไว้ย่อมทรงคุณทำให้เจ้าของ ชะตาเด่นขึ้นหรือคุ้มโทษต่าง ๆ ได้.
มือปืน : น. ผู้ที่พกพาอาวุธปืนคอยคุ้มกันผู้มีอิทธิพลหรือ บุคคลสำคัญเป็นต้น, ผู้ที่รับจ้างยิงคน, ผู้ที่ยิงเขาตาย.
เรือคอร์เวต : น. เรือรบที่มีระวางขับน้ำประมาณ ๖๕๐๑,๕๐๐ ตัน มี หน้าที่หลักเป็นเรือเร็วคุ้มกันและปราบเรือดำน้ำ.
เรือรบ : น. เรือที่ต่อหรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการรบ มีขีดความสามารถ ต่าง ๆ เช่น ต่อตีเรือข้าศึก คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง และระดมยิงฝั่ง เป็นต้น มีหลายประเภท เรียกชื่อตามลักษณะและหน้าที่ที่สำคัญ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำ เรือลาดตระเวน เรือวางทุ่นระเบิด.
เรือลาดตระเวน : น. เรือรบขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำประมาณ ๖,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ตัน มีความเร็วและมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานมากกว่า เรือประจัญบานมีหน้าที่ลาดตระเวน ตรวจการรุกล้ำทางฝั่งน้ำและทาง อากาศยาน คุ้มกัน สนับสนุนกองเรือลำเลียงเป็นต้น.
ลอย : ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลัก แหล่ง, ไม่มีตําแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็น พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บน ผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้ม หรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
ลาดตระเวน : ก. เที่ยวตรวจไปทั่วเพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูเป็นต้น เช่น หน่วยลาดตระเวน เครื่องบินออกลาดตระเวน ตำรวจทหารลาด ตระเวนไปตามชายแดน. น. เรียกเรือรบขนาดใหญ่ประเภทหนึ่ง มีหน้าที่ลาดตระเวนเพื่อค้นหา ทำลายเรือรบข้าศึก และให้ความ คุ้มกันสนับสนุนกองเรือลำเลียงของฝ่ายตนว่า เรือลาดตระเวน.
สติฟั่นเฟือน : ว. คุ้มดีคุ้มร้าย.
คมในฝัก ๑ :
ดู คมน-, คมน์.
คมในฝัก ๑ : (สํา) ว. มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ.
คมในฝัก ๒ : น. ชื่อเพลงยาวกลบทและกลอักษร.
มีดสองคม : น. มีดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายมีดพก แต่มีคมทั้ง ๒ ด้าน.
ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
ศาต : ว. ลับแล้ว, คม, แหลม; แบบบาง. (ส.).
คุ่ม ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica) คุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และคุ่มอกลาย (T. suscitator) วงศ์หลังตีนมี ๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (Coturnix chinensis) คุ่มอกดํา (C. coromandelica) และคุ่มญี่ปุ่น (C. japonica).
คุ่ม ๒ : ว. ค่อมน้อย ๆ เช่น หลังคุ่ม, โค้งเข้า, โค้งลง.
ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
บุษบาคม : น. ฤดูดอกไม้. (ส.).
ฝ่าคมหอกคมดาบ : (สํา) ก. เสี่ยงภัยในสงคราม, เสี่ยงอันตรายจาก อาวุธนานาชนิด.
พรรษาคม : น. การเริ่มฤดูฝน. (ส.).
ไม้คมแฝก : น. อาวุธชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบ เหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.
หน้าเข้มคม : น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำ หรือดำแดง).
ธารา ๒ : (แบบ) น. ชาย, ขอบ, คม (มีด). (ส.).
อาคม : [คม] น. เวทมนตร์, บางทีใช้คู่กับ คาถา เป็น คาถาอาคม; การมา, การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น มีนาคม คือ มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงราศีมีน. (ป., ส.).
กริช : [กฺริด] น. อาวุธชนิดหนึ่ง คล้ายมีด ๒ คม ปลายแหลม ใบมีดตรงก็มีคดก็มี เป็นของชาวมลายู.
คมน-, คมน์ : [คะมะนะ-, คมมะนะ-, คม] (แบบ) น. การไป, การถึง, มักใช้ประสม กับคําอื่น เช่น สรณคมน์ คมนาการ. (ป.).
เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป อาคม = มา.
ผลา : [ผฺลา] น. ง้าว; ก้อนหิน. ว. กล้า; คม.