งอกงาม : ก. เจริญผลิดอกออกผล.
undefined : [จะเริน] ก. เติบโต, งอกงาม, ทําให้งอกงาม, เช่น เจริญทางพระราชไมตรี เจริญสัมพันธไมตรี, มากขึ้น; ทิ้ง เช่น เจริญยา, จำเริญยา ก็ว่า; ตัด เช่น เจริญเกศา, จำเริญเกศา ก็ว่า; สาธยาย, สวด, (ในงานมงคล) เช่น เจริญพระพุทธมนต์.
จำเริญ : ก. เติบโต, งอกงาม, มากขึ้น, สมบูรณ์; ทิ้ง เช่น จําเริญยา, ตัด เช่น จําเริญเกศา. (แผลงมาจาก เจริญ).
รุ่งเรือง : ว. สว่างไสว เช่น จุดโคมไฟรุ่งเรืองแสงจับท้องฟ้า, งามสุกใส เช่น ปราสาทราชมนเทียรดูรุ่งเรืองเมื่อต้องแสงจันทร์, เจริญ, อุดมสมบูรณ์, เช่น บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองอนาคตรุ่งเรือง, งอกงาม เช่น ให้มีความรุ่งเรือง ในพระศาสนา.
ประพฤทธิ์ : [ปฺระพฺรึด] ว. เจริญ, โต, ใหญ่, รุ่งเรือง, งอกงาม. (ส. ปฺรวฺฤทฺธิ; ป. ปวุฑฺฒิ).
ปลูก : [ปฺลูก] ก. เอาต้นไม้หรือเมล็ด หน่อ หัว เป็นต้น ใส่ลงในดินหรือ สิ่งอื่นเพื่อให้งอกหรือให้เจริญเติบโต, ทําให้เจริญเติบโต, ทําให้ งอกงาม เช่น ปลูกไมตรี เช่น ปลูกไมตรี; เอาสิ่งต่าง ๆ มาปรุงกัน เข้าเพื่อทําเป็นที่อยู่หรือที่พักอาศัย โดยวิธีฝังเสาลงในดิน เช่น ปลูกบ้าน ปลูกเรือน, ปลูกสร้าง ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึงการกระทํา ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปลูกพลับพลายก.
วัฒนา : น. ความเจริญ, ความงอกงาม. ก. เจริญ, งอกงาม.
วิรุฬห์ : ว. เจริญ, งอกงาม. (ป.; ส. วิรูฒ).
วิโรฒ : ว. งอกงาม. (ส. วิรูฒ; ป. วิรุฬฺห).
งัน : ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงัก นิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน.
จริยศึกษา : น. การศึกษาเกี่ยวกับความเจริญงอกงามในทางความประพฤติ และการปฏิบัติตน เพื่อให้อยู่ในแนวทางของศีลธรรมและวัฒนธรรม. (อ. moral education).
ทุน : น. ของเดิมหรือเงินเดิมที่มีไว้ ลงไว้ กําหนดไว้ จัดตั้งไว้ เพื่อ ประโยชน์ให้งอกงาม เช่น มีความรู้เป็นทุน มีเงินเป็นทุน; เงินหรือ ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ตั้งไว้สําหรับดําเนินกิจการเพื่อหาผลประโยชน์.
บำรุง : ก. ทําให้งอกงาม, ทําให้เจริญ, เช่น บํารุงต้นไม้ บํารุงบ้านเมือง; รักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี เช่น บํารุงสุขภาพ บํารุงร่างกาย เงินค่า บํารุง.
พลศึกษา : [พะละ] น. การศึกษาที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามและ พัฒนาการทางร่างกาย.
พิรุฬห์ : [พิรุน] ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วิรุฬฺห; ส. วิรูฒ).
ฟื้นฟู : ก. ทําให้กลับเจริญงอกงามขึ้นมาใหม่ เช่น ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมไทย ฟื้นฟูการละเล่นของไทย.
มือเย็น : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น, ตรงข้ามกับ มือร้อน.
มือร้อน : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ไม่ขึ้นหรือไม่งอกงามว่า คนมือร้อน, ตรงข้ามกับ มือเย็น.
วรรณศิลป์ :
น. ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ เช่น ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่มีวรรณศิลป์สูงส่ง, ศิลปะทางวรรณกรรม เช่น นักวรรณศิลป์; วรรณกรรมที่ถึงขั้นเป็นวรรณคดี, หนังสือที่ได้รับ ยกย่องว่าแต่งดี. [วันนะ] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคําให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา). [วันนะพรึด] น. ฉันท์ที่กําหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียง หนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. น. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก). [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. (ส. วรฺธก ว่า ผู้ทําให้เจริญ; ป. วฑฺฒก). [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน). [วัด] น. พรรษ, ฝน; ปี. (ส. วรฺษ; ป. วสฺส). [วัดสา] น. พรรษา, ฤดูฝน; ปี. (ส.). [วะรันยู] น. ''ผู้ตรัสรู้ธรรมอันประเสริฐ'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป.). (แบบ) น. ตุ่ม, ไห, หม้อนํ้า. ว. น่าเวทนา, น่าสงสาร. (ป., ส.). น. หญิงผู้ประเสริฐ. (ส.). น. หมู. (ป., ส.). น. พระพิรุณ, เทวดาแห่งนํ้า, เทวดาแห่งฝน. (ส.). ดู วร.[วะรูถะ] (แบบ) น. การป้องกัน, ที่ป้องกัน, ที่พัก, เครื่องป้องกัน, เกราะ, โล่. (ส.).
วรรธนะ : [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ส. วรฺธน; ป. วฑฺฒน).
วัฒกะ : [วัดทะกะ] น. ผู้เจริญ. ว. งอกงาม, เจริญ. (ป. วฑฺฒก; ส. วรฺธก).
วัฒนธรรม : น. สิ่งที่ทําความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้านวัฒนธรรมชาวเขา.
วัฒน, วัฒนะ : [วัดทะนะ] น. ความเจริญ, ความงอกงาม. (ป. วฑฺฒน).
อิทธิ, อิทธิ : [อิดทิ] น. ฤทธิ์, อํานาจศักดิ์สิทธิ์; ความเจริญ, ความสําเร็จ, ความงอกงาม. (ป.; ส. ฤทฺธิ).
โอชะ, โอชา : ว. มีรสดี, อร่อย. น. รสที่ซึมซาบ, เครื่องหรือสิ่งบํารุงเลี้ยงให้เกิด ความเจริญงอกงาม. (ป.).