งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
งี่เง่า : (ปาก) ว. โง่มาก.
โง่เง่า : ว. โง่มาก.
งงเป็นไก่ตาแตก : (สำ) ก. งงมากจนทำอะไรไม่ถูก.
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
งั่ง ๑ : น. รูปหล่อด้วยโลหะเหมือนพระพุทธรูป แต่ไม่มีผ้าพาด, เรียก พระพุทธรูปที่ยังไม่ได้ทําพิธีเบิกพระเนตร.
งั่ง ๒ : ว. โง่ไม่เป็นประสีประสา.
งั่ง ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง. (พจน. ๒๔๙๓).
แง่ง ๑ : น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น.
แง่ง ๒, แง่ง ๆ : ว. เสียงขู่ของหมาเมื่อจะกัดกันในเวลาแย่งอาหารกันเป็นต้น.
โง่ง ๆ, โง่งเง่ง : ว. โย่ง ๆ, อาการเดินก้าวยาว ๆ ของคนผอมสูง.
ทุงงะ : (ถิ่น-ปัตตานี) น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Acrossocheilus dukai ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัว ตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดดําที่โคนครีบหาง พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลําธารบริเวณภูเขา ทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่.
เซ่อ : ว. เขลาเพราะไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน, ไม่รอบคอบ, งง.
กรลุมพาง : [กระ] (โบ) น. กระลุมพาง, กลองหน้าเดียว, เช่น ปี่จีนโสดสรใน ใดต่าง ทงงกรลุมพางพอฟงง. (ม. คำหลวง มหาราช).
กรสาปน, กรสาปน์ : [กฺระสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์ เช่น แลพราหมณ์น้นนได้ทอง ร้อยกรสาปน เปนลาภด้วยเดอรขอทานทุกวันวารแก่มหาชน ทงงหลายบมิขาดเลย. (ม. คําหลวง ชูชก). (ส. การฺษาปณ).
กระกรับกระเกรียบ : (โบ; กลอน) ว. กระด้าง, หยาบ, เช่น หนงงหยาบสุรเสียงศัพท์ ดูก็กระกรับกระเกรียบ. (ม. คําหลวง กุมาร).
กระเกรอก : [-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
กระชง : (โบ) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า, เช่น นอนกระชงใจคราง ครั่นแค้น. (นิ. ตรัง), ภาษาถิ่นปักษ์ใต้ใช้ว่า ชง.
กราง ๒ : [กฺราง] (โบ; กลอน) ว. เสียงอย่างเสียงใบตาลแห้งที่ถูกลมพัด กระทบกัน เช่น ด่งงไม้รงงรจิตร อันอยู่ชชิดทางเทา ร่มเย็นเอาใจโลกย์ ลําโล้โบกใบกราง. (ม. คําหลวง ชูชก).
กริ้ว : [กฺริ้ว] (ราชา) ก. โกรธ, เคือง, ในบทกลอนโบราณใช้ในที่สามัญก็มี เช่น ฝูงมหาชนท้งงหลายกริ้วโกรธ. (ม. คําหลวง ชูชก).
กรุกกรัก : ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง. (คาวี). ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม. (ม. ร่ายยาว ชูชก). ว. เสียงนกเขาขันคู, จุ๊กกรู๊ ก็ว่า. [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). [กฺรุ้งกฺริ่ง] ก. แสดงสีหน้า แววตา และท่าทางเจ้าชู้, กรุ้มกริ่ม ก็ว่า. [กฺรุงขะเหฺมา] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ใบรูปสามเหลี่ยมปลายมน ผลกลม เมื่อสุกสีแดง.
กรุง : [กฺรุง] น. เมืองหลวง, เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งรัฐบาลกลาง, แต่ก่อนหมายถึงประเทศก็ได้ เช่น กรุงสยาม กรุงจีน; (โบ) กษัตริย์ เช่น จึ่งกรุงสุทโธทนเห็นอัศจรรย์ก็ทูลพลันด่งงนี้ฯ. (ม. คำหลวง ทศพร).
กลม ๔ : [กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อม กับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.
กลหาย : [กะละ-] (โบ; กลอน) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
กษัยเลือด : น. กษัยเนื่องจากเลือด น้ำเหลือง และเสมหะเป็นพิษ. [กะสาบ] (แบบ) น. กระษาปณ์, เงินตราที่ทําด้วยโลหะ, ตําลึง (= ๒๐ มาสก) เช่น ได้ถึงร้อยกษาปณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว). [กะสีระ] (แบบ) น. น้ำนม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กษิดิ, กษีดิ : [กะสิดิ, กะสีดิ] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร),. อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่า พระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร). (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์).
กษีณาศรพ : [กะสีนาสบ] (แบบ) น. ขีณาสพ, พระผู้สิ้นอาสวะ, พระอรหันต์, เขียนเป็น กษีณาศรพ กษิณาศรพย และ กษิณาสยพ ก็มี เช่น อันว่าพระโลกยเชษฐาจารย์ ก็มีพุทธโองการพระคาถา ให้กษิณาศรพทงงหลายฟงง ดังนี้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), อันว่าพระสาศดาบพิตร จะปกาสิตคาถา แก่กษิณาศรพยทงงหลาย ด่งงนี้. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ส. กฺษีณ + อาสฺรว).
กันดาล : [-ดาน] น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (ข. กณฺฎาล).
กำเนียจ : [กำเหฺนียด] ว. เกียจ, คด, ไม่ซื่อ, โกง; คร้าน; (โบ) เขียนเป็น กำนยจ ก็มี เช่น อนนว่าพระโพธิสัตว์ก็ใส่กลกล่าว กํานยจกยจแก่นางพญาด่งงนี้. (ม. คําหลวง กุมาร).
กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
เกิบ ๒ : (โบ) ก. กําบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์. (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา. (สรรพสิทธิ์).
ข่า ๓ : น. ชื่อสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ในมหาชาติคําหลวงแปลจากศัพท์ว่า สุสู, คือ จระเข้, เช่น มงงกรฉลองเข้ข่าก็มี. (ม. คําหลวง มหาพน).
ควั่งคว้าง : [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
เครียว : [เคฺรียว] (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
งงงัน : ก. งงจนทําอะไรไม่ถูก.
งุนงง : ก. งงซึมเซา, ฉงน, มึน.
จตุรงค์ : ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
จรลาด, จรหลาด : [จะระหฺลาด] (กลอน) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว. (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า. (กำสรวล).
จระกล้าย : [จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).
จิกปีก : ก. งงจนไม่รู้จะทําอะไรได้ (มาจากอาการของไก่ที่ถูกตีจนงง แล้วเอาปากจิกปีกตัวเอง).
ชง ๒ : (ถิ่นปักษ์ใต้) ว. งง, ชะงัก, ประหม่า.
ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
บุหงง : [-หฺงง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Desmos blumei Finet ในวงศ์ Annonaceae ดอกสีเหลือง กลีบดอกประสานกันเป็นถุง.
ปั่นหัว : ก. ทำให้งง (มาจากการกัดจิ้งหรีด โดยจับตัวที่แพ้มาปั่นหัว ให้งง เพื่อจะได้สู้ต่อไป) เช่น ปั่นหัวจิ้งหรีด; (ปาก) ยุให้ผิดใจกัน.
แป้งแช่ :
(ถิ่น) น. ปลาทุงงะ. (ดู ทุงงะ).